ญี่ปุ่นได้นายกฯ คนใหม่

ญี่ปุ่นได้นายกฯ คนใหม่

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชิเกรุ อิชิบะ จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของญี่ปุ่น หลังจากชนะการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคเมื่อวันศุกร์ที่ 27 ก.ย. ตามผลการนับคะแนนอย่างเป็นทางการ อิชิบะ วัย 67 ปี เอาชนะ ซานาเอะ ทาคาอิจิ  (ซึ่งหากได้รับชัยชนะจะกลายเป็นผู้นำหญิงคนแรกของประเทศ) ในการเลือกตั้งรอบสุดท้าย ด้านความเห็นเชิงนโยบาย อิชิบะเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ประเทศต้องออกจากภาวะเงินฝืดอย่างเต็มที่ โดยมุ่งมั่นที่จะเพิ่มค่าจ้าง เพื่อรักษาเศรษฐกิจให้อยู่บนเส้นทางการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน เขากล่าวว่า การกระตุ้นการบริโภคเป็นกุญแจสำคัญในการเอาชนะภาวะเศรษฐกิจซบเซา และเน้นย้ำถึงความสำคัญของการช่วยเหลือครัวเรือนจากผลกระทบของเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น คำพูดของอิชิบะ บ่งชี้ว่า เขาจะสานต่อหลายๆ นโยบายของนายกรัฐมนตรี ฟุมิโอะ คิชิดะที่กำลังจะพ้นตำแหน่ง โดยเฉพาะนโยบายที่มุ่งเน้นการเพิ่มค่าจ้าง อิชิบะ ระบุว่า GDP ของญี่ปุ่นซบเซามานานสองทศวรรษ โดยการเติบโตของค่าจ้างยังไม่สามารถแซงหน้าอัตราเงินเฟ้อได้ เขาคาดว่าจะได้รับเลือกอย่างเป็นทางการให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 1 ต.ค. หลังจากนั้น เขาจะจัดตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ สำหรับมุมมองที่มีต่อนโยบายการเงิน อิชิบะให้มุมมองที่มีต่อนโยบายการเงินแตกต่างกัน หลังจากชนะการเลือกตั้ง […]

Fed ลดดอกเบี้ย 50 bps แต่ Powell พูดไม่รู้เรื่อง

Fed ลดดอกเบี้ย 50 bps แต่ Powell พูดไม่รู้เรื่อง

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) มีมติ 11:1 ( Fed Governor Michelle Bowman  โหวตให้ปรับลง 0.25%) เห็นควรให้ปรับลดเป้าหมายช่วงอัตราดอกเบี้ย Fed Funds Rate ลง 50 bps มาอยู่ที่ 4.75%-5% ในการประชุมเดือนก.ย. 2024 การปรับลดครั้งนี้เป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรก นับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2020 ตลาดคาดการณ์ไว้แล้วว่า Fed จะลดอัตราดอกเบี้ย แต่ก็มีการคาดเดาว่า Fed อาจเลือกปรับลดแบบระมัดระวังกว่า โดยมีส่วนที่มองว่าจะลด 25 bps การประชุมครั้งนี้ Fed ได้เผยแพร่การคาดการณ์เศรษฐกิจใหม่ คาดการณ์เงินเฟ้อ PCE ถูกปรับลดลงสำหรับปี 2024 มาอยู่ที่ 2.3% (จากเดิมคาดการณ์ 2.6% […]

อัพเดทสถานการณ์น้ำท่วม

อัพเดทสถานการณ์น้ำท่วม

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM ต้นเหตุของปัญหาน้ำในปี 2567 ประกอบด้วยหลายปัจจัย ได้แก่ ปริมาณน้ำจากเขื่อนในประเทศจีน ปัจจุบันจีนมีเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง 12 แห่ง ใกล้ไทยสุด คือ เขื่อนจิ่งหง ห่างจากสามเหลี่ยมทองคำ 340 กิโลเมตร ซึ่งปล่อยน้ำประมาณ 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ในระดับที่หน่วงเอาไว้ แต่ขณะเดียวกัน เมื่อฝนตกลงมาเติมเยอะมาก เกิดน้ำหลาก ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ไม่ทราบข้อมูลดังกล่าว มวลน้ำมารวมกันจากหลากหลายพื้นที่ ผนวกกับพายุเข้ามาทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้น พื้นที่ต้นน้ำมาจากเทือกเขาขนาดใหญ่ในรัฐฉาน และบริเวณสันปันน้ำทำให้แม่สายต้องรับศึกหนักเป็นพื้นที่รับมวลน้ำมหาศาลจากหุบเขาทั้งหมดลงมา และเวลานี้ มวลน้ำสูงสุดในเมียนมา ยังไหลมาเติมใน “แม่สาย -แม่น้ำรวก” พื้นที่ที่ถูกกระทบหนัก คือ พื้นลุ่มต่ำแม่น้ำกก ปลายทางลงแม่น้ำโขง อ.เวียงแก่น อ.เชียงของ ก่อนที่มวลน้ำทั้งหมดจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง สำหรับฝั่งแม่สาย เรียกว่า อยู่ในสภาวะล่อแหลม เพราะมีการขยายตัวของเมือง ทับทางระบายน้ำ รุกล้ำเข้าไปยัง “แม่น้ำสาย […]

แผ่นดินไหวรุนแรงในไต้หวันส่งผลกระทบต่อการผลิตชิป

แผ่นดินไหวรุนแรงในไต้หวันส่งผลกระทบต่อการผลิตชิป

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM สรุปอย่างสั้น แผ่นดินไหวรุนแรงในไต้หวันส่งผลกระทบต่อการผลิตชิป ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานเทคโนโลยีทั่วโลก เนื่องจากไต้หวันมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น เกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงที่สุดในรอบ 25 ปีของไต้หวัน ส่งผลให้ตึกราวหลายสิบหลังทางฝั่งตะวันออกของเกาะราบเป็นหน้าเดียว ด้านโรงงานผลิตชิปบางแห่งหยุดชะงัก แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในวันพุธ เวลา 7:58 น. ตามเวลาท้องถิ่น วัดแรงได้ 7.4 แมกนิจูด จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากเมืองฮวาเหลียนทางตะวันออก 18 กิโลเมตร (11 ไมล์) โดยแรงสั่นสะเทือนไปไกลถึงญี่ปุ่นและจีน ไต้หวันถือเป็นประเทศที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจและตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ขั้นสูงอันดับต้นๆ ของโลก ความเสียหายใดๆ จากแผ่นดินไหวครั้งนี้จึงอาจจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจส่งผลต่อผลผลิตด้านเทคโนโลยี เนื่องด้วยสัดส่วนการผลิตแล็ปท็อป เมนบอร์ด และอุปกรณ์เครือข่าย มากกว่าครึ่งหนึ่งของตลาดโลกผลิตที่ไต้หวัน บริษัท TSMC (TSMC – Taiwan Semiconductor Manufacturing Company)  ได้ออกมาแถลงการณ์หลังเกิดแผ่นดินไหวว่า จะย้ายพนักงานบางส่วนออกมาก่อนในระหว่างที่กำลังประเมินผลกระทบ […]

Update ผลการเลือกตั้งอินโดนีเซีย และประวัติปธน. คนใหม่โดยสังเขป

Update ผลการเลือกตั้งอินโดนีเซีย และประวัติปธน. คนใหม่โดยสังเขป

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM ปราโบโว ซูเบียนโต (Prabowo Subianto) จากพรรค Garindra เกิดวันที่ 17 ต.ค. 1951 ปัจจุบันอายุ 72 ปี เป็นอดีตนายทหาร และเป็นนักธุรกิจ ปัจจุบันเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลโจโก    วิโดโด (Joko Widodo) ซูเบียนโตมีรากฐานของครอบครัวที่เอื้อต่อการเป็นนักการเมืองอย่างมากทั้งจากครอบครัวตัวเองที่คุณพ่อเป็นนักการเมืองเก่า น้องชายเป็นนักธุรกิจใหญ่ (ที่เขามีบริษัทร่วมกับน้องชาย)  และจากฝั่งภรรยาที่เป็นลูกสาวของอดีตปธน. ซูฮาโต ความด่างพร้อยในประวัติของซูเบียนโต คือ เคยมีส่วนในเหตุการณ์นองเลือด East Timor ในปี 1991 และรัฐบาลสหรัฐฯ เคยแบนเขาจากเหตุการณ์นี้ แต่ซูเบียนโตกลับมาภายใต้รูปโฉมใหม่ เพื่อดึงดูดใจวัยรุ่นที่เกิดไม่ทันเหตุการณ์ข้างต้น เป็นดาว TikTok ที่วัยรุ่นเรียกเขาว่า Cuddly Papa ในภาพคุณพ่อตุ้ยนุ้ยตะมุตะมิ อย่างไรก็ดี การเลือกตั้งครั้งนี้ได้รับการคัดค้านจากกลุ่มคนบางส่วน เนื่องจาก […]

กนง.เสียงแตก 5 ต่อ 2 ให้คงดอกเบี้ย ตลาดมีความหวังลดดอกในระยะข้างหน้า

กนง.เสียงแตก 5 ต่อ 2 ให้คงดอกเบี้ย ตลาดมีความหวังลดดอกในระยะข้างหน้า

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM คณะกรรมการนโยบายการเงินของธปท. หรือ กนง. มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ต่อปี โดย 2 เสียง เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี โดยรวมธปท.มองเศรษฐกิจไทยอ่อนแอเนื่องจากอุปสงค์โลก และปัญหาเรื่องโครงสร้าง ส่วนอัตราเงินเฟ้อต่ำส่วนหนึ่งมาจากมาตรการภาครัฐ แต่การบริโภคในประเทศยังขยายตัวได้ดี ประเมินภาพเศรษฐกิจไทยขณะนี้  มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงจากภาคการส่งออกและการผลิต เนื่องจากอุปสงค์โลกและเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวช้า แต่อุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ มีแนวโน้มทยอยเพิ่มขึ้นเข้าสู่กรอบเป้าหมายช้ากว่าที่ประเมินไว้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่า เศรษฐกิจที่ขยายตัวชะลอลง ส่วนใหญ่เกิดจากแรงส่งจากภาคต่างประเทศและผลกระทบจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง แต่การบริโภคในประเทศยังขยายตัวได้ดี ประมาณการเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจไทยในปลายปี 2023 ขยายตัวชะลอลงกว่าคาดจากการส่งออกสินค้าและการผลิตที่ฟื้นตัวช้าตามภาวะการค้าโลกและสินค้าคงคลังที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2024 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 2.5-3% โดยการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยวยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ขณะที่ การส่งออกและการผลิตมีแนวโน้มการขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ปัญหาเชิงโครงสร้างโดยเฉพาะด้านความสามารถในการแข่งขันของประเทศจะเป็นอุปสรรคมากขึ้น […]

จีนปรับลด RRR ครั้งแรกของปีนี้ พร้อมทั้งเร่งออกนโยบายอื่นๆ แต่ยังไม่กระตุ้นเศรษฐกิจแบบโปรยเงิน

จีนปรับลด RRR ครั้งแรกของปีนี้ พร้อมทั้งเร่งออกนโยบายอื่นๆ แต่ยังไม่กระตุ้นเศรษฐกิจแบบโปรยเงิน

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM Key Event ธนาคารกลางจีนประกาศปรับลด RRR (Required Reserved Ratio) ลง 50 bps eff. วันที่ 5 ก.พ.เป็นต้นไป ส่งผลต่อสภาพคล่องระยะยาว (Long-term Capital) เพิ่มขึ้น 1 ล้านล้านหยวน โดยธนาคารกลางจีน กล่าวว่า ยังมี Policy Space อีกมาก สำหรับผ่อนคลายเศรษฐกิจ การปรับลด RRR จะเป็นการเพิ่มการใช้จ่ายผ่านการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น การปรับเพิ่ม RRR นี้เป็นครั้งแรกของปี หลังจากที่ปรับลด RRR ไปสองครั้ง (ครั้งละ 25 bps) ปีก่อน พร้อมกันนี้ ทางการจีนได้ทยอยออกนโยบายมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นปี 2024 […]

สรุปผลเลือกตั้งทั่วไปและผลเลือกตั้งสภานิติบัญญัติ (Legislation Yuan) ของไต้หวัน

สรุปผลเลือกตั้งทั่วไปและผลเลือกตั้งสภานิติบัญญัติ (Legislation Yuan) ของไต้หวัน

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM สรุปผลเลือกตั้งทั่วไปและผลเลือกตั้งสภานิติบัญญัติ (Legislation Yuan) ของไต้หวัน นาย ไล่ชิงเต๋อ 賴清德 (Lài Qīngdé) แห่งพรรค DPP (Democratic Progressive Party)ชิงประกาศชัยชนะ ในการเลือกตั้งทั่วไปของไต้หวันเมื่อวันที่ 13 ม.ค. ที่ผ่านมาโดยพรรค DPP ได้รับเสียงสนับสนุนมากที่สุดที่ 40.1% ของผู้โหวตหรือ 5.6 ล้านเสียง ตามมาด้วยพรรค KMT (ก๊กมินตั๋ง)ที่ได้รับเสียงสนับสนุน 33.5% หรือ 4.7 ล้านเสียงและพรรค TPP (Taiwan’s People Party) ที่ได้รับเสียง 26.5% หรือ 3.7 ล้านเสียงตามลำดับ แม้ได้รับเสียงสนับสนุนสูงสุดแต่ไม่มีพรรคใดที่สามารถครองเก้าอี้ขั้นต่ำที่ 57 เพื่อรักษาเสียงส่วนใหญ่ในสภาล่างได้ ( […]

กนง.คงดอกเบี้ยและปรับคาดการณ์เศรษฐกิจชะลอลงจากประมาณการครั้งก่อน

กนง.คงดอกเบี้ยและปรับคาดการณ์เศรษฐกิจชะลอลงจากประมาณการครั้งก่อน

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.5% ในการประชุมเดือนพ.ย. ตามที่ตลาดคาด  ซึ่งเป็นการหยุดขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งแรก จากการปรับขึ้นดอกเบี้ยติดต่อกัน 8 ครั้ง กนง.กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันเอื้อต่อการรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบเป้าหมายอย่างยั่งยืน ในขณะที่สนับสนุนการเติบโต กนง. มองเศรษฐกิจจะเติบโตอย่างสมดุลมากขึ้นในปี 2024 และ 2025 โดยได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในประเทศภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้าที่ฟื้นตัว ในครั้งนี้ ได้มีการปรับคาดการณ์การเติบโตของ GDP ปี 2023 ชะลอลงมาที่ 2.4% (จาก ประมาณการเดิม 2.8% และปีก่อนหน้าที่ 2.6% ) และปรับ GDP Growth ปี 2024 โตที่ 3.2% (จากประมาณการเดิม 4.4%) นอกจากนี้ กนง. ได้ปรับการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อเป็น […]

สรุป โครงการแจกเงินให้ประชาชนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน Digital Wallet

สรุป โครงการแจกเงินให้ประชาชนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน Digital Wallet

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM จุดประสงค์โครงการ กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในระยะสั้น โดยมี “ประชาชนทุกภาคส่วนเป็นกลไกที่สำคัญผ่านการบริโภคและการลงทุน” วางโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลและ E-Government ซึ่งเป็นการวางและแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศในระยะยาว วงเงิน กระตุ้นเศรษฐกิจรวมมูลค่า 6 แสนล้านบาท ผ่านโครงการ Digital Wallet 5 แสนล้านบาท ครอบคลุม 50 ล้านคน และอีก 1 แสนล้านบาท ในกองทุนเพิ่มขีดความสามารถ Main Idea ของ Digital Wallet แจกเงิน 1 หมื่นบาท ให้ประชาชนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ที่มีเงินเดือนน้อยกว่า 7 หมื่นบาท หรือเงินฝากทุกบัญชีรวมกันน้อยกว่า 5 แสนบาท สามารถใช้จ่ายได้ในระดับอำเภอที่มีทะเบียนบ้านอยู่ ในช่วงเวลา 6 […]