อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมี.ค. หดตัวเล็กน้อย ที่ -0.08% (YoY) เป็นการหดตัวต่อเนื่องในรอบ 13 เดือน

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมี.ค. หดตัวเล็กน้อย ที่ -0.08% (YoY) เป็นการหดตัวต่อเนื่องในรอบ 13 เดือน

BF Economic Research

  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมี.ค. หดตัวเล็กน้อย ที่ -0.08% (YoY) เป็นการหดตัวต่อเนื่องในรอบ 13 เดือน เมื่อเทียบรายไตรมาส อัตราเงินเฟ้อไทยหดตัวที่ -0.53% YTD YoY ปัจจัยฉุดเงินเฟ้อไทยมาจากมาตรการช่วยเหลือค่าน้ำค่าไฟเป็นหลักซึ่งมีผลทำให้ระดับราคาในหมวดเคหสถานที่มีน้ำหนัก 23.17% ในตะกร้าราคาหดตัว -4.87% YoY ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่หดตัว -4.98% YoY ทั้งนี้ เนื่องด้วยมาตรการดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้วในเดือนมี.ค. จึงคาดว่าระดับราคาในหมวดนี้จะกลับเข้าสู่ระดับปกติและอาจจะทะยานสูงขึ้นจากความต้องการใช้ไฟฟ้าในช่วงฤดูร้อน

  • สำหรับหมวดสินค้าอื่นๆนั้น พบว่าราคาสินค้ากลุ่มข้าวและผลิตภัณฑ์จากแป้งหดตัวต่อเนื่อง (-6.59% YoY) แต่เมื่อผนวกกับราคาหมูที่ปรับสูงขึ้น (5.2% YoY) จากต้นทุนยาฉีดสัตว์เพื่อป้องกัน ASF มีผลให้ระดับราคากลุ่มอาหารปรับตัวเล็กน้อยที่ -0.26% YoY

  • มองไปข้างหน้าคาดว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยจะค่อยๆเป็นบวกได้จากค่าน้ำค่าไฟฟ้าที่เข้าสู่ระดับปกติ เราคาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยนทั้งปีนี้จะอยู่ในกรอบ 0.5-1.0%
  • การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) เดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น 9.16 แสนตำแหน่ง สูงสุดในรอบ 7 เดือน และสูงกว่าที่ตลาดคาดที่ 6.60 แสนตำแหน่ง ขณะที่การจ้างงานเดือน ก.พ. ถูกปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.68 แสนตำแหน่ง สะท้อนตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วหลังสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลายลงตามการแจกจ่ายวัคซีน ประกอบกับมาตรการ Lockdown ที่ถูกผ่อนปรน นอกจากนี้ ธุรกิจยังจะได้แรงหนุนจากอุปสงค์ที่คาดจะเพิ่มขึ้นมากจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ USD1.9trn ที่มีการแจกเช็คเงินสด $1,400/คน

  • โดยการจ้างงานเพิ่มขึ้นในเกือบทุกหมวดหลัก ทั้งหมวดที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจาก COVID-19 ได้แก่ การโรงแรมและพักผ่อน (+2.80 แสนตำแหน่ง), การจ้างงานภาคการศึกษา (+1.14 แสนตำแหน่ง) และค้าปลีก (+2.3 หมื่นตำแหน่ง) และหมวดอื่นๆ เช่น ก่อสร้าง (+1.10 แสนตำแหน่ง), อุตสาหกรรมการผลิต (+5.3 หมื่นตำแหน่ง), และการขนส่งและคลังสินค้า (+4.75 หมื่นตำแหน่ง)
  • ด้านอัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) เดือน มี.ค. ปรับลดลงเป็น 6.0% เท่ากับที่ตลาดคาด จาก 6.2% ในเดือนก่อน โดยแรงงานว่างงานชั่วคราว (Temporary) ลดลง 2.03 แสนราย เป็น 2.02 ล้านราย ส่วนแรงงานว่างงานถาวร (Permanent) ลดลง 6.5 หมื่นราย เป็น 3.43 ล้านราย
  • ส่วนอัตราการมีส่วนร่วมของกำลังแรงงาน (Labor Force Participation Rate) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น  61.5% เท่ากับที่ตลาดคาด จาก 61.4% ในเดือนก่อน
  • อัตราค่าจ้างแรงงาน (Average Hourly Earnings) เดือน มี.ค. ชะลอตัวลงเป็น 4.2% YoY จาก 5.2% ในเดือนก่อน ต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 4.3% โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของแรงงานในภาคบริการ โดยเฉพาะร้านอาหารที่มีรายได้ต่ำ