กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)

Highlight

  • ถึงแม้จะมีการระบาดของไวรัส COVID มากขึ้นเมื่อมีการเปิดเมือง แต่เชื่อว่าการที่ประเทศต่างๆ จะกลับไปใช้นโยบายล็อคดาวน์เต็มรูปแบบอย่างที่เคยทำน่าจะมีไม่มาก ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจึงน่าจะมีค่อนข้างจำกัด
  • ผู้จัดการกองทุนหลักยังคงมุ่งรักษาความสมดุลของพอร์ตการลงทุนระหว่างหุ้นวัฎจักรและหุ้นเติบโต (Cyclical and Growth) การคัดเลือกหุ้นรายตัวเป็นสิ่งที่สำคัญ ในจังหวะที่นโยบายเชิงมหภาคของแต่ละประเทศมีความสำคัญกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างมาก ทำให้เห็นโอกาสการลงทุนในช่วงที่ตลาดอาจเกิดความผันผวนจากนโยบายดังกล่าว

ภาพรวมตลาด

ตลาดหุ้นโลกปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน นำโดยตลาดหุ้นในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯและยุโรปที่สามารถปรับขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้ ก่อนที่จะปรับตัวลดลงในช่วงปลายเดือน จากปัจจัยกดดันจากไวรัสกลายพันธุ์ Omicron ซึ่งองค์การอนามัยโลกจัดเป็น สายพันธุ์ที่น่ากังวล อย่างไรก็ตาม ความที่ประเด็นความกังวลในลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เชื่อว่า ความเสี่ยงด้านลบของตลาดหุ้นจะมีอยู่จำกัด

ขณะที่ในเดือนธันวาคมนี้จะมีการประชุมนโยบายการเงินของ Fed ซึ่งตลาดคาดการณ์ถึงแผนการเริ่มลดขนาด QE เป็นอีกปัจจัยที่ตลาดรอดูความชัดเจนของการลดการผ่อนคลายนโยบายการเงินของ Fed โดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกนั้น แม้ว่าการฟื้นตัวจากแรงส่งจากภาคการผลิตในสหรัฐฯและยูโรโซนจะเริ่มชะลอตัวลง แต่การผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์เข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้นนั้น ส่งผลให้ดัชนีภาคการบริการฟื้นตัวกลับขึ้นมาเป็นลำดับ รวมถึงแรงส่งจากหลายประเทศในวงกว้างช่วยเป็นแรงหนุนต่อโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยภาพรวมได้ ดังนั้น Fed ยังคงเดินหน้าลดความผ่อนคลายทางการเงินต่อไป และถึงแม้จะมีการระบาดของไวรัส COVID มากขึ้นเมื่อมีการเปิดเมือง แต่เชื่อว่าการที่ประเทศต่างๆ จะกลับไปใช้นโยบายล็อคดาวน์เต็มรูปแบบอย่างที่เคยทำน่าจะมีไม่มาก ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจึงน่าจะมีค่อนข้างจำกัด

พอร์ตการลงทุน

เมื่อดูรายกลุ่มอุตสาหกรรม กองทุนได้รับผลเชิงบวกจากการลงทุนในหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เฮลธ์แคร์ พลังงาน วัสดุ สาธารณูปโภค และสื่อสาร ในขณะที่การเลือกหุ้นในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย การเงินและเทคโนโลยีส่งผลเชิงลบกับกองทุน

หุ้นที่ส่งผลเชิงบวก เช่น Ford Motor, Marvell Technology, Occidental Petroleum และ Salesforce.com การลงทุนที่ส่งผลเชิงลบกับพอร์ตเมื่อเทียบกับดัชนีชี้วัด คือ การไม่ลงทุนในหุ้น Microsoft และ Tesla รวมถึงการลงทุนในหุ้น XP Inc และ Charter Communications

มุมมองในอนาคต

เศรษฐกิจของโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวจากการผ่อนคลายการล๊อคดาวน์ อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวยังคงมีภาพที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค ทำให้การลงทุนยังคงมีความผันผวนอยู่ทั้งด้านภูมิภาค อุตสาหกรรม และปัจจัยภายในประเทศ ซึ่งผู้จัดการกองทุนจะเน้นลงทุนในบริษัทที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นได้ดี ในจังหวะราคาที่เหมาะสม

ผู้จัดการกองทุนหลักยังคงมุ่งรักษาความสมดุลของพอร์ตการลงทุนระหว่างหุ้นวัฎจักรและหุ้นเติบโต (Cyclical and Growth) การคัดเลือกหุ้นรายตัวเป็นสิ่งที่สำคัญ ในจังหวะที่นโยบายเชิงมหภาคของแต่ละประเทศมีความสำคัญกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างมาก ทำให้เห็นโอกาสการลงทุนในช่วงที่ตลาดอาจเกิดความผันผวนจากนโยบายดังกล่าว เช่น การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย มุมมองด้านเงินเฟ้อ มาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ  เป็นต้น

ผลการดำเนินงานของกองทุน B-GLOBAL B-GLOBALRMF ณ 30 พฤศจิกายน 2564

ข้อมูลกองทุนหลัก : Wellington Global Opportunities Equity Fund ณ 30 พฤศจิกายน 2564

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต