การส่งออกไทย Hit Record

การส่งออกไทย Hit Record

การส่งออกไทยเดือนมี.ค. ทะยานขึ้นเป็นประวัติการที่ 22,363 ดอลลาร์ฯหรือขยายตัว +7.1% YoY (vs. prev +10.3% YoY) ขณะที่การนำเข้าอยู่ที่ 21,095 ล้านดอลลาร์ฯ หรือขยายตัว +9.5% YoY (vs. prev +16.0% YoY) ส่งผลให้การค้าเกินดุล +1,268 ล้านดอลลาร์ฯ (vs. prev +807.6 ล้านดอลลาร์ฯ) เป็นการเกินดุลเกิน 1 พันล้านดอลลาร์ฯเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน

สำหรับตัวเลขไตรมาส 1/2018 การส่งออกมีมูลค่า 62,829 ล้านดอลลาร์ฯ (เพิ่มขึ้น +11.3% YoY ) การนำเข้ามีมูลค่า 60,873 ล้านดอลลาร์ฯ (เพิ่มขึ้น +16.2% YoY ) และการค้าเกินดุล +1,956 ล้านดอลลาร์ฯ ในรายสินค้า หมวดเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรพลิกกลับมาหดตัว ที่- 3.3% YoY

โดยสินค้าส่งออกที่ยังขยายตัวดี ได้แก่

  • ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัว +24.5% YoY (ส่งออกไปตลาดจีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน และมาเลเซีย)
  • ข้าว ขยายตัว +8.5% YoY (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เบนิน อินโดนีเซีย แคเมอรูน และเซเนกัล)
  • ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป ขยายตัว +8.4% YoY (ส่งออกไปตลาดญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหราชอาณาจักร และลาว)
  • ผัก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป ขยายตัว +6.4% YoY (ส่งออกไปยังตลาด จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน ลาว มาเลเซีย เมียนมา และฟิลิปปินส์)

สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่

  • ยางพารา โดยหดตัวในระดับสูงที่ -50.2% YoY ทั้งด้านปริมาณและราคา (การส่งออกหดตัวในเกือบทุกตลาด อาทิ จีน ฝรั่งเศส บราซิล ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ แต่ยังขยายตัวได้ในตลาดลาวและรัสเซีย)
  • น้ำตาลทราย หดตัวที่ -4.4% YoY จากปัจจัยด้านราคาเนื่องจากปริมาณน้ำตาลออกสู่ตลาดมาก (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น ฮ่องกง ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และกัมพูชา ขณะที่ขยายตัวสูงในตลาดบรูไน แทนซาเนียและเกาหลีใต้)

สำหรับไตรมาสแรกของปี 2018 กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัว 3.8% YoY หมวดอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 ที่ +7.7% YoY

โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่

  • เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัว +18.2% YoY (ส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย และจีน)
  • น้ำมันสำเร็จรูป ขยายตัว +49.0% YoY (ส่งออกไปตลาด กัมพูชา สิงคโปร์ ลาว มาเลเซีย และเมียนมา)
  • เม็ดพลาสติก ขยายตัว +15.8% YoY (ส่งออกไปยังจีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เวียดนาม และอินเดีย)
  • แผงวงจรไฟฟ้า ขยายตัว +19.0% YoY (ขยายตัวใน ฮ่องกง จีน สหรัฐฯ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น)

สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัว ได้แก่

  • ทองคำ หดตัว -10.7% YoY (หดตัวในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฮ่องกง และอินเดีย)
  • ผลิตภัณฑ์ยาง หดตัว -8.9% YoY (หดตัวในตลาดจีน เยอรมนี ซาอุดิอาระเบีย ฟิลิปปินส์ เมียนมา เวียดนาม และญี่ปุ่น)

ไตรมาสแรกของปี 2018 กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว +11.8%

ตลาดส่งออกสำคัญ
การส่งออกไปตลาดสำคัญๆ ขยายตัวเกือบทุกตลาด ยกเว้น จีน เนื่องจากผลกระทบจากฐานที่สูงในปีก่อนหน้าและการหดตัวของการส่งออกยางพาราตามราคาที่ลดลงในตลาดโลก โดย

  • การส่งออกไปยังตลาดหลักขยายตัว +8.6% YoY ได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากการส่งออกไป สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป (15) และญี่ปุ่นที่ขยายตัวร้อยละ +11.1% YoY, +8.7% YoY และ +5.7% YoY ตามลำดับ
  • การส่งออกไปตลาดศักยภาพขยายตัวได้ที่ +8.3% YoY โดยการส่งออกอินเดียยังขยายตัวสูงต่อเนื่องที่ +21.7% YoY ประกอบกับการส่งออกไป อาเซียน-5 และCLMV ขยายตัว +20.7% YoY และ +14.0% YoYตามลำดับ
  • ตลาดศักยภาพระดับรองฟื้นตัวที่ +5.9% YoY โดยการส่งออกไปตะวันออกกลาง ทวีปออสเตรเลีย และ รัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ขยายตัว +10.6%YoY, +6.2%YoY ,และ +3.4%YoY ตามลำดับ