Economic Review April-May 2018: ศึกการค้าครั้งนี้จะยืดเยื้อหรือไม่

Economic Review April-May 2018: ศึกการค้าครั้งนี้จะยืดเยื้อหรือไม่

BF Economic Research

Fund Management Group

BF Monthly Economic Review April-May 2018

สงครามทางการค้าประทุขึ้นอีกเมื่อปลายเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา เมื่อ ประธานาธิบดี สหรัฐฯใช้อำนาจประธานาธิบดี (Executive Order) ประกาศจะเรียกเก็บภาษีจากสินค้าที่นำเข้าจากจีนที่คิดเป็นมูลค่าของสินค้าทั้งสิ้น 6 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ คิดเป็นสัดส่วน 9.4% ของมูลค่าการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน (6.36 แสนล้านดอลลาร์ฯ) หรือราว 2.6% ของมูลค่านำเข้าทั้งหมดของสหรัฐฯ (2.3 ล้านล้านดอลลาร์ฯ) จากการพิจารณาของ USTR ภายใต้ SECTION 301, กลุ่มสินค้าที่สหรัฐฯอาจจะปรับภาษีขึ้นได้แก่ สินค้าในกลุ่ม Aerospace, Information and Communication Technology, and Machinery

โดยก่อนหน้านี้สหรัฐฯได้ประกาศบังคับใช้มาตรการ Safeguard (Safeguard Measures) เพื่อขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า 2 ประเภทซึ่งได้แก่ เครื่องซักผ้า (สูงสุด 50%),  Solar Panel (30%) เมื่อเดือน ม.ค. พร้อมทั้งภายหลังได้ปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าประเภทเหล็ก (25%) และอลูมิเนียม (15%) ในเดือนมี.ค.

จากนั้นในเดือนเม.ย. จีนตอบโต้กลับด้วยการประกาศจะปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ 128 รายการโดยที่ 120 รายการได้รับการปรับขึ้นภาษีนำเข้า 15% ส่วนที่เหลืออีก 8 รายการ (ส่วนใหญ่เป็นเนื้อหมู) ได้รับการปรับขึ้นภาษีนำเข้าเป็น 25% ดังมีรายนามดังนี้

ศึกครั้งนี้จะยืดเยื้อหรือไม่  ?

ในแง่ของมูลค่าทางการค้าเราพบว่ามูลค่าของสินค้าสี่ประเภทที่สหรัฐฯตั้งกำแพงภาษีนั้นมีมูลค่าในกรอบราว 1 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 2.0% ของมูลค่าการนำเข้าสหรัฐฯจากจีน หากรวมกับอีก 1,300 รายการสินค้าที่จะเข้ามาใหม่ซึ่งอยู่ที่ราว 4 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ น่าจะกินสัดส่วนประมาณ 10% ของมูลค่าการนำเข้าสหรัฐฯจากจีน

ขณะที่มูลค่าสินค้า 128 ประเภทที่จีนตั้งกำแพงภาษีมีมูลค่าราว 3 พันล้านดอลลาร์ฯ หรือ 0.2% ของการนำเข้าสินค้าของจีนจากสหรัฐฯ  ซึ่งจีนอาจจะใช้มาตรการตอบโต้กลับเพิ่มเติมด้วยมูลค่าที่เท่ากันได้ตามกฎ ของ WTO

ด้วยสัดส่วนของกลุ่มสินค้าเป้าหมายที่ต่ำเมื่อเทียบกับการนำเข้าของทั้งสองฝ่าย สะท้อนว่าต่างฝ่ายมิได้อยากให้สงครามการค้าที่ประทุรุนแรงกระทั่งถึงกับต้องให้บานปลายกระทบเศรษฐกิจในวงกว้าง เนื่องจากหลังจากนั้นไม่นาน สหรัฐฯก็ได้ผ่อนคลายขอบเขตของการทำ Safeguard Measures เป็นผลให้ประเทศผู้ได้รับผลกระทบมีจำนวนที่ลดลง อีกทั้งมาตรการการค้าที่สหรัฐฯได้ประกาศใช้จริงมีเพียง Safeguard Measures กับเครื่องซักผ้าและการขึ้นภาษีนำเข้ากับ Solar Panel ที่ได้ประกาศไปเมื่อเดือนม.ค. เท่านั้น

ส่วนมาตรการอื่นๆหลังจากนั้นก็ยังไม่ได้นำออกมาใช้จริง ส่วนหมัดที่ปล่อยจากจีนนั้นก็อยู่บนเงื่อนไขว่าจะกระทำต่อเมื่อสหรัฐฯเป็นผู้เริ่มก่อน อีกทั้งมูลค่าสินค้าที่จีนประกาศไปก็ไม่ได้อยู่ในมูลค่าที่สูงนัก แม้ว่า สหรัฐฯได้เพิ่มดีกรีการประทะด้วยออกมากล่าวว่าจะให้สำนักผู้แทนการค้าหรือ USTR ศึกษาความเป็นไปได้ที่จะเก็บภาษีนำเข้าจากจีนเพิ่มอีก 1 แสนล้านดอลลาร์ฯจากการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือไม่ แต่กองทุนบัวหลวงคาดว่านี่คือหนึ่งในกลยุทธ์ในการต่อรองทางการค้ากับจีนเท่านั้น

ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ จะส่งสรุปให้ปธน. Trump ในวันที่ 3 มิ.ย. และปธน. Trump มีเวลาถึงวันที่ 1 ต.ค. เพื่อตัดสินใจใช้มาตรการ

แม้ผลกระทบทางเศรษฐกิจจะมีจำกัดแต่ก็มีส่วนทำให้ตลาดตกใจทั้งโลกในระยะหนึ่ง   

นับตั้งแต่ประเทศมหาอำนาจหยิบยกประเด็นการค้าเข้าห้ำหั่นกัน ตลาดหุ้นทั่วโลกก็ปรับตัวลงรับกับ ข่าวดังกล่าว และเมื่อผนวกกับความคืบหน้าล่าสุดที่ ทำเนียบขาวรายงานว่ากำลังพิจารณาใช้กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุฉุกเฉินของประเทศ (National Emergencies) เพื่อจำกัดการเข้ามาลงทุนจากจีน โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาจากสภาคองเกรส และกำลังพิจารณาจำกัดการลงทุนในบางกลุ่ม ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะถูกจำกัดเบื้องต้น ได้แก่ กลุ่มวัสดุกึ่งตัวนำ (Semiconductors) และการสื่อสาร 5G (5G Wireless Communications) ก็มีผลให้ราคาหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีลดลงค่อนข้างมาก

ทั้งนี้ เมื่อตลาดเริ่มคลายความกังวลจากประเด็นสงครามการค้า และความตึงเครียดในตะวันออกกลาง ส่งผลให้ Bond yield กลับมามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและพุ่งทะลุจุดสูงสุดเดิมในเดือน ก.พ. มาอยู่ที่ 2.96% สูงสุดในรอบ 4 ปีกว่า ในระยะข้างหน้าสงครามการค้าและการใช้มาตรการตอบโต้ในเชิงการเมืองอาจจะประทุขึ้นได้อีก และอาจขยายไปยังประเทศอื่น

ในเดือนเม.ย. กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้เปิดเผยรายงานการเฝ้าระวังการแทรกแซงค่าเงินของประเทศคู่ค้าหลัก (Semiannual Report on International Economic and Exchange Rate Policies) ฉบับเดือน เม.ย. ซึ่งเงื่อนไขในการพิจารณาการแทรกแซงค่าเงินของประเทศคู่ค้า 12 ประเทศหลัก  ประกอบด้วยเกณฑ์ 3 ข้อ ได้แก่ 

  1. ดุลการค้าเกินดุลกับสหรัฐฯ เกิน 2 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ
  2. ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมากกว่า 3% ของ GDP
  3.  ธนาคารกลางเข้าซื้อเงินต่างชาติมากกว่า 2% ของ GDP

โดยหากประเทศใดเข้าเงื่อนไข 2 ใน 3 ข้อข้างต้นและเป็นประเทศคู่ค้าหลัก 12 ประเทศของสหรัฐฯ จะถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Mornitoring List ในรายงานครั้งล่าสุดเผยว่าประเทศที่อยู่ในกลุ่ม Monitoring List มีทั้งหมด 6 ประเทศ ประกอบด้วย 5 ประเทศเดิมที่ติดกลุ่ม Monitoring List ในการรายงานฉบับที่แล้ว (ต.ค. 2017) จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เยอรมันนี และสวิตเซอร์แลนด์ และในครั้งนี้ประเทศอินเดียติดเข้ากลุ่ม Monitoring List จากการพิจารณาในรอบนี้ สำหรับประเทศไทยก็ผ่านเกณฑ์ ทั้งสามข้อแต่เนื่องจากไทยไม่ได้เป็นประเทศคู่ค้าหลักใน 12 ประเทศ (ไทยเป็นคู่ค้าลำดับที่ 21) จึงไม่ได้ติดอยู่ในกลุ่ม