กองทุนเปิดบัวหลวงภารตะ (B-BHARATA) Q3/2022

กองทุนเปิดบัวหลวงภารตะ (B-BHARATA) Q3/2022

“ผู้จัดการกองทุนลงทุนแบบผสมผสานกัน ทั้งหุ้นขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก โดยมองว่า หุ้นขนาดใหญ่เป็นผู้นำของตลาดในปัจจุบัน และหุ้นขนาดกลางและเล็ก มีโอกาสที่จะเป็นผู้นำในอนาคต ซึ่งต้องใช้กลยุทธ์การคัดเลือกหุ้นรายตัว (Bottom Up) และปีนี้ผู้จัดการกองทุนให้น้ำหนักกับหุ้นขนาดใหญ่มากขึ้น เพราะมองว่าแนวโน้มจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็ก เพราะหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็กปรับตัวขึ้นมากในปีที่แล้ว”

• เศรษฐกิจอินเดียได้แรงกดดันจากปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้ธนาคารกลางอินเดียต้องลดความร้อนแรงเงินเฟ้อลงด้วยการทยอยปรับอัตราดอกเบี้ย ครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2565 ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นจาก 4.0% เป็น 4.40% เมื่อ 8 มิ.ย. 2565 มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 50 bps เป็น 4.90% และล่าสุด 5 ส.ค. 2565 ปรับเพิ่มอีก 50 bps มาอยู่ที่ 5.4%
• GDP ในไตรมาส 2/2022 หรือไตรมาสแรกของปีงบประมาณของอินเดียขยายตัว 13.5% YoY จากที่ขยายตัว 4.1% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า โดยได้อานิสงส์จากฐานที่ต่ำในช่วงการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Delta ระหว่างเม.ย.-พ.ค. 2564 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราเติบโตที่สูงเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจประเทศหลักของโลก แต่ยังเป็นระดับที่ต่ำกว่าตลาดคาดการณ์ที่ 15.2%
• การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวถึง 25.9% YoY ขณะที่การลงทุนปรับตัวดีขึ้นเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ Domestic Demand เติบโตได้ดีในไตรมาส 2/2565 ในขณะที่ การส่งออกสุทธิยังสะท้อนภาพอ่อนแออยู่ โดยแม้ว่าการส่งออกจะขยายตัวได้ แต่การนำเข้าขยายตัวในอัตราที่สูงกว่า
พอร์ตการลงทุน
• กองทุนลดน้ำหนักในกลุ่ม Material เนื่องจากได้รับผลกระทบเชิงลบจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อยู่ในระดับสูง และขายทำกำไรในกลุ่มเทคโนโลยี และสินค้าจำเป็น ทั้งนี้ ได้เพิ่มน้ำหนักในกลุ่มยานยนต์ ซึ่งฟื้นตัวในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
• ณ 31 ก.ค. 2565 กองทุนมีสัดส่วนในหุ้นขนาดใหญ่ 70.5% หุ้นขนาดกลาง 18.6% และหุ้นขนาดเล็ก 9.4% ผู้จัดการกองทุนลงทุนแบบผสมผสานกัน ทั้งหุ้นขนาดใหญ่ กลางและเล็ก โดยมองว่าหุ้นขนาดใหญ่เป็นผู้นำของตลาดในปัจจุบัน และหุ้นขนาดกลางและเล็ก มีโอกาสที่จะเป็นผู้นำในอนาคต ซึ่งต้องใช้กลยุทธ์การคัดเลือกหุ้นรายตัว (Bottom Up) และปีนี้ผู้จัดการกองทุนให้น้ำหนักกับหุ้นขนาดใหญ่มากขึ้น เพราะมองว่า แนวโน้มจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็ก เพราะหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็กปรับตัวขึ้นมากในปีที่แล้ว
• ผู้จัดการกองทุนมีมุมมองเชิงบวกกับอุตสาหกรรมดังต่อไปนี้
o สถาบันการเงิน เพราะเห็นการเติบโตของสินเชื่อ ซึ่งสอดคล้องกับเศรษฐกิจที่กำลังโตขึ้น กองทุนเลือกลงทุนในสถาบันการเงินขนาดใหญ่ เช่น ICICI Bank, State Bank of India, Axis ที่มีผลการดำเนินงานแข็งแกร่ง
o กลุ่มที่เกี่ยวกับการบริโภค การเปิดประเทศ โดยเฉพาะการบริโภคในเขตเมือง และด้วยจำนวนประชากรที่มีจำนวนมาก ยิ่งทำให้ดีมานด์ในกลุ่มสินค้าและบริการมีความแข็งแกร่ง เช่น กลุ่มร้านอาหาร ท่องเที่ยว สินค้าฟุ่มเฟือย
o กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากโมเดล China+1 หมายถึง การที่บริษัทชั้นนำของโลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทเทคโนโลยี เคมีภัณฑ์ และผู้ผลิตชิ้นส่วน จะมีฐานการผลิตเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากประเทศจีน เช่น Foxconn ซึ่งผลิต iPhone ได้ย้ายการผลิต iphone บางรุ่นมาที่อินเดีย
o กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด ได้แก่ Data centers และยานยนต์ไฟฟ้า
• สำหรับกลุ่มเทคโนโลยีซึ่งถูกคาดหวังเรื่องการเติบโตมาตลอดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มได้รับผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและกระทบต่ออัตรากำไรของบริษัท
• ฤดูลมมรสุม (Monsoon) ของอินเดีย ซึ่งมีตั้งแต่กลางปีถึงประมาณสิ้นเดือนกันยายน สำหรับปีนี้คาดว่า จะมีปริมาณน้ำมากกว่าค่าเฉลี่ยที่ผ่านมา 9% ซึ่งเป็นผลบวกกับพื้นที่ชนบท ทั้งนี้ ความเสี่ยงหลักของตลาดหุ้นอินเดีย มาจากปัจจัยภายนอกซึ่งกระทบกับเศรษฐกิจของอินเดีย โดยเฉพาะราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ อาจทำให้มีการปรับลดประมาณการกำไรของบริษัทต่างๆ ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งผู้จัดการกองทุนจะเน้นลงทุนในหุ้นที่เห็นการเติบโตในอนาคต

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น
หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้

ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุน ในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่ง ยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต