กองทุน B-IR-FOF และ B-IR-FOFRMF Q3/2022

กองทุน B-IR-FOF และ B-IR-FOFRMF Q3/2022

กองทุนเปิดฟันด์ออฟฟันด์บัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานและอสังหาริมทรัพย์ (B-IR-FOF)
กองทุนเปิดฟันด์ออฟฟันด์บัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานและอสังหาริมทรัพย์เพื่อการเลี้ยงชีพ
(B-IR-FOFRMF)

“Property Fund / REIT / IFF ของไทย ผู้จัดการกองทุนมีมุมมองเชิงบวกกับกลุ่ม Retail และ IFF โดยมองว่ากลุ่ม Retail ฟื้นตัวได้ดี เพราะช่วงโควิดได้ลดค่าเช่าลงไปมากแล้ว และเริ่มปรับเพิ่มค่าเช่าตั้งแต่ช่วงต้นปี คาดว่า สิ้นปีนี้ค่าเช่าจะปรับเข้าสู่ระดับก่อนโควิด และอัตราผู้เช่า (Occupancy Rate) อยู่ในเกณฑ์ดี เฉลี่ยประมาณ 90% และกลุ่ม IFF หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ที่มีรายได้สม่ำเสมอ และได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อจำกัด มีสัญญาเช่าระยะยาว มีการกำหนดค่าเช่าชัดเจน”

• ดัชนีของกลุ่ม Property Fund / REIT (SETPREIT) ปรับตัวลดลง -7.4% ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2565 เป็นการปรับตัวลดลงมากกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ SET Index ที่ลดลง -1.1% เมื่อดูตามรายอุตสาหกรรมย่อยกลุ่มโรงแรมเป็นเพียงกลุ่มเดียวที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น +11.0% ในขณะที่กลุ่มอื่นปรับลดลง ได้แก่ Exhibition Centre -21.6%, Office -9.0%, Industrial -12.0%, Retail -3.5% นอกจากนี้ ราคาของกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) ปรับตัวลดลง -9% ตั้งแต่ต้นปี
• ปัจจัยกดดันกลุ่ม Exhibition Centre ที่สำคัญ คือ ความกังวลเรื่องการแข่งขันจากศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์ ซึ่งคาดว่าจะเปิดกลางเดือนกันยายนนี้ ในขณะที่ ปัจจัยบวกของกลุ่มโรงแรมที่ทำให้ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง มาจากจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นทุกเดือน และมาตรการผ่อนคลายการเดินทาง ทั้งนี้ ในภาพรวมของ Property Fund / REIT ยังมีปัจจัยกดดันหลายประเด็น เช่น การปรับตัวเพิ่มขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของไทย ความกังวลเรื่องเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย รวมถึงการไม่ขยายระยะเวลาการให้ส่วนลด 90% สำหรับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปีนี้ ซึ่งจะทำให้กองทุนมีภาระภาษีเพิ่มขึ้น
• ณ สิ้นเดือนสิงหาคม ส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย 10 ปี (Yield Spread) สาหรับกลุ่ม Property Fund / REIT อยู่ที่ 3.9% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 3.2% และสำหรับ Yield Spread กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานอยู่ที่ 5.8% สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 5.1%
• Property Fund / REIT / IFF ของไทย ผู้จัดการกองทุนมีมุมมองเชิงบวกกับกลุ่ม Retail และ IFF โดยมองว่ากลุ่ม Retail ฟื้นตัวได้ดี เพราะช่วงโควิดได้ลดค่าเช่าลงไปมากแล้ว และเริ่มปรับเพิ่มค่าเช่าตั้งแต่ช่วงต้นปี คาดว่า สิ้นปีนี้ค่าเช่าจะปรับเข้าสู่ระดับก่อนโควิด และอัตราผู้เช่า (Occupancy Rate) อยู่ในเกณฑ์ดี เฉลี่ยประมาณ 90% และกลุ่ม IFF หรือกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ที่มีรายได้สม่ำเสมอ และได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อจำกัด มีสัญญาเช่าระยะยาว มีการกำหนดค่าเช่าชัดเจน ในขณะที่ Underweight กลุ่ม Office เนื่องจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทางานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น มีการลดขนาดสำนักงาน อีกทั้งยังมี Supply เพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ จึงมองว่าอัตราค่าเช่ายังมีความเสี่ยงอยู่
• Property Fund / REIT / IFF ของสิงคโปร์ มีข้อดีในด้านสภาพคล่องสูงและมีการเพิ่มสินทรัพย์ใหม่ๆ เข้ามาในกองทุนเสมอ ได้ประโยชน์จากการเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว มีการท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นชัดเจน โดยด้านการใช้จ่ายกลับมาอยู่ในระดับก่อนโควิดแล้ว ผู้จัดการกองทุนชอบกลุ่ม Retail กลุ่ม Office และ กลุ่มโรงแรม โดยกลุ่ม Office จะมีดีมานด์จากจีนและฮ่องกงมากขึ้น และกลุ่มโรงแรมนอกจากจะได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีการจัดประชุมสัมมนาเพิ่มขึ้นด้วย
• ทั้งนี้ ผลประกอบการไตรมาส 2/2022 ของกลุ่ม ออกมาใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดการณ์ หนุนโดยการฟื้นตัวทั้งสิงคโปร์และไทย และคาดการณ์ว่าจะเห็นการเร่งตัวขึ้นในการเติบโตของกาไรในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น
หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้

ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุน ในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่ง ยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต