กองทุน B-IR-FOF และ B-IR-FOFRMF Q4/2022

กองทุน B-IR-FOF และ B-IR-FOFRMF Q4/2022

กองทุนเปิดฟันด์ออฟฟันด์บัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานและอสังหาริมทรัพย์ (B-IR-FOF)
กองทุนเปิดฟันด์ออฟฟันด์บัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานและอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการเลี้ยงชีพ (B-IR-FOFRMF)

“ผู้จัดการกองทุนยังคงมีมุมมองเชิงบวก (Overweight) กับกลุ่ม Industrial เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ฟื้นตัวและให้เงินปันผลที่สม่าเสมอ แต่ได้ลดน้ำหนักลงเล็กน้อย โดยไปเพิ่มน้ำหนักในกลุ่ม Retail มากขึ้น จากการที่ให้ส่วนลดกับผู้เช่าที่ลดลง และเห็นกิจกรรมกลับมาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ Underweight ในกลุ่ม Office เนื่องจากกังวลแนวโน้ม Work-from-home และหรือการลดขนาดสำนักงาน อีกทั้งยังมีอุปทานส่วนเกิน (Oversupply) ในกลุ่มนี้”

“ผู้จัดการกองทุนมองว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยจะยังคงมีอยู่ในปีหน้า แต่จะไม่รุนแรงเท่าปีนี้ ดังนั้น การลงทุนของกองทุน B-IR-FOR มีแนวโน้มว่า จะปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนให้มากขึ้น จากปัจจุบันที่ถือเงินสดประมาณ 10% เนื่องจากเงินปันผลและการเติบโตของกำไรของสินทรัพย์ประเภท REIT น่าจะเติบโตได้ดีในปีหน้า โดยเฉพาะ REIT ไทยที่มีอัตราเงินปันผลในปีหน้าประมาณ 7.5% ส่วน REIT สิงคโปร์มีอัตราเงินปันผลประมาณ 6%”

ภาพรวมตลาด
• ดัชนีของกลุ่ม Property Fund / REIT (SETPREIT) ปรับตัวลดลง -12.4% ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2565 เป็นการปรับตัวลดลงมากกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ SET Index ที่ลดลง -1.3% เมื่อดูตามรายอุตสาหกรรมย่อยกลุ่มโรงแรมเป็นเพียงกลุ่มเดียวที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น +10.7% ในขณะที่ กลุ่มอื่นปรับลดลง ได้แก่ Exhibition Centre -31.3%, Office -10.0%, Industrial -18.0%, Retail -10.3% นอกจากนี้ ราคาของกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) ปรับตัวลดลง -12.6% ตั้งแต่ต้นปี
• ปัจจัยสนับสนุนกลุ่มโรงแรม คือ การที่รัฐบาลมีมาตรการผ่อนคลายการเดินทางเข้าประเทศไทยตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2565 และตัวเลขนักท่องเที่ยวที่สูงขึ้นทุกเดือน ในขณะที่ ปัจจัยกดดันกลุ่ม Exhibition Centre ที่สำคัญ คือ ความกังวลเรื่องการแข่งขันจากศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์ ซึ่งเปิดเมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา และได้รับผลตอบรับที่ดี
• ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน ส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย 10 ปี (Yield Spread) สาหรับกลุ่ม Property Fund / REIT อยู่ที่ 4.2% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 3.2% และสำหรับ Yield Spread กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานอยู่ที่ 8.6% สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 5.2%


พอร์ตการลงทุน

• ผู้จัดการกองทุนยังคงมีมุมมองเชิงบวก (Overweight) กับกลุ่ม Industrial เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ฟื้นตัวและให้เงินปันผลที่สม่าเสมอ แต่ได้ลดน้าหนักลงเล็กน้อยโดยไปเพิ่มน้ำหนักในกลุ่ม Retail มากขึ้น จากการที่ให้ส่วนลดกับผู้เช่าที่ลดลง และเห็นกิจกรรมกลับมาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ Underweight ในกลุ่ม Office เนื่องจากกังวลแนวโน้ม Work-from-home และหรือการลดขนาดสำนักงาน อีกทั้งยังมีอุปทานส่วนเกิน (Oversupply) ในกลุ่มนี้
• นอกจากนี้ ยังลดน้ำหนัก JASIF เนื่องจากประเด็นการต่อขอปรับลดสัญญาค่าเช่าจากผู้ซื้อรายใหม่ที่อาจกระทบเงินปันผลที่จะได้รับ และเพิ่มน้ำหนักในกลุ่มคมนาคม เช่น BAREIT ซึ่งให้เงินปันผลในระดับสูง และ BTSGIF จากการฟื้นตัวได้ดีของผู้โดยสารและแนวโน้มที่ดีจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะกลับมาเดินทางมากขึ้น

มุมมองในอนาคต

ผู้จัดการกองทุนมองว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยจะยังคงมีอยู่ในปีหน้า แต่จะไม่รุนแรงเท่าปีนี้ ดังนั้น การลงทุนของกองทุน B-IR-FOR มีแนวโน้มว่า จะปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนให้มากขึ้น จากปัจจุบันที่ถือเงินสดประมาณ 10% เนื่องจากเงินปันผลและการเติบโตของกำไรของสินทรัพย์ประเภท REIT น่าจะเติบโตได้ดีในปีหน้า โดยเฉพาะ REIT ไทยที่มีอัตราเงินปันผลในปีหน้าประมาณ 7.5% ส่วน REIT สิงคโปร์มีอัตราเงินเงินปันผลประมาณ 6%

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น
หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้

ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุน ในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต