กองทุนเปิดบัวหลวงฟินเทค (B-FINTECH) Q1/2023

กองทุนเปิดบัวหลวงฟินเทค (B-FINTECH) Q1/2023

กองทุนเปิดบัวหลวงฟินเทค (B-FINTECH)

คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้ 0.25% สู่ระดับ 4.75-5.00% ในการประชุมวันที่ 21-22 มี.ค. 2566 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2550”

ปัญหาทางด้านสภาพคล่องของสถาบันการเงินสหรัฐฯ กลับมาเป็นปัจจัยสาคัญที่กดดันตลาดการเงิน
กองทุน BlackRock Fintech Fund ได้แรงกดดันจากกลุ่มบริการสารสนเทศ ธนาคารพาณิชย์ และสินเชื่อผู้บริโภค

ภาพรวมตลาด
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 4.75-5.00% ในการประชุมวันที่ 21-22 มี.ค. 2566 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2550 ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 9 ติดต่อกัน นับตั้งแต่ที่เฟดเริ่มวัฏจักรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. 2565 พร้อมคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้นแตะระดับ 3.6% ในปีนี้


พอร์ตการลงทุน
กองทุน BlackRock Fintech Fund ได้แรงกดดันจากกลุ่มบริการสารสนเทศ ธนาคารพาณิชย์ และสินเชื่อผู้บริโภค ทั้งนี้ หุ้นที่ช่วยหนุนผลการดำเนินงานกองทุน ได้แก่

  • Fiserv ผู้ให้บริการชั้นนำของโลกด้านเทคโนโลยีบริการทางการเงิน ที่รายงานตัวเลข EPS ที่ 1.91 ดอลลาร์ โดยเพิ่มขึ้น 17% QoQ และ 22% YoY และมีรายได้เพิ่มขึ้น 8.5% YoY ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าคาดการณ์
  • Assetmark Financial Holding ผู้ให้บริการโซลูชันเทคโนโลยีการบริหารความมั่งคั่งสำหรับที่ปรึกษาทางการเงินอิสระที่มีกำไรที่แข็งแกร่ง
    อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานกองทุนได้รับแรงกดดันจาก
  • Inter & Co ธนาคารดิจิทัลของบราซิล ที่ปรับตัวลงจากความกังวลจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นและความไม่แน่นอนทางการเมืองของบราซิล
  • Fidelity National Information Services (FIS) ที่ปรับตัวลง หลังจากประกาศผลประกอบการที่ต่ำกว่าคาดการณ์
    ปัญหาทางด้านสภาพคล่องของสถาบันการเงินสหรัฐฯ กลับมาเป็นปัจจัยสาคัญที่กดดันตลาดการเงิน ทั้งกรณีของ
    • Silvergate Bank และ Signature Bank มีความเชื่อมโยงโดยตรงกับแนวโน้มของตลาดคริปโตฯ ที่ปัญหาเกิดจากทั้งเรื่องของธรรมมาภิบาล (Governance) และภาพรวมของอุตสาหกรรมที่ชะลอตัวลง
  • Silvergate Bank ประกาศยุติการทำธุรกรรมจากปัญหาการล้มละลายของ FTX แพลตฟอร์มซื้อขายสกุลเงินคริปโตฯ รายใหญ่
  • Signature Bank ธนาคารหลักแห่งหนึ่งในอุตสาหกรรมคริปโตฯ ล่าสุด (12 มี.ค.) ได้ถูกสั่งปิดตัวลงโดยหน่วยงานของรัฐ
    • Silicon Valley Bank เกิดจากการบริหารอัตราดอกเบี้ยที่ผิดพลาด (Duration Mismatch) ถูกทางการสั่งปิดกิจการจากปัญหาการขาดสภาพคล่องหลังลูกค้าถอนเงินเป็นจำนวนมากทำให้ต้องขายสินทรัพย์ เช่น พันธบัตรต่างๆ ที่ราคาปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสาคัญในช่วงที่ผ่านมา จากการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) และเกิดผลขาดทุนจนนำมาสู่ปัญหาสภาพคล่อง

ทั้งนี้ ทางการของสหรัฐฯ ทั้งกระทรวงการคลัง (Treasury) ธนาคารกลาง (Fed) และสถาบันประกันเงินฝาก (FDIC) มีการออกมาตรการเร่งด่วน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ได้แก่ การใช้มาตรการพิเศษ Bank Term Funding Program (BTFP) เพื่อให้ธนาคารที่ประสบปัญหาสามารถกู้ยืมแบบมีหลักประกันเพื่อลดผลกระทบจากการขาดสภาพคล่องได้ รวมถึงการประกาศใช้มาตรการ Systemic Risk Exception (SRE) เพื่อคุ้มครองส่วนที่ไม่ได้อยู่ภายใต้วงเงินประกันเงินฝาก
กองทุน B-FINTECH ที่มีกองทุนหลัก คือ BGF Fintech Fund ลงทุนในกลุ่ม Blockchain และ Cryptocurrency จากธีมหลักที่เป็น Fintech คือ SVB Financial Group (SIVB) ที่เป็น Holding Company ของ SVB ในสัดส่วน 4.45% Silvergate Bank 0.60% และ Signature Bank 3.80% ทำให้รวมกันมีน้ำหนักราว 9% ของกองทุน ซึ่งคาดว่าจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากราคาหุ้นที่ปรับลดลงมา (ข้อมูล ณ สิ้นเดือน ก.พ. 2566)

มุมมองของผู้จัดการกองทุน บลจ. บัวหลวง
สถาบันการเงินที่ประสบปัญหานั้นมีบทบาทสาคัญต่อระบบนิเวศของกลุ่ม Financial Technology (Fintech) ทำให้กองทุนที่เน้นลงทุนในกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่กองทุนเองก็มีการจำกัดฐานะการลงทุนด้วยทำให้ผลกระทบนั้นมีจำกัด ประกอบกับการแก้ไขปัญหาของทางการสหรัฐฯ ที่ค่อนข้างรวดเร็ว ทำให้โอกาสที่จะเกิดผลกระทบรุนแรงในวงกว้างนั้น (Systemic Risk) มีน้อย

Disclaimer: เอกสารนี้ จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนาในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้

ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุน ในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่ง ยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต