กองทุน B-USALPHA, B-USALPHARMF และ B-USALPHASSF Q1/2023

กองทุน B-USALPHA, B-USALPHARMF และ B-USALPHASSF Q1/2023

กองทุนเปิดบัวหลวงยูเอสอัลฟ่า (B-USALPHA)
กองทุนเปิดบัวหลวงยูเอสอัลฟ่า เพื่อการเลี้ยงชีพ (B-USALPHARMF)
กองทุนเปิดบัวหลวงยูเอสอัลฟ่า เพื่อการออม (B-USALPHASSF)

กองทุนมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่าดัชนีชี้วัด โดยกลุ่มที่ให้ผลตอบดี ได้แก่ กลุ่ม Real Estate และกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย

ผู้จัดการกองทุน JP Morgan US Growth Fund ยังคงให้ความสำคัญกับปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจและรายได้ของบริษัท รวมไปถึงความไม่แน่นอนต่างๆ เช่น เงินเฟ้อ สภาพคล่องที่ตึงตัว ข้อจำกัดด้านห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้ใช้โอกาสที่ตลาดมีการเคลื่อนไหวนี้ในการเข้าซื้อหุ้นที่น่าสนใจลงทุน

พอร์ตการลงทุน
ในช่วงเดือน ก.พ. กองทุนมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่าดัชนีชี้วัด โดยกลุ่มที่ให้ผลตอบดี ได้แก่ กลุ่ม Real Estate และกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย โดยให้น้ำหนักการลงทุนใน

  • Auto Zone : ที่ปรับตัวขึ้น หลังมีคาดการณ์ตัวเลขรายได้และกำไรที่เพิ่มขึ้นสำหรับไตรมาส 2/2566 จากการเติบโตของส่วนต่างผลกำไรและยอดขาย
  • Meta Platforms เป็นหุ้นที่ช่วยหนุนผลการดาเนินงานกองทุน หลังราคาหุ้นปรับตัวขึ้นจากรายงานตัวเลขรายได้ไตรมาส 4/2566 และตัวเลขยอดผู้ใช้งานเกือบ 3 พันล้านคนต่อวัน
    ในทางกลับกัน การเลือกหุ้นของเราในกลุ่มเทคโนโลยีและสินค้าอุปโภคบริโภค ได้กดดันผลการดำเนินงานของกองทุน โดยหุ้น Shopify มีราคาร่วงลง หลังจากบริษัทรายงานผลประกอบการไตรมาสที่สี่แบบผสม แม้จะรายงานรายได้ในระดับปานกลางเหนือความคาดหมายที่เป็นเอกฉันท์ แต่มีคำแนะนำสำหรับไตรมาสแรกปี 2566 ที่น่าผิดหวัง หุ้น ConocoPhillips เป็นหุ้นที่กดดันผลการดำเนินงานกองทุนมากที่สุด เนื่องจากบริษัทรายงานแนวทางการใช้จ่ายด้านทุนที่สูง ซึ่งข่าวนี้ได้รับการตอบรับในทางลบจากนักลงทุน ปัญหาทางด้านสถาบันการเงินของสหรัฐฯ กลับมาเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันตลาดการเงิน Silicon Valley Bank (SVB) ได้ถูกทางการสั่งปิดกิจการ จากปัญหาการขาดสภาพคล่อง หลังลูกค้าถอนเงินเป็นจำนวนมากทำให้ต้องขายสินทรัพย์ เช่น พันธบัตรต่างๆ ที่ราคาปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงที่ผ่านมา จากการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) และเกิดผลขาดทุนจนนำมาสู่ปัญหาสภาพคล่อง ทั้งนี้ ณ สิ้น ก.พ. 2566 JP Morgan US Growth Fund มีน้ำหนักการลงทุนใน SVB ที่ 0.8% จากการลงทุนในกลุ่ม Financial
    มุมมองในอนาคต
    กองทุนให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยมากกว่าดัชนีมากที่สุด ตามด้วยกลุ่มการเงินและพลังงาน ขณะที่หุ้นสุขภาพได้รับความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นและยังคงมีปัจจัยพื้นฐานที่ดีอยู่ ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนยังคงมีความเชื่อมั่นในหุ้นกลุ่มเติบโตอยู่ โดยเฉพาะหุ้นเทคโนโลยี
    ผู้จัดการกองทุน JP Morgan US Growth Fund ยังคงให้ความสำคัญกับปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจและรายได้ของบริษัท รวมไปถึงความไม่แน่นอนต่างๆ เช่น เงินเฟ้อ สภาพคล่องที่ตึงตัว ข้อจำกัดด้านห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้ใช้โอกาสที่ตลาดมีการเคลื่อนไหวนี้ในการเข้าซื้อหุ้ที่น่าสนใจลงทุน

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น
หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจาก การใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้

ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุน ในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่ง ยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต