กองทุน B-SENIOR, B-SENIOR-X, B-INCOME และ B-INCOMESSF Q3/2023

กองทุน B-SENIOR, B-SENIOR-X, B-INCOME และ B-INCOMESSF Q3/2023

กองทุนผสมบีซีเนียร์สำหรับวัยเกษียณ (B-SENIOR) , กองทุนผสมบีซีเนียร์สำหรับวัยเกษียณ เอ็กซ์ตร้า (B-SENIOR-X) กองทุนเปิดบัวหลวงอินคัม (B-INCOME) และกองทุนเปิดบัวหลวงอินคัมเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-INCOMESSF)

ตราสารหนี้
• ในเดือนก.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก และไม่ค่อยเคลื่อนไหวตามตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในโหมด wait-and-see ทั้งรอการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในช่วงต้นเดือนส.ค. และรอความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาล
• เมื่อวันที่ 3 ส.ค. คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 25bps สู่ระดับ 2.25% ตามคาดการณ์ในวงกว้างของตลาด ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2013 เนื่องจาก ธปท. ส่งสัญญาณต้องการสร้าง Policy space เพื่อรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่อยู่ในระดับสูง ในสภาวะที่เศรษฐกิจไทยโดยรวมยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง และคาดว่าจะทยอยปรับดีขึ้นในระยะถัดไป ในขณะที่เงินเฟ้อชะลอลงและมีแนวโน้มทรงตัว แต่ยังคงมีความเสี่ยงด้านสูง
• ในส่วนของตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ Fed มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อีก 25 bps สู่ระดับ 5.25 – 5.50% ภาพรวมถ้อยแถลงหลังประชุมแทบไม่แตกต่างจากการประชุมเมื่อครั้งก่อนในเดือนมิ.ย. โดยยังมองภาพการจ้างงานที่แข็งแกร่ง และอัตราการว่างงานในระดับต่ำ ขณะที่ยังมองกิจกรรมเศรษฐกิจขยายตัว ด้านเงินเฟ้อยังมองว่าเติบโตในระดับสูง สำหรับนโยบายการเงินที่เข้มงวดเพิ่มเติมในระยะข้างหน้านั้น
Fed ยังคงเน้นย้ำว่าขึ้นอยู่กับ 1) การดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาแล้ว 2) ความล่าช้าของระยะเวลาที่นโยบายการเงินจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และ 3) พัฒนาการเศรษฐกิจและการเงิน
• แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป การปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นใน เดือน ส.ค. เป็นไปตามคาดการณ์ของตลาด และคาดว่าหลังจากนี้ กนง. น่าจะติดตามแนวโน้มและความเสี่ยงของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อไทย เพื่อพิจารณาปรับ ดอกเบี้ยขึ้นเพิ่มเติมหากเหมาะสม อย่างไรก็ดี การที่อัตราดอกเบี้ยแท้จริงเริ่มกลับสู่แดนบวก ทำให้โอกาสที่จะขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องแบบช่วงที่ผ่านมามีจำกัดมากขึ้น


ตราสารทุน
• ภาพรวมตลาดหุ้นโลกในเดือนกรกฎาคมปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.9% สะท้อนถึงมุมมองเชิงบวกต่อตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมา โดยหลายฝ่ายได้คาดการณ์ว่ ว่า โอกาสที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ ในปีนี้และปีหน้านั้นลดลง และตัวเลข CPI ของสหรัฐในเดือนมิถุนายนปรับตัวเพิ่มขึ้น 3% YoY ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่ทยอยปรับตัวลดลง ส่งผลให้ธนาคารกลางมีแนวโน้มพิจารณาหยุดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอีกไม่ช้า นอกจากนี้ ในเดือนที่ผ่านมา ยังเป็นช่วงฤดูการประกาศผลประกอบการไตรมาส 2 ในสหรัฐ ซึ่งบริษัทต่างๆ สามารถทำกำไรออกมาได้ดีกว่าตลาดคาด โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ในขณะที่ หุ้นในกลุ่ม Growth มีผลประกอบการที่คละกันไป อย่างไรก็ตาม แม้สัญญาณทางเศรษฐกิจและผลประกอบการจะออกมาค่อนข้างดี แต่ราคาหุ้นหลายตัวกลับเริ่มปรับตัวลดลงสะท้อนให้เห็นถึงการที่ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมาได้สะท้อนความคาดหวังของตลาดไปค่อนข้างมาก ทั้งในแง่การเติบโตของยอดขายและกำไรของบริษัท ในส่วนตลาดหุ้นจีน ตัวเลข GDP ที่ออกมาก็มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ตลาดมีความคาดหวังว่าจะเห็นมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมามีปริมาณที่มากขึ้น และขนาดที่ใหญ่ขึ้น โดยล่าสุดจากการประชุม Politburo ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมาก็เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนอีกครั้ง และยังเป็นการส่งสัญญาณเชิงบวกให้กับตลาดจีนต่อจากนี้ แม้ว่าจะยังมีข่าวความเสี่ยงจากปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นระยะๆ ก็ตาม ด้านสหรัฐฯ การบรรลุข้อตกลงการขยายเพดานหนี้สหรัฐฯ ที่ทำให้ความกังวลต่อการผิดชำระหนี้ของสหรัฐฯได้คลี่คลายออกไป ยังมีเรื่องโอกาสที่ FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 25 bps จากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังออกมาแข็งแกร่ง และยังคงมองว่าปัญหาเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ยังไม่สิ้นสุดลง


• ตลาดหุ้นไทย ดัชนี SET Index ในเดือนกรกฎาคม 2566 ปิดที่ระดับ 1,556.06 จุด เพิ่มขึ้น 3.5% จากเดือนก่อน โดยดัชนีได้ฟื้นตัวขึ้นหลังจากมีการปรับตัวลงแรงในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 ของ SET Index อยู่ที่ 6.7%
• ในเดือน ก .ค. ที่ผ่านมา หุ้นกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุด คือ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 21.2% จากการปรับตัวขึ้นของราคาหุ้น DELTA ซึ่งรายงานกำไรสุทธิในไตรมาสที่ 2 ดีกว่าที่ตลาดคาดเอาไว้มาก กลุ่มบริการรับเหมาก่อสร้าง 7.5% และกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค 5.2% ในขณะที่กลุ่มที่ให้ผลตอบแทนติดลบมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มประกันภัยและประกันชีวิต 4.2% กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ 3.3% และกลุ่มการท่องเที่ยวและสันทนาการ 3.3% สำหรับปริมาณการซื้อขายตามกลุ่มนักลงทุนในเดือนมิถุนายนนั้น นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิที่ 1.3 หมื่นล้านบาท นักลงทุนทั่วไปภายในประเทศซื้อสุทธิ 0.4 หมื่นล้านบาท บัญชีหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ 0.3 หมื่นล้านบาท และนักลงทุนสถาบันภายในประเทศซื้อสุทธิ 0.6 หมื่นล้านบาท


• ปัจจัยภายในประเทศ น่าจะมีน้ำหนักต่อความผันผวนของตลาดมากกว่า ซึ่งตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ด้วยความหวังในการเห็นการจัดตั้งรัฐบาลมากขึ้นในช่วงต้นเดือน รวมถึงผลประกอบการในประเทศที่เริ่มทยอยประกาศออกมา ในกลุ่มธนาคารที่เห็นการเติบโตของส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ ( NIM) และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่งบการเงินออกมาดีกว่าตลาดคาด รวมทั้งการฟื้นตัวของราคาน้ำมันซึ่งเป็นผลบวกต่อหุ้นกลุ่มพลังงาน เป็นแรงหนุนทำให้ SET ฟื้นตัวขึ้นมาในช่วงครึ่งเดือนหลัง แต่ผลประกอบการของบริษัท
ส่วนใหญ่ในไตรมาส 2 ยังไม่โดดเด่น ประกอบกับความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ยังมีอยู่ และตัวเลขเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร ทั้งตัวเลขส่งออกและจำนวนนักท่องเที่ยวจีนยังฟื้นตัวได้ช้ากว่าคาด อีกทั้งการไม่มีมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลได้ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชนโดยเฉพาะต่อกลุ่มผู้มีรายได้น้อย จึงเป็นแรงกดดันให้ตลาดไทยกลับมา Underperform เมื่อเทียบกับตลาดโลก โดยประเด็นที่ต้องติดตามต่อจากนี้ คือ ความชัดเจนทางการเมือง ที่มีผลโดยตรงต่อความผันผวนของตลาด เนื่องจากส่งผลต่อความมั่นใจของนักลงทุน รวมถึงการออกนโยบายต่างๆ ที่จะมาผลักดันเศรษฐกิจไทยต่อจากนี้


• ปัจจัยหลักภายนอก ได้แก่ การกลับมาเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ทั้งจากการที่ซาอุดีอาระเบียประกาศขยายเวลาการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันและรัสเซียประกาศลดการส่งออกน้ำมันในช่วงต้นเดือน การที่นักลงทุนคาดหวังว่าอุปสงค์น้ำมันโลกในช่วงครึ่งปีหลังจะเพิ่มขึ้นหลังทางการจีนประกาศเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการคาดหวังว่า FED จะหยุดวงจรการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ส่งผลให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ซึ่งการที่ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นได้ผลักดันให้ราคาหุ้นกลุ่มธุรกิจน้ำมันปรับขึ้นตามด้วย ส่วนราคาหุ้นกลุ่มโรงกลั่นได้แรงหนุนจากส่วนต่างค่าการกลั่นในตลาดโลกที่ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน


• กลยุทธ์การลงทุน และมุมมองในไตรมาส 3/2566 ยังคงมุมมองว่า พื้นฐานของเศรษฐกิจประเทศไทยยังอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว นำโดยภาคการท่องเที่ยวและภาคการบริโภคภาคเอกชน ในขณะที่ การส่งออกก็มีแนวโน้มฟื้นตัวดีกว่าครึ่งปีแรก โดยเราได้เห็นสัญญาณบวกจากการที่การส่งออกพลิกกลับเติบโตในเดือนกรกฎาคม เมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ตาม เรามีมุมมองที่ระมัดระวังมากขึ้นกับการท่องเที่ยวที่แม้ว่าจำนวนตัวเลขนักท่องเที่ยวจะมีแนวโน้มฟื้นตัวที่ดี แต่สัดส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนยังช้าตามเศรษฐกิจประเทศจีนที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ซึ่งที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวจีนถือว่าเป็นกลุ่มที่มีอัตราใช้จ่ายสูง เมื่อเทียบกับ
นักท่องเที่ยวกลุ่มอื่น ทำให้เมื่อสัดส่วนนักท่องเที่ยวจีนลดลง รายได้จากการท่องเที่ยวอาจจะต่ำกว่าในอดีตที่ผ่านมาแม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะฟื้นตัวก็ตาม

สินทรัพย์ทางเลือก
• ในปีที่ผ่านมา การลงทุนใน REITs ได้รับแรงกดดันจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในปีนี้ทั้ง Fed และกนง. ของไทยจะปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก แต่เริ่มมีการส่งสัญญาณชะลอการปรับขึ้นและมีแนวโน้มของการใกล้หยุดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากอัตราเงินเฟ้อปัจจุบันที่ปรับตัวลดลง ทำให้ผู้จัดการกองทุนมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อการลงทุนใน REITs ไทยและสิงคโปร์ เนื่องจาก PF&REITs จะมีผลการดำเนินงานดีในช่วงดอกเบี้ยที่นิ่งหรือเป็นขาลงและเศรษฐกิจยังสามารถเติบโตได้ ( GDP เป็นบวก) นอกจากนี้ ผลการดำเนินงานของ REITs ในปี 2023 เติบโตต่อเนื่องจากปีก่อน โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการเปิดประเทศเต็มรูปแบบและจำนวนนักท่องเที่ยว
ฟื้นตัวต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลดีต่อ PF&REITs กลุ่มโรงแรมทั้งในประเทศไทยและสิงคโปร์ รวมถึงกลุ่ม Retail ในไทย โดย ปัจจุบันอัตราเงินปันผลคาดการณ์อยู่ที่ระดับ 7.5% และกอง Infrastructure Fund ที่ 8.0% เทียบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ที่ประมาณ 2.5% คิดเป็นส่วนต่างถึง 5.0% 5.5% ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลังที่ประมาณ 3.5% ในขณะที่ REITs ของประเทศสิงคโปร์มีอัตราเงินปันผล คาดการณ์อยู่ที่ระดับ 6.0
• การเพิ่ม Allocation มายังทองคำจากทางฝั่ง Strategic investor ได้แก่ ธนาคารกลาง ยังมีอยู่ อย่างต่อเนื่อง แต่ด้าน Physical Market อยู่ในช่วง Low Season และ Investment Demand ยังคงไม่เร่งตัวขึ้น ในช่วงที่ผ่านมา ต้นทุนทองคำหน้าเหมืองปรับขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ US$11,358/ oz (+6% QoQ +1010YoY) ในขณะที่ ความกังวลในด้าน Geopolitical Risk ช่วยหนุนราคาทองคำ ปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทางราคาทองคำ จะยังคงอยู่ที่ค่าเงินดอลล่าร์ และการคาดการณ์ในเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed โดยการเข้าสู่ช่วงปลายวัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed เป็น Catalyst สำคัญต่อทองคำ


พอร์ตการลงทุนไตรมาสที่ผ่านมา
B-SENIOR:
• ในส่วนตราสารหนี้ กองทุนเพิ่มสัดส่วนพันธบัตรและหุ้นกู้ระยะสั้น แต่ลดสัดส่วนตราสารหนี้ระยะปานกลาง อายุเฉลี่ยของพอร์ต ( Portfolio duration) จึงลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย
• ในส่วนตราสารทุน กองทุนลดน้ำหนักในหุ้นลงเล็กน้อย โดยลดน้ำหนักในหุ้นกลุ่ม วัสดุก่อสร้าง ไฟแนนซ์ และ โรงพยาบาล แต่ได้เพิ่มสัดส่วนกลุ่มธนาคาร ขนส่ง และพลังงาน


B-SENIOR-X:
• ในส่วนตราสารหนี้ กองทุนเพิ่มสัดส่วนพันธบัตรและหุ้นกู้อายุไม่เกิน 1 ปี และเพิ่มหุ้นกู้อายุไม่เกิน 3 ปี โดยลดน้ำหนักเงินฝาก และตราสารหนี้อายุปานกลาง ส่วนกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศลดน้ำหนัก กองทุน Short และ long duration Bond โดยเพิ่มสัดส่วน Medium duration Bond อายุเฉลี่ยของพอร์ต ( Portfolio duration) จึงลดลงจากไตรมาสก่อน
• ในส่วนของหุ้นในประเทศ กองทุนลดน้ำหนักในหุ้นไทย โดยลดน้ำหนักในหุ้นกลุ่ม ไฟแนนซ์ แฟชั่น วัสดุก่อสร้าง และ ธนาคาร โดยได้เพิ่มสัดส่วนหุ้นกลุ่มขนส่ง
• สำหรับหุ้นต่างประเทศ กองทุนได้เพิ่มสัดส่วนหุ้นต่างประเทศ โดยกองทุนลงทุนเพิ่มในหุ้นสื่อสาร อสังหาริมทรัพย์ของเวียดนาม และอสังหาริมทรัพย์ของอินโดนีเซีย และลดสัดส่วนในหุ้นคมนาคมขนส่งของจีน
• สำหรับ Property Fund/REITs/Infrastructure Fund กองทุนยังได้ลดน้ำหนักในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มโรงแรม

B-INCOME:
• ในส่วนตราสารหนี้ กองทุนเพิ่มสัดส่วน พันธบัตรและหุ้นกู้ระยะสั้น ทำให้อายุเฉลี่ยของพอร์ต ( Portfolio duration) ลดลงจากไตรมาสก่อน
• ในส่วนตราสารทุน กองทุนได้ยังคงสัดส่วนการลงทุนในหุ้นไทย 13% แต่ลดน้ำหนักหุ้นกลุ่มพลังงาน แฟชั่น และลงทุนเพิ่มกลุ่ม ธนาคาร อาหาร ไฟแนนซ์ และวัสดุก่อสร้าง ส่วนหุ้นต่างประเทศลดสัดส่วนหุ้นอิเล็กทรอนิกส์ในสิงคโปร์และหุ้นสาธารณูปโภคในมาเลเซีย
• สำหรับ Property Fund/REITs/Infrastructure Fund กองทุนได้ลดน้ำหนักในกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน กลุ่มโทรคมนาคม และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มค้าปลีก ส่วนกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ เพิ่มน้ำหนักกลุ่มอุตสาหกรรม โลจิสติกส์ และ Data center


Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น
หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจาก การใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนใน
กองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผล การดำเนินงานในอนาคต