กองทุน B-DYNAMIC BOND, B-DYNAMICRMF และ B-DYNAMICSSF Q3/2023

กองทุน B-DYNAMIC BOND, B-DYNAMICRMF และ B-DYNAMICSSF Q3/2023

กองทุนเปิดบัวหลวง ไดนามิก บอนด์ (B-DYNAMIC BOND)

กองทุนเปิดบัวหลวง ไดนามิก บอนด์ เพื่อการเลี้ยงชีพ (B-DYNAMICRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวง ไดนามิก บอนด์ เพื่อการออม (B-DYNAMICSSF)

“แนวโน้มเศรษฐกิจมีความเสี่ยงมากขึ้น จากดัชนี Composite PMI ของทั้งสหรัฐฯ และยุโรป ที่ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วในเดือนที่ผ่านมา เป็นปัจจัยที่ทำให้คาดว่าธนาคารกลางต่างๆ อาจเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของการปรับขึ้นดอกเบี้ยแล้ว”

  • การปรับตัวขึ้นของ US Treasury Yield ในช่วงนี้มาจาก
  • การคาดการณ์เรื่องที่ว่า Fed ยังมีโอกาสที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นได้อีกหนึ่งครั้งในปีนี้ซึ่งตลาดให้น้ำหนักที่การประชุมเดือนพฤศจิกายน จากความเสี่ยงที่อาจจะมาจากการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมัน และอาจจะคงดอกเบี้ยยาวนานกว่าที่ตลาดเคยประมาณการณ์ไว้ (Stay High for Longer)
  • ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ยังออกมาในเชิงแข็งแกร่ง สะท้อนความเสี่ยงที่เงินเฟ้ออาจจะไม่ลดลงอย่างรวดเร็ว
  • Supply พันธบัตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหลังจากสภาคองเกรสสามารถบรรลุข้อตกลงขยายเพดานหนี้ได้
  • เมื่อพิจารณาจาก Duration ปัจจุบันของพอร์ตที่ประมาณ 5 ปี ภายใต้สมมติฐานว่าหาก Bond Yield ปรับขึ้นในอัตราเดียวกันกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย คือ 0.25% จะส่งผลให้กองทุนสามารถขาดทุนได้ประมาณ 1.25% อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง ยังมีอีกหลายปัจจัยที่จะผลักดันการเคลื่อนไหวของ Bond Yield และปกติแล้วตลาดจะรับรู้ปัจจัยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปก่อนหน้าแล้ว ทำให้พอถึงเวลาที่ Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจริงมีความเป็นไปได้ที่ Fed จะส่งสัญญาณถึงการหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ย ก็อาจจะทำให้ Bond Yield ไม่ได้ปรับขึ้นต่อเนื่องได้
  • นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยชดเชยจากค่าเงินดอลลาร์ที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเคลื่อนไหวของ Bond Yield ดังนั้น หาก Bond Yield ยังคงปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดว่าค่าเงินดอลลาร์จะมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นตาม และจะชดเชยผลกระทบต่อพอร์ตการลงทุนได้บางส่วน การป้องกันความเสี่ยงในปัจจุบันที่ระดับ 80% จะช่วยลดผลกระทบของการเพิ่มขึ้นของ Yield ต่อ NAV ของกองทุน
  • อย่างไรก็ตาม จากทิศทางของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงนั้นจะทำให้ดอกเบี้ยน่าจะปรับตัวลดลงในช่วงถัดไป และจากระดับ Current Yield ที่ 5.2 – 5.4% นั้นทำให้กองทุน B-DYNAMIC BOND ยังคงมีความน่าสนใจ และเหมาะสมที่จะทยอยสะสมในระยะกลางถึงยาว
  • แนวโน้มการลงทุนของ B-DYNAMIC BOND ในระยะถัดไป จะยังคงลงทุนเน้นในพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้กลุ่ม Investment Grade เพื่อไม่ให้ Credit Risk ของกองทุนอยู่ในระดับที่สูง เนื่องจากความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจอาจทำให้ Credit Spread ในกลุ่มที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว้างขึ้น นอกจากนี้ กองทุนจะเพิ่มการลงทุนในพันธบัตรระยะสั้นที่ได้ Carry Yield อยู่ในระดับที่สูงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของ Yield
  • การเข้าลงทุนในตราสารหนี้หลังจากช่วงของการปรับขึ้นดอกเบี้ย มีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในระดับที่ดี โดยจากข้อมูล ณ สิ้นเดือน ก.ค. ที่ B-DYNAMIC BOND ไปลงทุน มีอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 5.92% และมีอันดับเครดิตเฉลี่ยสูงถึง AA ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงด้านความสามารถในการชำระหนี้ในระดับต่ำ

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้

ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต