BBLAM Weekly Investment Insights 13 – 17 พฤศจิกายน 2023

BBLAM Weekly Investment Insights 13 – 17 พฤศจิกายน 2023

The Rise of ASIA

INVESTMENT STRATEGY

By BBLAM

“Fed ส่งสัญญาณคงดอกเบี้ยติดตามผลกระทบต่อเศรษฐกิจ พอร์ตเข้าสู่โหมดปรับอีกครั้ง เพิ่มสัดส่วนตราสารหนี้ Credit quality ในส่วนของหุ้น ตลาดมีมุมมองเชิงบวกต่อกำไรในปี 2024 โดยเฉพาะในกลุ่ม Healthcare, Communication Services และ Information Technology ส่วนจีน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นการสะท้อนภาพเชิงบวกต่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของจีนที่มีความผ่อนคลายมากขึ้น”

BBLAM แนะนำกองทุน

กองทุนลงทุนตราสารหนี้เน้นยืดหยุ่น : B-DYNAMIC BOND และ กองทุนลดหย่อนภาษี : B-DYNAMICRMF และ  B-DYNAMICSSF 

กองทุนลงทุนหุ้นคุณภาพจากทั่วโลก : B-GLOBAL หรือกองทุนลดหย่อนภาษี B-GLOBALRMF 

กองทุนลงทุนอินเดีย : B-BHARATA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-INDIAMRMF และกองทุน SSF เลือก B-ASIASSF

กองทุนลงทุนในเทคโนโลยี แต่พยายามเฟ้นหาหุ้นเทคฯพื้นฐานดี มูลค่ายังน่าลงทุน : B-INNOTECH หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-INNOTECHRMF และ B-INNOTECHSSF

Market & Economy

THAILAND

By BBLAM

“เงินเฟ้อทั่วไปของไทยประจำเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ติดลบเป็นเดือนแรกตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2021 ส่งผลให้เงินเฟ้อ 10 เดือนแรกของปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 1.60%”

120527642_m_normal_none.jpg

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยประจำเดือนตุลาคมที่ผ่านมา อยู่ที่ 107.72 ลดลง -0.31% YoY ติดลบเป็นเดือนแรกตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2021 ส่งผลให้เงินเฟ้อไป 10 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม – ตุลาคม) เฉลี่ยอยู่ที่ 1.60%

ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เดือนตุลาคมอยู่ที่ 104.46 เพิ่มขึ้น 0.66% YoY จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้เงินเฟ้อพื้นฐาน 10 เดือนแรกของปีนี้ เฉลี่ยอยู่ที่ 1.41%

เมื่อพิจารณา Inflation Contribution พบว่าส่วนใหญ่มาจากฝั่ง Food เป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อสุกรและผักสด สำหรับเงินเฟ้อในฝั่งที่ไม่ใช่อาหารค่อนข้าง Flat เนื่องด้วยมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ

มองไปข้างหน้าอัตราเงินเฟ้อยังเผชิญปัจจัยด้านต่ำที่กดดันจากฐานสูงปีก่อน

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อไทยทั้งปีนี้ที่ 1.0 – 1.7 (ค่ากลางที่ 1.35%) ขณะที่ธปท คาดอัตราเงินเฟ้อทั้งปีที่ 1.6% (เท่ากับเงินเฟ้อ YTD ตอนนี้พอดี)

Fixed Income

GLOBAL

By BBLAM

“ผู้จัดการกองทุนแนะนำให้มี B-DYNAMIC BOND ในพอร์ตถึงแม้ที่ผ่านมาได้แรงกระทบจาด Fed ที่ส่งสัญญาณยังคงดอกเบี้ยสูง และได้ปรับพอร์ตเพิ่มตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐฯ ระยะสั้นเพื่อลด Portfolio Duration เพื่อลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่อาจทำให้เกิดการตีมูลค่าติดลบ (Mark-to-Market) ในระยะสั้น และยังได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยในระยะสั้นที่สูงกว่าในระยะยาวด้วย”

ผู้จัดการกองทุน B-DYNAMIC BOND พูดถึงผลการดำเนินงานล่าสุดของว่าให้ผลตอบแทนติดลบ 1.70% ในไตรมาส 3 ปี 2023 อันมีสาเหตุสำคัญจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ทั่วโลก จากความกังวลเกี่ยวกับท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯที่ยังคงค่อนข้างเข้มงวด (Hawkish) เมื่อเทียบกับที่นักวิเคราะห์ในตลาดการเงินมองไว้ โดยยังคงส่งสัญญาณจะคงดอกเบี้ยยาวนานกว่าที่คาดไว้ (Higher for Longer)

โดยเมื่อพิจารณาจากจุดต่ำสุดในช่วงต้นพฤษภาคมเป็นต้นมา ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 5 ปี และ 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงที่สุด 167 และ 165 bps ไปอยู่ที่ 4.96% และ 4.99% ตามลำดับ ก่อนจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยในช่วงปลายเดือน นอกจากนี้สภาพคล่องในตลาดการเงินที่ลดความผ่อนคลายลงจากหลายปัจจัยทั้งเรื่องของนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ และสินเชื่อในระบบที่ลดลง รวมถึงปัจจัยเรื่องของอุปทาน (Supply) ของการออกพันธบัตรก็มีส่วนต่อการเพิ่มขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลด้วย

ในขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Credit Spreads) โดยรวมยังคงมีทิศทางปรับแคบลง สะท้อนมุมมองของนักลงทุนที่มีต่อทิศทางเศรษฐกิจที่น่าจะยังคงเติบโตได้ดี และโอกาสในการผิดนัดชำระหนี้ที่ยังคงต่ำ

ด้านแรงกดดันเงินเฟ้อสหรัฐฯ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนตุลาคมอยู่ที่ 3.7% yoy ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยตัวเลขตุลาคมทรงตัวจากตัวเลขเดือนกันยายน แต่เร่งตัวขึ้นจากเดือนสิงหาคมที่ขยายตัวได้ 3.2% yoy ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยพื้นฐานและราคาพลังงาน แต่ยังมีทิศทางของการชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์และการปรับสัดส่วนกองทุน ในช่วงปลายไตรมาส 3 ที่ผ่านมา กองทุนมีการปรับลดสัดส่วนกองทุน PIMCO GIS Global Bond Fund และ PIMCO GIS Global Income Fund ลง และมีการเพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน iShares Short Treasury Bond ETF (SHV) ที่เป็นการลงทุนในตราสารหนี้รัฐบาลสหรัฐฯ ระยะสั้นเพื่อลด Portfolio Duration ของกองทุนลง 25% โดยประมาณ เพื่อลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่อาจทำให้เกิดการตีมูลค่าติดลบ (Mark-to-Market) ในระยะสั้น นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยในระยะสั้นที่สูงกว่าในระยะยาวด้วย นอกจากนี้ยังมีการปรับลดสัดส่วนการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนลงมาอยู่ในช่วง 70% เนื่องจากค่าเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงชัดเจนในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา จากเรื่องของปัจจัยทางการเมืองในประเทศ

ปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตามอง ได้แก่

  1. ทิศทางของนโยบายการเงินและทิศทางของเงินเฟ้อในสหรัฐฯ
  2. ความไม่แน่นอนทางการเมืองระหว่างประเทศ
  3. โอกาสของภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession)

ซึ่งปัจจัยสำคัญทั้ง 3 จะมีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลและส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Credit Spread) โดยตรง และ (4) ทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับเงินบาท ซึ่งจะเป็นส่วนเสริมของผลตอบแทนของกองทุนในรูปของเงินบาท

คำแนะนำการลงทุน แม้ในช่วงที่ผ่านผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลจะปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้การลงทุนในตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนติดลบในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา แต่ยังคงแนะนำให้ถือครองกองทุน B-DYNAMIC BOND ไว้เป็นส่วนหนึ่งของพอร์ตการลงทุน เนื่องจากระดับของดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ในระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008 และทิศทางของดอกเบี้ยที่มีโอกาสปรับตัวลดลงทำให้มีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแม้จะช้ากว่าที่เคยคาดไว้ โดยผู้จัดการกองทุนยังคงมีมุมมองที่จะรักษาระดับของ Portfolio Duration ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ประโยชน์จากระดับของอัตราดอกเบี้ยที่สูงเมื่อเทียบกับความเสี่ยงด้านต่างๆ ทั้งในเรื่องของ Duration และอัตราแลกเปลี่ยน และในปัจจุบันเป็นโอกาสที่ดีที่จะยังคงรักษาระดับการลงทุนในตราสารหนี้ไว้ นอกจากนี้กองทุนตราสารหนี้จะเป็นการลงทุนที่ช่วยลดความเสี่ยงในกรณีที่เศรษฐกิจในปี 2024 ชะลอตัวกว่าที่คาดได้ด้วย   

BBLAM แนะนำกองทุน

กองทุนลงทุนตราสารหนี้เน้นยืดหยุ่น : B-DYNAMIC BOND และ กองทุนลดหย่อนภาษี : B-DYNAMICRMF และ  B-DYNAMICSSF 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.bblam.co.th/bualuang-insights/bblam-investment-insights/13-17-2023-2