วัตถุดิบโลกเสี่ยงขาดแคลนปีหน้า ความแห้งแล้ง และเอลนีโญยังกดดันการผลิตครึ่งปีแรก

วัตถุดิบโลกเสี่ยงขาดแคลนปีหน้า ความแห้งแล้ง และเอลนีโญยังกดดันการผลิตครึ่งปีแรก

ราคาอาหารที่สูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ชาวนาทั่วโลกหันมาปลูกธัญพืชและพืชน้ำมันมากขึ้น แต่ผู้บริโภคก็ยังสุ่มเสี่ยงต่อการขาดแคลนทรัพยากรอาหารในปี 2567 โดยมีสาเหตุมาจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ข้อบังคับการส่งออกที่เข้มงวดขึ้น รวมถึงคำสั่งผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพให้สูงขึ้น

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ราคาข้าวสาลี ข้าวโพด และถั่วเหลืองที่ดีขึ้นมาหลายปี กำลังตกต่ำลงในปีนี้ จากปัญหาคอขวดในทะเลแดงที่คลี่คลาย และความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกจะถดถอย แม้ว่าราคาของสินค้าจะยังมีความไม่มั่นคงก็ตาม

Ole Houe ผู้อำนวยการการให้คำปรึกษาจาก IKON Commodities ซึ่งเป็นโบรกเกอร์ทางด้านการเกษตรในประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า ภาพรวมราคาของธัญพืช ซึ่งเป็นพืชผลที่จำเป็นหลายชนิดจากแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ เติบโตขึ้นในปี 2566 แต่ถึงอย่างนั้นความกังวลก็ยังไม่หมดไป

คาดการณ์จาก IKON ระบุว่า ประเทศบราซิลจะปลูกข้าวโพดได้น้อยลงจากปรากฏการณ์เอลนีโญ คาดว่าสภาพอากาศจะแปรปรวนไปจนถึงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ในขณะที่ ประเทศจีนสร้างความตกตะลึงโดยการกว้านซื้อข้าวสาลีและข้าวโพดจากตลาดนานาชาติ

ปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งสร้างภาวะความแห้งแล้งให้กับภูมิภาคส่วนใหญ่ในเอเชียในปีนี้ ได้รับการคาดการณ์ว่าจะดำเนินต่อไปถึงครึ่งแรกของปี 2567 ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงด้านเสบียงข้าวสาร ข้าวสาลี น้ำมันปาล์ม และผลผลิตอื่น ๆ ทั้งจากผู้ผลิตเพื่อส่งออกและนำเข้า

นักธุรกิจและภาครัฐคาดว่า ผลผลิตข้าวสารจากทวีปเอเชียในครึ่งแรกของปี 2567 จะตกต่ำลง เนื่องจากสภาวะอากาศที่แห้งและปริมาณน้ำในเขื่อนที่ลดลงจะส่งผลต่อผลผลิต

เสบียงข้าวสารของโลกในปีนี้ได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลให้อินเดียต้องหยุดการขนส่งสินค้าทางเรือ ในขณะที่ธัญพืชอื่น ๆ มีราคาต่ำลง ราคาข้าวสารกลับพุ่งสูงขึ้นแตะราคาที่สูงที่สุดในรอบ 15 ปี โดยจุดส่งออกสินค้าบางจุดในเอเชียอ้างว่ามีราคาเพิ่มถึง 40-45%

การเก็บเกี่ยวข้าวสาลีครั้งต่อไปของอินเดียได้รับผลกระทบจากการขาดความชุ่มชื้น ซึ่งอาจส่งผลให้อินเดียต้องมองหาการนำเข้าข้าวสาลี โดยจะเป็นการนำเข้าครั้งแรกในรอบ 6 ปี เนื่องจากภาวะขาดแคลนสินค้าคงคลังภายในประเทศตกต่ำที่สุดในรอบ 7 ปี

ในเดือนเมษายน 2567 ออสเตรเลียอาจจำเป็นต้องปลูกพืชผลในดินที่แห้งแล้ง เนื่องจากความร้อนซึ่งส่งผลต่อเนื่องเป็นเดือน ๆ ทำให้ผลผลิตลดน้อยลง โดยอาจส่งผลให้ผู้นำเข้าอย่างจีนและอินโดนีเซียมองหาผู้ส่งออกข้าวสาลีรายอื่นในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเขตทะเลดำ

ที่มา: รอยเตอร์