สภาเศรษฐกิจโลกชี้ในปี 2030 จะมีเศษอาหารทิ้งกว่า 2,000 ล้านตัน

สภาเศรษฐกิจโลกชี้ในปี 2030 จะมีเศษอาหารทิ้งกว่า 2,000 ล้านตัน

องค์กรสหประชาชาติ ตั้งเป้าลดการสูญเสียอาหารหรือเศษอาหารครึ่งหนึ่งในปี 2030 แต่ บอสตัน คอลซัลติ้ง กรุ๊ป หรือ BCG ศึกษาพบว่า ถ้าแนวโน้มพฤติกรรมที่เป็นอยู่ในปัจจุบันยังเป็นต่อไป จะเพิ่มเศษอาหารเป็น 2,100 ล้านตัน ในปี 2030 คิดเป็นมูลค่าเงินที่สูญเสีย 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

สภาเศรษฐกิจโลก หรือ เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม นำเสนอรายงานว่า ในปี 2030 เศษอาหารจะเพิ่มขึ้น 1 ใน 3 จากปัจจุบัน หรือมีมากกว่า 2,000 ล้านตันที่ถูกทิ้งลงถังขยะ เป็นสัญญาณเตือนวิกฤติที่มาพร้อมกับการเติบโตของประชากรโลกและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประเทศกำลังพัฒนา

ทั้งนี้ องค์กรสหประชาชาติ ตั้งเป้าลดการสูญเสียอาหารหรือเศษอาหารครึ่งหนึ่งในปี 2030 แต่ บอสตัน คอลซัลติ้ง กรุ๊ป หรือ BCG ศึกษาพบว่า ถ้าแนวโน้มพฤติกรรมที่เป็นอยู่ในปัจจุบันยังเป็นต่อไป จะเพิ่มเศษอาหารเป็น 2,100 ล้านตัน ในปี 2030 คิดเป็นมูลค่าเงินที่สูญเสีย 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

Esben Hegnsholt หนึ่งในผู้ร่วมศึกษาเรื่องนี้ ชี้ว่า ประเด็นเศษอาหารเป็นวิกฤติระดับโลก โดยปริมาณขยะและผลกระทบที่เกิดขึ้นทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นน่าห่วง เพราะการต่อสู้เรื่องอาหารที่สูญเสียไปหรือกลายเป็นขยะ ก็เหมือนกับการต่อสู้กับปัญหาความหิวโหย ยากจน และภาวะโลกร้อน

จากสถิติพบว่า 1 ใน 3 ของอาหารในโลก ถูกทิ้งทุกปี ปัจจุบันเรามีขยะที่เกิดจากอาหาร 1,600 ล้านตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าเงินที่สูญเสียไป 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเบื้องต้นพบว่า ขยะครัวเรือนจะเพิ่มขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว จากการที่ผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ยังพอมีทางลดการสูญเสียจากเศษอาหารได้เกือบ 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ผ่าน 5 แนวทาง ได้แก่ เพิ่มความตระหนักในผู้บริโภค มีกฎระเบียบเข้มแข็ง เพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทาน และทำงานร่วมกันในห่วงโซ่การผลิตอาหาร

Liz Goodwin ผู้อำนวยการ โครงการเกี่ยวกับการสูญเสียอาหารและขยะ ของสถาบันทรัพยากรโลก กล่าวว่า ประเด็นที่เชื่อมโยงกันและนำมาสู่การสูญเสียอาหารที่เกิดขึ้นก็มาจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่าอาหารในยุคนี้ราคาถูกลงมาก โดยในพื้นที่เมืองคนต้องการซื้ออาหารรับประทานมากขึ้นเพื่อความสะดวกสบาย ประกอบกับคนรุ่นใหม่ขาดทักษะในการประกอบอาหารเอง