ส่งออกไทยเดือนพ.ย.อยู่ที่ 21,237 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. 21,758 ล้านดอลลาร์ฯ) หดตัว -0.95% YoY (prev 8.7 % YoY)

ส่งออกไทยเดือนพ.ย.อยู่ที่ 21,237 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. 21,758 ล้านดอลลาร์ฯ) หดตัว -0.95% YoY (prev 8.7 % YoY)

BF Economic Research

  • ส่งออกไทยเดือนพ.ย.อยู่ที่ 21,237 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. 21,758 ล้านดอลลาร์ฯ) หดตัว -0.95% YoY (prev 8.7 % YoY) หดตัวเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนก.พ. 2017
  • นำเข้าไทยเดือนพ.ย.อยู่ที่ 22,415 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. 22,038 ล้านดอลลาร์ฯ) ขยายตัว 14.66% YoY (prev. 11.20% YoY)
  • ดุลการค้าเดือนพ.ย. ขาดดุล -1,177.8 ล้านดอลลาร์ฯ (prev. -279.6 ล้านดอลลาร์ฯ)
  • YTD (ตัวเลข 11 เดือน) ส่งออกไทยอยู่ที่ 232,725.0 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 7.29% AoA ส่วนนำเข้าไทยอยู่ที่ 231,343.9 ล้านดอลลาร์ฯขยายตัว 14.77% AoA ทำให้ดุลการค้า 11 เดือนเกินดุล 1,381.1 ล้านดอลลาร์ฯ

ในรายสินค้า

กลุ่มเกษตรหดตัว -8.4% YoY (prev. 12.2% YoY, YTD 3.0% YoY) โดยสินค้าที่หดตัวแรงได้แก่ ข้าว (-22.4% Val, -31.2% Vol) ยาง (-25.0% Val, -14.4% Vol) และน้ำตาล (-32.0% Val)

กลุ่มอุตสาหกรรมหดตัว -0.4% YoY (prev. 6.8% YoY, YTD 7.1% YoY) โดยสินค้าที่หดตัวแรงได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ (-9.5% YoY, prev. -0.3% YoY) และกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน ที่ติดลบต่อเนื่องเป็นเวลาสามเดือน โดยในเดือนพ.ย.หดตัวที่ -5.6% YoY ส่วนกลุ่มสินค้าที่ยังขยายตัวได้แก่ พลาสติก, วัสดุก่อสร้าง,และผลิตภัณฑ์ยาง โดยภาพรวมโมเมนตัมชะลอลง

ในรายประเทศ

การส่งออกหดตัวในหลายตลาดเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยการส่งออกไปยังตลาดหลักยังขยายตัว 5.3% YoY ซึ่งการส่งออกไปสหรัฐฯ ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยขยายตัว 11.9% (YTD 5.8% ) YoY ตลาดญี่ปุ่นขยายตัวต่อเนื่องที่ 4.3% YoY (YTD 14.0%) อย่างไรก็ตามการส่งออกไปสหภาพยุโรปหดตัว -2.0 % YoY (YTD 5.8%) ขณะที่การส่งออกไปตลาดศักยภาพสูงหดตัว -1.7% YoY หดตัวในเกือบทุกตลาดโดยเฉพาะอาเซียน-5 (-4.3% YoY) เอเชียใต้ (-7.6% YoY) ฮ่องกง (-11.1% YoY) เกาหลีใต้ (-1.8% YoY) และไต้หวัน (-3.0% YoY) ส่วนการส่งออกไปจีนหดตัวที่ -8.9% YoY (YTD 2.4%)

Comment จากกระทรวงพาณิชย์

  • กระทรวงพาณิชย์พร้อมผลักดันการส่งออกในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2018 ทั้งในรูปแบบออนไลน์ และออฟไลน์ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย 8% (เดือนธ.ค.ต้องทำส่งออกให้ได้ 22840.58 ล้านดอลลาร์ฯ) โดยกระทรวงพาณิชย์ได้เล็งเห็นถึงความสาคัญของการขยายตัวของการส่งออกในประเทศกลุ่มอาเซียน และ CLMV รวมถึงอินเดียมากขึ้น ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะใช้โอกาสในฐานะประธานอาเซียนในปีหน้า ผลักดันการค้าอาเซียนให้เติบโตไปพร้อมๆกัน
  • การพักใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนเป็นเวลา 90 วัน จะช่วยให้บรรยากาศของการค้าโลกดีขึ้น และช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของผู้ส่งออกกลับมาได้ในระยะสั้น

Implication

ตัวเลขส่งออกใน Absolute Term ยังดูดีกล่าวคือยังยืนเหนือ 2 หมื่นล้านดอลลาร์ฯได้ แต่เนื่องจากช่วงเดียวกันปีก่อนฐานค่อนข้างสูงที่ 21,440 ล้านดอลลาร์ฯ จึงทำให้ส่งออกเดือนพ.ย.นี้ติดลบ YoY คาดว่าตัวเลขเดือนธ.ค.น่าจะเห็นตัวเลข Growth% YoY ปิดบวกได้เล็กน้อย แต่มูลค่าส่งออกเดือนธ.ค.ไม่น่าจะทะยานไปถึงระดับ 22,000 ล้านดอลลาร์ฯได้ เนื่องจากช่วงเดือนธ.ค. เป็นช่วงวันหยุดยาว ออเดอร์น่าจะปิดไปตั้งแต่เดือนพ.ย. แล้ว มองไปข้างหน้าปี 2019 น่าจะเจอ Challenge เรื่องฐานสูงทั้งปี Growth ของส่งออกปี 2019 ไม่น่าจะออกมาสูงเท่าปี 2018