GDP ไทยไตรมาส 4/2018 ขยายตัว 3.7% ทั้งปี 4.1%

GDP ไทยไตรมาส 4/2018 ขยายตัว 3.7% ทั้งปี 4.1%

BF Economic Research

GDP ไทยไตรมาส 4/2018 ขยายตัว +3.7% YoY (prev. +3.3% YoY) หรือเมื่อเทียบรายไตรมาสขยายตัว +0.8% QoQ sa พลิกกลับมาบวกจากไตรมาสก่อนหน้าที่ -0.3% QoQ sa ทำให้ GDP ทั้งปี 2018 ขยายตัวที่ +4.1% จากปีก่อนที่ +3.9% และสูงเหนือค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ +3.1%

ในด้านการใช้จ่าย

  • การบริโภคภาคเอกชน (55% ของ GDP) ขยายตัว +5.3% YoY จากไตรมาก่อนที่ +5.2% YoY หนุนโดยการใช้สินเชื่อส่วนบุคคล การดำเนินมาตรการดูแลผู้มีรายได้น้อย และยอดขายรถยนต์
  • การลงทุน (25% ของ GDP) ขยายตัว +4.2% YoY จากไตรมาสก่อนหน้าที่ +3.9% YoY หนุนจากการลงทุนภาคเอกชนเป็นหลัก ที่ขยายตัว +5.5% YoY (จากไตรมาสก่อนหน้า +3.8% YoY ) จากการก่อสร้างในต่างจังหวัดและยอดซื้อเครื่องจักรจาก  1) การก่อสร้างที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาล และในเขตอบต. ขยายตัวต่อเนื่องแต่ในกทม.และปริมณฑลหดตัว และ 2) การก่อสร้างรถไฟฟ้า (เป็นโครงการฯ ร่วมทุนกับเอกชน PPP) 3 สาย ได้แก่ สายสีชมพู (ช่วง แคราย-มีนบุรี) สายสี เหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) และสายสีทอง (ช่วงธนบุรี-คลองสาน)

การลงทุนภาครัฐหดตัว -0.1% YoY จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว +4.2% YoY เป็นผลจากงบเบิกจ่ายลงทุนภาครัฐไตรมาสนี้ลดลง และในไตรมาสนี้ไม่มีการนำเข้าเครื่องบินเพื่อการพาณิชย์ของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)

  • การส่งออกค่อยฟื้นตัว ส่วนการนำเข้าชะลอลง โดย การส่งออกขยายตัว +0.8% YoY ปรับตัวดีขึ้นจากที่หดตัว  -0.5% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า โดย สินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวตามการส่งออกสินค้าสำคัญ เช่น สินค้าในกลุ่มโลหะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นต้น รวมทั้งสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรซึ่งขยายตัวตามการส่งออกน้ำตาล เนื่องจากอุปทานในตลาดโลกมีปริมาณสูงส่งผลให้ราคาตกต่ำ ผู้นำเข้าจึงเร่งการนำเข้าเพิ่มขึ้น แต่กรณีพิพาทระหว่างสหรัฐฯ และจีนมีผลให้การส่งออกเครื่องซักผ้า Solar Cell และแผงวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ถูกกระทบ

การนำเข้า +4.5% YoY จากไตรมาสก่อนหน้าที่ +9.9% YoY สินค้าวัตถุดิบ อาทิ น้ำมันดิบ และสินค้ากลุ่มโลหะ ขยายตัวตามการผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวเร่งขึ้น การนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์เพิ่มขึ้นตามการผลิต รถยนต์ในประเทศที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวสอดคล้องกับอุปสงค์จากภาคครัวเรือนฯ

ในด้านการผลิต

ภาคเกษตรขยายตัว +1.4% YoY ชะลอลงจาก +2.7% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วน การผลิตภาคนอกเกษตรขยายตัว +4.0% YoY จาก +3.2% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า 

  • ในภาคเกษตร (5% ของ GDP) การประมงหดตัวต่อเนื่องที่ -2.5% YoY จาก -3.0% YoY จากความต้องการจากต่างชาติลดลง
  • ในภาคนอกเกษตร (95% ของ GDP) สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว +3.3% YoY เร่งตัวขึ้นจากที่ขยายตัว +1.6% YoY ในไตรมาสก่อน เป็นการขยายตัวในการผลิตเพื่อตอบสนองทั้งอุปสงค์ในประเทศ และการส่งออก โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเบาเร่งตัวขึ้นและอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยีขยายตัวต่อเนื่อง

สาขาก่อสร้างชะลอ +3.4% YoY จาก +4.5% YoY ไตรมาสก่อนหน้า เป็นการชะลอลงทั้งการก่อสร้างภาครัฐและภาคเอกชน

การก่อสร้างเอกชนชะลอตัวลงในด้านก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ขณะที่การก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม และการก่อสร้างอาคาร เพื่อการพาณิชย์หดตัว ในรายพื้นที่การก่อสร้างที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพและปริมณฑลหดตัว ส่วน การก่อสร้างที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาลและเขตอบต. ยังขยายตัวต่อเนื่อง เป็นที่น่าสังเกตว่าในไตรมาสนี้พื้นที่ขออนุญาตก่อสร้างคอนโดมิเนียมและที่อยู่อาศัยหดตัวเกือบทุกประเภท

การก่อสร้างอื่นๆ ยังคงขยายตัวดีอย่างต่อเนื่องจากการก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย ได้แก่ สายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) สายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) และสายสีทอง (ช่วงธนบุรี-คลองสาน) สำหรับการก่อสร้างของภาครัฐในไตรมาสนี้ชะลอตัวลงจาก การก่อสร้างของรัฐบาลที่หดตัวและการก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจที่ชะลอลง โดยรัฐวิสาหกิจในไตรมาสนี้ไม่มีการก่อสร้างในโครงการใหม่ คงมีเฉพาะการก่อสร้างจากโครงการเดิมต่อเนื่อง เช่น โครงการก่อสร้างของการไฟฟ้านครหลวง โครงการระบบส่งพลังงานไฟฟ้าและโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรีของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นต้น ส่วนการก่อสร้างรัฐบาลหดตัวในไตรมาสนี้

สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัว +5.3% YoY เร่งขึ้นจาก +4.1% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นการเร่งตัวขึ้นทั้งบริการโรงแรมและบริการภัตตาคาร โดยบริการ โรงแรมขยายตัว +5.6% YoY บริการภัตตาคารขยายตัว +5.2% YoY โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลัก จากด้านการท่องเที่ยวทั้งคนไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศ

ในด้านการใช้จ่าย

  • การบริโภคภาคเอกชน (55% ของ GDP) ขยายตัว +5.3% YoY จากไตรมาก่อนที่ +5.2% YoY หนุนโดยการใช้สินเชื่อส่วนบุคคล การดำเนินมาตรการดูแลผู้มีรายได้น้อย และยอดขายรถยนต์
  • การลงทุน (25% ของ GDP) ขยายตัว +4.2% YoY จากไตรมาสก่อนหน้าที่ +3.9% YoY หนุนจากการลงทุนภาคเอกชนเป็นหลัก ที่ขยายตัว +5.5% YoY (จากไตรมาสก่อนหน้า +3.8% YoY ) จากการก่อสร้างในต่างจังหวัดและยอดซื้อเครื่องจักรจาก 1) การก่อสร้างที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาล และในเขตอบต. ขยายตัวต่อเนื่องแต่ในกทมและปริมณฑลหดตัว ,และ 2) การก่อสร้างรถไฟฟ้า (เป็นโครงการฯ ร่วมทุนกับเอกชน PPP) 3 สาย ได้แก่ สายสีชมพู (ช่วง แคราย-มีนบุรี) สายสี เหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) และสายสีทอง (ช่วงธนบุรี-คลองสาน)

การลงทุนภาครัฐหดตัว -0.1% YoY จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว +4.2% YoY เป็นผลจากงบเบิกจ่ายลงทุนภาครัฐไตรมาสนี้ลดลง และในไตรมาสนี้ไม่มีการนำเข้าเครื่องบินเพื่อการพาณิชย์ของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)

  • การส่งออกค่อยฟื้นตัว ส่วนการนำเข้าชะลอลง โดย การส่งออกขยายตัว +8% YoY ปรับตัวดีขึ้นจากที่หดตัว -0.5% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า โดย สินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวตามการส่งออกสินค้าสำคัญ เช่น สินค้าในกลุ่มโลหะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นต้น รวมทั้งสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรซึ่งขยายตัวตามการส่งออกน้ำตาล เนื่องจากอุปทานในตลาดโลกมีปริมาณสูงส่งผลให้ราคาตกต่ำ ผู้นำเข้าจึงเร่งการนำเข้าเพิ่มขึ้น แต่กรณีพิพาทระหว่างสหรัฐฯและจีนมีผลให้การส่งออกเครื่องซักผ้า Solar Cell และแผงวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ถูกกระทบ

การนำเข้า +4.5% YoY จากไตรมาสก่อนหน้าที่ +9.9% YoY สินค้าวัตถุดิบ อาทิ น้ำมันดิบ และสินค้ากลุ่มโลหะ ขยายตัวตามการผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวเร่งขึ้น การนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์เพิ่มขึ้นตามการผลิต รถยนต์ในประเทศที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวสอดคล้องกับอุปสงค์จากภาคครัวเรือนฯ

ในด้านการผลิต

ภาคเกษตรขยายตัว +1.4% YoY ชะลอลงจาก +2.7% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วน การผลิตภาคนอกเกษตรขยายตัว +4.0% YoY จาก +3.2% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า

  • ในภาคเกษตร (5% ของ GDP) การประมงหดตัวต่อเนื่องที่ -2.5% YoY จาก -3.0% YoY จากความต้องการจากต่างชาติลดลง
  • ในภาคนอกเกษตร (95% ของ GDP) สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว +3.3% YoY เร่งตัวขึ้นจากที่ขยายตัว +1.6% YoY ในไตรมาสก่อน เป็นการขยายตัวในการผลิตเพื่อตอบสนองทั้งอุปสงค์ในประเทศ และการส่งออก โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเบาเร่งตัวขึ้นและอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยีขยายตัวต่อเนื่อง

สาขาก่อสร้างชะลอ +3.4% YoY จาก +4.5% YoY ไตรมาสก่อนหน้า เป็นการชะลอลงทั้งการก่อสร้างภาครัฐและภาคเอกชน

การก่อสร้างเอกชนชะลอตัวลงในด้านก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ขณะที่การก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม และการก่อสร้างอาคาร เพื่อการพาณิชย์หดตัว ในรายพื้นที่การก่อสร้างที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพและปริมณฑลหดตัว ส่วน การก่อสร้างที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาลและเขตอบต. ยังขยายตัวต่อเนื่อง เป็นที่น่าสังเกตว่าในไตรมาสนี้พื้นที่ขออนุญาตก่อสร้างคอนโดมิเนียมและที่อยู่อาศัยหดตัวเกือบทุกประเภท

การก่อสร้างอื่นๆ ยังคงขยายตัวดีอย่างต่อเนื่องจากการก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย ได้แก่ สายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) สายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) และสายสีทอง (ช่วงธนบุรี-คลองสาน) สำหรับการก่อสร้างของภาครัฐในไตรมาสนี้ชะลอตัวลงจาก การก่อสร้างของรัฐบาลที่หดตัวและการก่อสร้างของรัฐวิสาหกิจที่ชะลอลง โดยรัฐวิสาหกิจในไตรมาสนี้ไม่มีการก่อสร้างในโครงการใหม่ คงมีเฉพาะการก่อสร้างจากโครงการเดิมต่อเนื่อง เช่น โครงการก่อสร้างของการไฟฟ้านครหลวง, โครงการระบบส่งพลังงานไฟฟ้าและโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ,โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรีของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นต้น ส่วนการก่อสร้างรัฐบาลหดตัวในไตรมาสนี้

สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัว +5.3% YoY เร่งขึ้นจาก +4.1% YoY ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นการเร่งตัวขึ้นทั้งบริการโรงแรมและบริการภัตตาคาร โดยบริการ โรงแรมขยายตัว +5.6% YoY บริการภัตตาคารขยายตัว +5.2% YoY โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลัก จากด้านการท่องเที่ยวทั้งคนไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศ