กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นญี่ปุ่น (B-NIPPON)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นญี่ปุ่น (B-NIPPON)

สรุปประเด็นสำคัญทางเศรษฐกิจญี่ปุ่น

เศรษฐกิจญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 4 ปี 2018 จากแรงหนุนของค่าใช้จ่ายด้านเงินลงทุนของธุรกิจและการจับจ่ายของผู้บริโภคที่ฟื้นตัวพร้อมกัน ภายหลังจากที่ประเทศประสบกับภัยธรรมชาติ ทั้งน้ำท่วม พายุไต้ฝุ่นและแผ่นดินไหวทางตอนเหนือของฮอกไกโด ระหว่างเดือน ก.ค.-ก.ย. 2018 ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับสนามบิน และระบบขนส่งทางภาคตะวันออกอยู่ไม่น้อย

เงินลงทุนในสินค้าทุน เพิ่มขึ้น +2.40% ไตรมาสที่ผ่านมา (ต.ค.-ธ.ค.2018) เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าซึ่งลดลง -2.70% จึงเป็นแรงส่งให้เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสล่าสุด หลายธุรกิจพร้อมใจกันเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านเงินลงทุนไปกับการซื้อเครื่องจักรในภาคการผลิตและเครื่องจักรขนาดใหญ่ในภาคการก่อสร้าง

ด้านการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งมีแรงขับเคลื่อนเป็นอันดับสองให้กับ GDP รองจากค่าใช้จ่ายด้านเงินลงทุน และมีสัดส่วนประมาณ 60% ของขนาดเศรษฐกิจนั้นเพิ่มขึ้น 0.6% (ต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ 0.8%) โดยการบริโภคที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่นั้นมาจากค่าใช้จ่ายโรงแรมที่พักและค่าทานข้าวนอกบ้านของชาวญี่ปุ่นเอง ซึ่งก็เป็นผลจากฐานที่ต่ำในช่วงเกิดภัยธรรมชาติระหว่างเดือน ก.ค.-ก.ย. 2018

เศรษฐกิจในเดือน ม.ค.-มี.ค. 2019 คาดว่าจะเติบโตไม่มาก ยอดส่งออก/นำเข้าสินค้าที่ขยายตัว 0.90% ในไตรมาสล่าสุดนั้น ยังคงชะลอตัวในปีนี้ หากสหรัฐฯ-จีนยังไม่สามารถแก้ปัญหาขัดแย้งทางการค้าได้ ในกรณีที่ปัญหาการค้าคาราคาซัง แนวโน้มที่บริษัทจดทะเบียนของญี่ปุ่นจะชะลอเงินลงทุนในสินค้าทุนนั้นเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกชะลอตัว โดยเฉพาะสินค้าในหมวดไอทีที่ส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะจีน จะลดลงจากปัญหาการค้า ประกอบกับยังมีอีกปัจจัยเสี่ยงหนึ่งคือการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 8% เป็น 10% ในปีนี้

Source: Tokai Tokyo Research Institute

สรุปภาวะตลาดและมุมมองการลงทุน

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น (TOPIX Index) ร่วงลง -17.80% ไตรมาส 4 ปี 2018 โดยเป็นการร่วงลงในเดือน ธ.ค. 2018 เพียงเดือนเดียวถึง -10% ซึ่งลดลงไปพร้อมๆ กับหุ้นส่วนใหญ่ในตลาดโลก จาก

  1. ความกังวลด้านผลพวงของสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน
  2. ระดับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีที่แตะระดับ 3.20%
  3. ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มโกลบอลเทคโนโลยีที่ออกมาต่ำกว่าคาด
  4. การจับกุมตัวผู้บริหารระดับสูงของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์สื่อสาร ชื่อ หัวเว่ย

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production Index) ออกมาน่าผิดหวัง โดยลดลง -0.4% (mom) ต่อเนื่องจากเดือนก่อน ภัยธรรมชาติเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ตัวเลขในเดือนดังกล่าวออกมาไม่ดี ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงมหภาคที่รุมเร้า แต่ยอดค้าปลีก (Retail sales) ยังทรงตัวโดยเพิ่มขึ้น +1.4% (yoy) ในเดือน พ.ย. 2018 มองไปข้างหน้าในปีนี้ รัฐบาลมีแผนเพิ่มภาษีการบริโภค (ในเดือน ต.ค. 2019) ไปพร้อมกับการให้สิทธิยกเว้นภาษีบางรายการรวมถึงให้เงินสนับสนุนธุรกรรมไร้เงินสดเพื่อบรรเทาผลกระทบเชิงลบจากการปรับขึ้นภาษีการบริโภค

สำหรับมุมมองด้านการลงทุนต่อตลาดหุ้น กองทุนหลักบอกว่า ขึ้นอยู่กับมุมมองของนักลงทุนต่อผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนในปีนี้ เท่าที่พบผู้บริหารบริษัทส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นยังมีมุมมองไม่สู้ดีนักในอุปสงค์ต่อสินค้า บริการ และระดับสินค้าคงคลัง ซึ่งพบในแทบทุกกลุ่มอุตสาหกรรม อาทิ สมาร์ทโฟน รถยนต์ และสินค้าทุน

แม้ว่าภาพรวมที่กล่าวมาจะไม่สู้ดีนัก แต่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีปัจจัยบวก คือ ระดับกำไรบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ที่เติบโตได้ 7% ต่อปี(สำหรับรอบปีบัญชีเดือน เม.ย. 2018 – มี.ค. 2019) คาดว่าในปีบัญชีถัดไปจะเติบโตได้ 9% ต่อปี

การปรับตัวลดลงของดัชนีในช่วงที่ผ่านมา ทำให้หุ้นญี่ปุ่นซื้อขาย ณ ปัจจุบัน ระดับ FW Earning yield 7.6% Price-to-book ratio 1.2 x Dividend yield 2.4% (เทียบกับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น 0%) การลดลงของดัชนีตลาดทำให้ระดับ Price-to-book ratio เข้าใกล้ระดับต่ำสุดในเดือนก.พ. 2016 ที่ 1.0 x ดังนั้นเมื่อพิจารณามุมมองในเชิงระดับมูลค่า Valuation ความเสี่ยงขาลงค่อนข้างจำกัด รวมถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่กระทำมาอย่างต่อเนื่องก็น่าจะปรับขึ้นไปมากกว่านี้ได้อีกไม่มากนัก และเมื่อมองโครงสร้างทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนญี่ปุ่นก็ถือว่าแข็งแกร่ง งบการเงินมีเงินสดมาก แข็งแกร่งพอที่จะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยรอบใหม่ได้อย่างไม่ยากเย็น

Source: Nomura Asset Management, January 2019

ตาราง1: แสดงรายชื่อหลักทรัพย์ลงทุน 10 อันดับแรกของกองทุนหลัก

ตาราง2: แสดงรายชื่อหลักทรัพย์ลงทุน 10 อันดับแรกของกองทุนหลักที่มีน้ำหนักลงทุนมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

ตาราง3: แสดงรายชื่อหลักทรัพย์ลงทุน 10 อันดับแรกของกองทุนหลักที่มีน้ำหนักลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

กลยุทธ์ลงทุนของ Nomura Japan Strategic Value Fund

แสวงหาผลตอบแทนด้วยการลงทุนระยะยาวในหุ้นญี่ปุ่น ด้วยการคัดเลือกบริษัทที่มีมูลค่ากิจการต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน โดยพิจารณาจากความสามารถในการทำกำไรและการบริหารจัดการสินทรัพย์ ทั้งนี้จะมุ่งเน้นยัง

  • บริษัทที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเงินรวมถึงนโยบาย อันจะส่งผลบวกต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
  • บริษัทที่ได้เปรียบในเชิงแข่งขัน มีโอกาสเติบโตจากการปฏิรูปโครงสร้างทางการจัดการ และจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ซึ่งต้องเป็นบริษัทที่มีงบการเงินแข็งแกร่ง และมีความสามารถในการทำกำไรในระดับที่เพียงพอ หากต้องเพิ่มอัตราจ่ายเงินปันผลรวมถึงซื้อหุ้นคืน

กองทุนหลัก (Master Fund)

ชื่อ: Nomura Japan Strategic Value Fund ชนิดหน่วยลงทุน A class

นโยบายการลงทุน: เป็นกองทุนรวมต่างประเทศที่จดทะเบียนในประเทศไอร์แลนด์ มีนโยบายมุ่งเน้นการลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศญี่ปุ่น อนึ่ง กองทุนอาจลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นอกประเทศญี่ปุ่น แต่ดำเนินธุรกิจอยู่ในประเทศญี่ปุ่นได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 30 ของมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมด

วันที่จดทะเบียน: 26 สิงหาคม 2009

ประเทศที่จดทะเบียน: ไอร์แลนด์

สกุลเงิน: JPY

เกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน (Benchmark): Topix (Total Return)

Morningstar Category: Japan Equity

Bloomberg code: NOMJSJA

Fund size: JPY 99,179.2 M

NAV: JPY 18,356 (A Class)

Number of holdings: 133

*ที่มา Nomura Asset Management Singapore Limited ข้อมูลวันที่ 31 ธ.ค. 2018

ผลการดำเนินงานย้อนหลัง ข้อมูลวันที่ 31 ม.ค. 2019