กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ของกองทุนบัวหลวงที่ลงทุนในหุ้น

กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ของกองทุนบัวหลวงที่ลงทุนในหุ้น

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (BERMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเลี้ยงชีพ (IN-RMF)

กองทุนเปิดบัวหลวง Small-Mid Cap เพื่อการเลี้ยงชีพ (B-SM-RMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BSIRIRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 เพื่อการเลี้ยงชีพ (BBASICRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงทศพลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-TOPTENRMF)

 

BBLAM’s 2019 INVESTMENT THEMES  

“รุ่งเรืองด้วยโครงสร้างพื้นฐาน บนสายพานของโลจิสติกส์”

  • ท่าทีที่ผ่อนคลายลงของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมายของตลาด ได้ผลักดันให้สินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก ปรับตัวฟื้นขึ้นได้จากสิ้นปีอย่างมีนัยสำคัญ ตลาดยังได้รับความหวังเชิงบวกมากขึ้นในเดือน ก.พ. ต่อการคงอัตราดอกเบี้ยของ Fed และท่าทีที่อาจจะหยุดการลดสภาพคล่อง (Quantitative Tightening) ลงในปีนี้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสภาพคล่องโดยรวมของระบบการเงิน ขณะที่เรื่องการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ก็มีพัฒนาการไปในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ จะเลื่อนการปรับขึ้นอัตราภาษีกับจีนที่จะมีผลในวันที่ 1 มี.ค. ออกไป ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจโลกที่ออกมานั้น หลายๆภูมิภาค เริ่มแสดงให้เห็นถึงสัญญาณที่ชะลอตัว เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้น ของยูโรโซนและญี่ปุ่นปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และเข้าสู่ภาวะหดตัวครั้งแรกในรอบหลายปี ซึ่งทำให้เกิดความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย อย่างไรก็ตามยังถือว่ามีโอกาสไม่สูง เนื่องจากธนาคารกลางหลักๆต่างก็พร้อมที่ผ่อนปรนการดำเนินนโยบายทางการเงินมากกว่าเดิม ปัจจัยที่จับตาในเดือน มี.ค.มีนาคมนี้ อย่างแรกคือ พัฒนาการเพิ่มเติมของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ทั้งนี้เชื่อว่า สถานการณ์ตึงเครียดทางการค้าระหว่างทั้งสองฝ่าย น่าจะผ่านจุดเลวร้ายที่สุดไปแล้ว และเรื่องที่สองคือ การประชุม FOMC เมื่อวันที่ 19-20 มี.ค. ที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะเห็นแผนการหยุดการลดสภาพคล่องในการประชุมครั้งนี้
  •  ส่วนปัจจัยภายในประเทศ ผลประกอบการไตรมาส 4 ที่ประกาศออกมาโดยรวมค่อนข้างอ่อนแอ ส่วนหนึ่งจากการมีรายการพิเศษ เช่น ผลขาดทุนสต็อกน้ำมันของหุ้นในกลุ่มพลังงาน-ปิโตเคมี การตั้งสำรองค่าใช้จ่ายพนักงานตามกฎหมายใหม่ และการบันทึกค่าใช้จ่ายเพื่อระงับข้อพิพาทกับ CAT ของ DTAC เป็นต้น ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่ออกมา ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ตัวเลข GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.7% เทียบกับ 3.2% ในไตรมาสก่อนหน้า ขับเคลื่อนโดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในปีนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยคาดว่าการบริโภคในประเทศและการลงทุนจะเป็นตัวขับเคลื่อน และอีกปัจจัยสำคัญ คือ การเลือกตั้งวันที่ 24 มี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งจะมีผลต่อความเชื่อมั่นการลงทุนและเสถียรภาพในการดำเนินนโยบายของประเทศต่อไป

มุมมองตลาดหุ้นไทย 

แนวโน้มการลงทุนในปีนี้ยังคงท้าทาย เราเชื่อว่า โอกาสการลงทุนในปีนี้ยังคงมีอยู่ โดยต้องอาศัยความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ เรายังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม ซึ่งจะสามารถผ่านความผันผวนในช่วงสั้น และ

ปัจจัยทั้งบวก/ลบต่อกองทุน

(+)  คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2019 ลงเป็น 3.8% จากครั้งก่อนที่ประมาณการไว้ที่ 4.0% (ซึ่งสอดคล้องกับหลายประเทศทั่วโลกที่ปรับลดลง) แต่ยังมองว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ภาวะการเงินที่ผ่านมาอยู่ในระดับผ่อนคลาย และเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ สภาพคล่องในระบบการเงินอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ในระดับต่ำ ภาคเอกชนยังสามารถระดมทุนได้ต่อเนื่อง โดยสินเชื่อขยายตัวต่อเนื่องทั้งสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่ออุปโภคบริโภค

(+)  ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายการเงินเดิมที่ 2.25-2.5%  และมีการส่งสัญญาณว่าจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ทำให้คาดหวังว่า Fund flow ที่เคยไหลออกจำนวนมากจะเริ่มชะลอตัวตามไปด้วย และกลับมาลงทุนประเทศในเอเชียอีกครั้ง

(+) การเปลี่ยนกฎเกณฑ์ใหม่ของ MSCI EM ที่จะเปลี่ยนมาใช้เกณฑ์ NVDR จะส่งผลให้สัดส่วนการลงทุนในหุ้นไทยของต่างชาติเพิ่มสูงขึ้น โดยเป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในหุ้นไทย ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนหุ้นไทยจาก 2.3% สู่ 2.8% คิดเป็นเม็ดเงินที่จะเข้ามาในหุ้น MSCI Thailand กว่า 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 7.6 หมื่นล้านบาท โดยคาดว่าหุ้นที่ถูกเพิ่มน้ำหนัก และอยู่ใน MSCI Thailand อาจมีแนวโน้มที่นักลงทุนสนใจมากขึ้น

(+/-) ปัจจัยหลักภายในประเทศที่ต้องติดตามคือการเลือกตั้ง ซึ่งนักลงทุนไทยและต่างชาติจะเฝ้ารอผลการเลือกตั้ง เพื่อพิจารณาถึงความมีสเถียรภาพของรัฐบาลชุดใหม่และความต่อเนื่องของนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจทำให้นักลงทุนเลือกชะลอลงทุนออกไปก่อน เพื่อรอผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ

(+/-) ปี 2019 นี้ ต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค ด้วยมูลค่าสูงถึง 9.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลสิ้นสุด ณ วันที่ 26 มี.ค. 2019) หลังจากปี 2018 ขายสุทธิทั้งภูมิภาค 3.15 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นไทยที่ขายสุทธิ 401.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (12,965 ล้านบาท) เพราะกังวลประเด็นการเมือง อย่างไรก็ตาม แรงขายในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2019 ลดลงมาก เมื่อเทียบกับปี 2018 ทั้งปีที่ถูกขายสุทธิสูงถึง 2.87 แสนล้านบาท และคาดหวังว่ามีโอกาสที่ Fund Flow จะไหลกลับมาเข้าตลาดหุ้นไทยหลังเลือกตั้งอีกครั้งเหมือนตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาค

(-) ความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งจากผลกระทบสงครามการค้าที่ยังมีอยู่ แม้จะผ่อนคลายลงแล้ว จากการที่สหรัฐกับจีนหันมาเจรจาประนีประนอมกันตั้งแต่ปลายปี 2018 และปัญหาการเมืองในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ทำให้ต้นปี IMF มีการปรับลด GDP Growth โลกปี 2019-2020 เหลือ 3.5% และ 3.6% ตามลำดับ จากเดิมคาด 3.7% เท่ากันทั้ง 2 ปี

(-) ในระยะสั้น การจัดตั้งรัฐบาลที่ล่าช้าอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ และหากนักลงทุนไม่เห็นความชัดเจนของโฉมหน้ารัฐบาลใหม่และความต่อเนื่องของนโยบายเศรษฐกิจก็อาจตัดสินใจลงทุนช้าออกไป ทำให้เป็นค่าเสียโอกาสของประเทศ

กลยุทธ์การลงทุนของกองทุน

บัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ

ตั้งแต่ต้นปี 2019 (ม.ค.-ก.พ.) ผลตอบแทนของกองทุนบัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นบวกอยู่ที่ 4.95% แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) ติดลบที่ -1.07% โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุดในพอร์ต ได้แก่ พลังงานและสาธารณูปโภค (กลุ่มพลังงานได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและกลุ่มสาธารณูปโภคได้รับอานิสงส์จาก แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยหรือ PDP ของกระทรวงพลังงาน ที่หนุนให้ผู้ประกอบการณ์สร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น) และพาณิชย์ (ความคาดหวังเลือกตั้งรัฐบาลใหม่จะแก้ปัญหาปากท้อง กลุ่มการค้าปลีกจะได้ประโยชน์จากกำลังซื้อที่มากขึ้น) ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พาณิชย์ ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม การแพทย์ เป็นต้น

บัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเลี้ยงชีพ

ตั้งแต่ต้นปี 2019 (ม.ค.-ก.พ.) ผลตอบแทนของกองทุนบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเลี้ยงชีพ สามารถทำได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) ที่ 1.65% โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุดในพอร์ต ได้แก่ พลังงานและสาธารณูปโภค (กลุ่มพลังงานได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและกลุ่มสาธารณูปโภคได้รับอานิสงส์จาก แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยหรือ PDP ของกระทรวงพลังงาน ที่หนุนให้ผู้ประกอบการณ์สร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น) และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ธุรกิจบริการโทรศัพท์มือถือสถานการณ์ต้นทุนจะผ่อนคลายขึ้นเรื่อยๆ) ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น

บัวหลวง Small-Mid Cap เพื่อการเลี้ยงชีพ

ตั้งแต่ต้นปี 2019 (ม.ค.-ก.พ.) ผลตอบแทนของกองทุนบัวหลวง Small-Mid Cap เพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นบวกอยู่ที่ 5.91%แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) ติดลบที่ -0.11% โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุดในพอร์ต ได้แก่ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ราคามีความผันผวน กดดันกลุ่มด้วยประเด็น มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ Loan-To-Value ของธนาคารแห่งประเทศไทย ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะเริ่มใช้ในปี 2020 รวมถึงทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น เป็นต้น) และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ธุรกิจบริการโทรศัพท์มือถือสถานการณ์ต้นทุนที่ผ่อนคลายขึ้นเรื่อยๆ) ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม เงินทุนและหลักทรัพย์ ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การท่องเที่ยวและสันทนาการ ธุรกิจการเกษตร เป็นต้น

บัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาลเพื่อการเลี้ยงชีพ

ตั้งแต่ต้นปี 2019 (ม.ค.-ก.พ.) ผลตอบแทนของบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาลเพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นบวกอยู่ที่ 5.62% แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) ติดลบที่ -0.21% โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุดในพอร์ต ได้แก่ พลังงานและสาธารณูปโภค (กลุ่มพลังงานได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและกลุ่มสาธารณูปโภคได้รับอานิสงส์จาก แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยหรือ PDP ของกระทรวงพลังงาน ที่หนุนให้ผู้ประกอบการณ์สร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น) และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ธุรกิจบริการโทรศัพท์มือถือสถานการณ์ต้นทุนที่ผ่อนคลายขึ้นเรื่อยๆ) ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงานและสาธารณูปโภค เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม ธนาคาร เงินทุนและหลักทรัพย์ เป็นต้น

บัวหลวงปัจจัย 4 เพื่อการเลี้ยงชีพ

ตั้งแต่ต้นปี 2019 (ม.ค.-ก.พ.) ผลตอบแทนของกองทุนบัวหลวงปัจจัย 4 เพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นบวกอยู่ที่ 5.23% แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) ติดลบที่ -1.24% โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุดในพอร์ต ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร (ราคาเนื่อหมู/เนื้อไก่มีแนวโน้มฟื้นตัว จากโรคระบาดในต่างประเทศ อีกทั้งปัจจัยหนุนจากการที่จีนและยุโรป เปิดให้ไทยส่งออกไก่ไปเพิ่มขึ้น) ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงานและสาธารณูปโภค เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม ธนาคาร เงินทุนและหลักทรัพย์ เป็นต้น

บัวหลวงทศพลเพื่อการเลี้ยงชีพ

ตั้งแต่ต้นปี 2019 (ม.ค.-ก.พ.) ผลตอบแทนของกองทุนบัวหลวงทศพลเพื่อการเลี้ยงชีพเป็นบวกอยู่ที่ 4.32% แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) ติดลบที่ -1.70% โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุดในพอร์ต ได้แก่ พลังงานและสาธารณูปโภค (กลุ่มพลังงานได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและกลุ่มสาธารณูปโภคได้รับอานิสงส์จาก แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยหรือ PDP ของกระทรวงพลังงาน ที่หนุนให้ผู้ประกอบการณ์สร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น) และพาณิชย์ (ความคาดหวังเลือกตั้งรัฐบาลใหม่จะแก้ปัญหาปากท้อง กลุ่มการค้าปลีกจะได้ประโยชน์จากกำลังซื้อที่มากขึ้น) ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พาณิชย์ ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงานและสาธารณูปโภค เป็นต้น

ทั้งนี้ การเพิ่มหรือลดน้ำหนักการลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมหรือรายบริษัท จะขึ้นอยู่กับกรอบนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้นๆ ด้วย