กองทุนรวมหุ้นไทยที่ไม่มีนโยบายจ่ายปันผลของกองทุนบัวหลวง

กองทุนรวมหุ้นไทยที่ไม่มีนโยบายจ่ายปันผลของกองทุนบัวหลวง

กองทุนเปิดบัวแก้ว (BKA)

กองทุนเปิดบัวแก้ว 2 (BKA2) 

กองทุนเปิดบัวหลวงธนคม (BTK)

กองทุนเปิดบัวหลวงทศพล (BTP) 

กองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐาน (B-INFRA)

  • หลังจากที่สงครามการค้านั้นทวีความรุนแรงมากขึ้นและภาพรวมเศรษฐกิจโลกเริ่มอ่อนแอลง ธนาคารกลางต่างๆ จึงมีท่าทีที่ผ่อนคลายนโยบายการเงินมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “Policy U-Turn” ของธนาคารกลางสหรัฐ ปัจจัยนี้เป็นสิ่งที่ผลักดันให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี ขณะที่ความกังวลเรื่องสงครามการค้านั้น เริ่มมีพัฒนาการที่ดีขึ้น โดยในการพบกันของประธานธิบดี โดนัล ทรัมป์ และประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ในช่วงของการประชุม G20 ทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงบางส่วนร่วมกันได้ ซึ่งทรัมป์เองก็ไม่ต้องการเพิ่มความเสี่ยงต่อการถดถอยของเศรษฐกิจโลก เนื่องจากอาจจะกระทบกับคะแนนเสียงต่อการเลือกประธานาธิบดีที่จะมีขึ้นในปีหน้า ส่งผลให้เป็นบวกต่อบรรยากาศในการลงทุน
  • ในส่วนของตลาดหุ้นไทยนั้น มีเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทยสุทธิสูงถึง 4.66 หมื่นล้านบาทในเดือน มิ.ย. จากการมองว่าเงินบาทเป็นสกุลเงินที่ปลอดภัยในสถานการณ์ปัจจุบัน แม้ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจและบริษัทจดทะเบียนของไทยจะไม่ได้โตโดดเด่นมากนัก ทำให้ยอดซื้อสุทธิในช่วง 6 เดือนแรกของปีนั้น พลิกกลับมาเป็นบวก ส่งผลให้ SET Index ปรับตัวขึ้น 6.8% ทะลุระดับ 1700 จุดอีกครั้ง ในรอบ 8 เดือน ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆของไทยยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ทั้งการลงทุนภาคเอกชน การส่งออก ท่องเที่ยว และการบริโภคภาคครัวเรือน อย่างไรก็ตาม หลังจากจัดตั้งรัฐบาลได้แล้ว คาดการณ์กันว่าจะได้เห็นมาตราการกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศในเร็วๆนี้ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นภาคการบริโภคและการลงทุน การได้ทีมบริหารประเทศตามระบบรัฐสภา ยังช่วยลดความเสี่ยงทางการเมืองและเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนมากขึ้น ยังรวมถึงการได้นายกรัฐมนตรีคนเดิม ทำให้นโยบายต่างๆ มีความต่อเนื่อง

มุมมองตลาดหุ้นไทย 

แนวโน้มการลงทุนในครึ่งปีหลังยังคงท้าทาย มีโอกาสที่กระแสเงินลงทุนจากต่างชาติจะไหลเข้าต่อเนื่อง แต่การที่เงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป ก็ทำให้เป็นที่จับตามองของหลายๆฝ่าย เช่น ธปท. ได้เริ่มปรับลดวงเงินการออกพันธบัตรระยะสั้น ซึ่งชะลอกระแสเงินลงทุนไหลเข้า โดยเราเชื่อว่า โอกาสการลงทุนในปีนี้ยังคงมีอยู่ โดยปัจจัยที่ต้องติดตามต่อจากนี้ ได้แก่ การประชุม FOMC Meeting ในวันที่ 30-31 ก.ค. โดยตลาดคาดว่าจะลดดอกเบี้ยและตลาดได้ตอบรับไปในราคามากแล้ว พัฒนาการเพิ่มเติมของการเจรจาทางการค้า และ IMF จะมีการทบทวนประมาณการเติบโตของเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) ประจำรอบเดือน ก.ค. เรายังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี ระดับราคาเหมาะสม ซึ่งจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในการลงทุนได้ ทั้งนี้ เรายังคงยึดมั่นต่อความพิถีพิถันในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นรายตัว เพื่อหาหุ้นที่แข็งแรงพอที่จะผ่านปัจจัยความไม่แน่นอนต่างๆ และสามารถแสดงศักยภาพของการเติบโตต่อไปในระยะยาวได้ ภายใต้ราคาที่เหมาะสม

ปัจจัยทั้งบวก/ลบต่อกองทุน

(+) สัญญาณการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของทั้งสหรัฐฯ และยุโรป ดังขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้สะท้อนผ่านถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลาง ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญอย่างเช่นอัตราเงินเฟ้อ ภายใต้สภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้ตลาดการเงินยังอยู่ในภาวะที่ถูกขับเคลื่อนด้วยสภาพคล่องที่ล้นตลาด (Liquidity Driven) ไปต่อเนื่อง

(+) รัฐบาลชุดใหม่จะเริ่มสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ในช่วงปลายเดือน ก.ค. หรือต้น ส.ค.นี้ ทำให้คาดหวังรัฐบาลใหม่จะเดินหน้าออกมาตรการกระตุ้นการบริโภคเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจราวงวด 4Q62 โดยเฉพาะนโยบายกระตุ้นการบริโภคครัวเรือน อาทิ ต่อยอดโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ลดภาษีเพื่อการจับจ่ายใช้สอย เพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ/ผู้พิการ/ผู้ยากไร้ นโยบายมารดาประชารัฐ เป็นต้น

(+) นอกจากนี้การที่รัฐบาลชุดใหม่ที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อภาพลักษณ์ของไทยในสายตานักลงทุนต่างชาติ  และยังถูกคาดหวังว่าจะเห็นความต่อเนื่องของมาตรการที่เกิดมาจากรัฐบาลที่แล้ว เฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ EEC  3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และระยอง (สิทธิลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหลือ 17% จากเดิมขั้นบันไดสูงสุด 35%  สำหรับต่างชาติที่เข้ามาทำงานใน EEC เป็นต้น) และมาตรการที่มิใช่สิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น เพิ่มระยะเวลาการเช่าที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์ในเขต EEC เพิ่มขึ้นเป็นสูงสุด 99 ปี (จากเดิม 50 ปี) น่าจะดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติเข้ามาในประเทศเพิ่มขึ้น

(+/-) ต่างชาติมีมุมมองต่อไทยเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) เนื่องจากมีทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง (ล่าสุด ณ 14 มิ.ย. 2562 เงินสำรองฯของไทยมีมูลค่า 2.12 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเกือบ 10 เท่าจากปี 2540)  และวัฎจักรดอกเบี้ยโลกที่เป็นขาลง หลังจากสหรัฐและยุโรปที่ส่งสัญญาณอาจจะกลับมาลดดอกเบี้ยหรือใช้  QE อีกครั้ง ,การเมืองไทยที่มีความชัดเจน เป็นปัจจัยหนุนให้  Fund Flow ไหลเข้าไทยอย่างเร็วและแรงในช่วงที่ผ่านมาทั้งตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้นไทย

(-) ผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐฯ-ยุโรป การเจรจาเพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาททางการค้าจีน-สหรัฐฯล่าช้า มีความตึงเครียดและตอบโต้ทางการค้าระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ระบบการค้าเสรีของโลกกำลังถูกสั่นคลอนด้วยการขยายตัวของลัทธิกีดกันทางการค้าจะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกโดยรวมชะลอตัวเพิ่มมากขึ้น

(-) ความกังวลต่อการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการเฝ้าระวังเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น เพราะเกรงว่าเงินบาทแข็งค่าเร็วจะกระทบเศรษฐกิจภาพรวม ซึ่งตลาดฯ มองว่ามาตรการดังกล่าวอาจจะกดดันกระแส Fund Flow ต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น

(-) สถานการณ์นักท่องเที่ยวจีนที่ลดจำนวนลงตั้งแต่ปลายปี 2561

กลยุทธ์การลงทุนของกองทุน 

บัวแก้ว และ บัวแก้ว 2

ตั้งแต่ต้นปี 2562 (ม.ค.- มิ.ย.) ผลตอบแทนของกองทุนเปิดบัวแก้วและบัวแก้ว 2 อยู่ที่ 9.26% และ 9.52% ตามลำดับ ในขณะที่เกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ 12.78% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก กลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุด ได้แก่ พลังงานและสาธารณูปโภค (กลุ่มพลังงานได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและกลุ่มสาธารณูปโภคได้รับอานิสงส์จากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยหรือ PDP ของกระทรวงพลังงาน ที่หนุนให้ผู้ประกอบการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น) และพาณิชย์ (ความคาดหวังหลังแต่งตั้งรัฐบาลชุดใหม่ จะแก้ปัญหาปากท้อง โดยใช้นโยบายกระตุ้นการบริโภคครัวเรือน เป็นอย่างแรก ส่วนกลุ่มการค้าปลีกคาดว่าจะได้ประโยชน์จากกำลังซื้อที่มากขึ้น)

ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พาณิชย์ วัสดุก่อสร้าง ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม ธนาคาร ขนส่งและโลจิสติกส์ เป็นต้น

บัวหลวงโครงสร้างพื้นฐาน 

ตั้งแต่ต้นปี 2562 (ม.ค.-มิ.ย.) ผลตอบแทนของกองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานอยู่ที่ 16.00% และเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ 12.77% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก กลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุด ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ธุรกิจบริการโทรศัพท์มือถือสถานการณ์ต้นทุนที่ผ่อนคลายขึ้นเรื่อยๆ) และ พลังงานและสาธารณูปโภค (กลุ่มพลังงานได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและกลุ่มสาธารณูปโภคได้รับอานิสงส์จาก แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยหรือ PDP ของกระทรวงพลังงาน ที่หนุนให้ผู้ประกอบการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น)

ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พลังงานและสาธารณูปโภค ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม ขนส่งและโลจิสติกส์ เป็นต้น

บัวหลวงธนคม

ตั้งแต่ต้นปี 2562 (ม.ค.-มิ.ย.) ผลตอบแทนของกองทุนเปิดบัวหลวงธนคมอยู่ที่ 11.59% และเกณฑ์มาตรฐาน (SET High Dividend 30 Index) อยู่ที่ 12.77% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก กลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุด ได้แก่ เงินทุนและหลักทรัพย์ ความต้องการสินเชื่อขยายตัว โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อยานพาหนะ ส่วนสินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุกนั้น ปรับเพิ่มอย่างช้าๆ ในครึ่งปีแรก ควบคู่ไปกับความคืบหน้าของเมกะโปรเจ็กต์ต่างๆ) และ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ธุรกิจบริการโทรศัพท์มือถือสถานการณ์ต้นทุนที่ผ่อนคลายขึ้นเรื่อยๆ)

ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม ธนาคาร ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม เงินทุนและหลักทรัพย์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ลงเล็กน้อย เป็นต้น

บัวหลวงทศพล

ตั้งแต่ต้นปี 2562 (ม.ค.-มิ.ย.) ผลตอบแทนของกองทุนเปิดบัวหลวงทศพลอยู่ที่ 10.55% และเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ 12.77% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรก กลุ่มอุตสาหกรรมที่บวกมากที่สุด ได้แก่ พลังงานและสาธารณูปโภค (กลุ่มพลังงานได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและกลุ่มสาธารณูปโภคได้รับอานิสงส์จาก แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยหรือ PDP ของกระทรวงพลังงาน ที่หนุนให้ผู้ประกอบการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น) และพาณิชย์ (ความคาดหวังหลังแต่งตั้งรัฐบาลชุดใหม่ จะแก้ปัญหาปากท้อง โดยใช้นโยบายกระตุ้นการบริโภคครัวเรือน เป็นอย่างแรก ส่วนกลุ่มการค้าปลีกคาดว่าจะได้ประโยชน์จากกำลังซื้อที่มากขึ้น)

ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงานและสาธารณูปโภค พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม ขนส่งและโลจิสติกส์ การแพทย์ เป็นต้น

ทั้งนี้ การเพิ่มหรือลดน้ำหนักการลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมหรือรายบริษัท จะขึ้นอยู่กับกรอบนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้นๆ ด้วย