ค่าพีอี หรือ P/E ratio (ตอนจบ)

การพิจารณาว่าหุ้นราคาถูกหรือแพงโดยดูที่ราคาหุ้นอาจไม่เพียงพอ

ตัวอย่าง หุ้นธนาคาร X ราคา 220 บาท หุ้นธนาคาร Y ราคา 200 บาท ดูเหมือนธนาคาร X จะมีราคาแพงกว่า การใช้ค่า P/E จะทำให้เปรียบเทียบได้ดีกว่า หากธนาคาร X มีกำไรต่อหุ้น 22 บาท ส่วนธนาคาร Y เป็น 15 บาท ดังนั้นค่า P/E ของธนาคาร X เท่ากับ 10 ธนาคาร Y เท่ากับ 13.3 แสดงให้เห็นว่ราคาหุ้นธนาคาร X ถูกว่า

การเปรียบเทียบค่า P/E ระหว่างหุ้น ต้องดูปัจจัยอื่นประกอบด้วย

การเปรียบเทียบ ค่า P/E ระหว่างหุ้นในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่แตกต่างกันอาจไม่เหมาะสม เช่น หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคโดยจะมีค่า P/E ต่ำกว่า หุ้นกลุ่มท่องเที่ยว เนื่องจากธุรกิจสาธาณูปโภคส่วนใหญ่มีรายได้และกำไรสม่ำเสมอ แต่ไม่เติบโตมาก ส่วนธุรกิจท่องเที่ยวมีอัตราการเติบโตสูงจากกระแสความนิยมของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ

ดังนั้นเมื่อพิจาณาจากค่า P/E จะทำให้หุ้นกลุ่มท่องเที่ยวมีราคาแพงไม่น่าลงทุน จึงมีการนำเอาอัตราการเติบโตของกำไรมาช่วย โดยคำนวนจาก P/E หารด้วย Growth rate ทำให้เกิดค่า P/E growth ช่วยให้เห็นมูลค่าที่สะท้อนความแตกต่างของธุรกิจหรือบริษัทได้ดีขึ้น

พิจารณาค่า P/E ของหุ้นเทียบกับค่า P/E เฉลี่ยในอดีต

นักลงทุนอาจพิจารณาค่า P/E ของหุ้นเทียบกับค่า P/E เฉลี่ยในอดีต หากค่า P/E สูงกว่าค่าเฉลี่ยมากแสดงให้เห็นว่าราคาหุ้นปัจจุบันอยู่ในภาวะ Overvalue หรือราคาสูงมากกว่าปกติ หากไม่มีแนวโน้มหรือปัจจัยที่ชี้ว่าบริษัทจะสามารถทำกำไรให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด หุ้นนี้อาจยังไม่น่าลงทุน
แต่หากพบว่าค่า P/E ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก นักลงทุนต้องพิจารณาว่าบริษัทมีปัจจัยพื้นฐานใดที่เปลี่ยนแปลงในทางแย่ลง จนทำให้ผลกำไรในอนาคตจะลดลงอย่างมีนัยยะ หากไม่มี ถือว่าหุ้นตัวนี้ยังมีราคาต่ำ ถือว่าน่าลงทุน