เปลี่ยนกลุ่มเล่น (Sector Rotation)

เปลี่ยนกลุ่มเล่น (Sector Rotation)

By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center นักลงทุนที่ใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบจับจังหวะการลงทุน (Marketing timing strategy) จะซื้อหุ้นหรือเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นกลุ่มที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นกลุ่มอื่นในแต่ละช่วงเวลา โดยจะเปลี่ยนกลุ่มหุ้นที่เน้นการลงทุนไปตามรอบหรือวงจรของเศรษฐกิจ เรียกว่า Sector rotation กลยุทธ์การลงทุนดังกล่าวอยู่บนหลักการลงทุนแบบ Top down approach ซึ่งให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจมหภาค โดยแบ่งวงจรเศรษฐกิจเป็น 5 ช่วง ได้แก่ ช่วงเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ควรลงในหุ้น เทคโนโลยี การเงิน สินค้าอุปโภคตามเศรษฐกิจ ช่วงเติบโตเร็ว ควรลงทุนในหุ้น บริการ สินค้าทุน วัสดุพื้นฐาน พลังงาน ช่วงเติบโตสูงสุด ควรลงทุนในหุ้น การแพทย์และยา สินค้าโภคภัณฑ์ ช่วงชะลอตัว ควรลงทุนในหุ้น สินค้าอุปโภคจำเป็น สาธารณูปโภค ช่วงเศรษฐกิจหดตัว ควรลงทุนในหุ้น ขนส่ง การเงิน ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมแต่ละประเภทจะมียอดขาย รายได้ และกำไรที่เติบโตได้ดีแตกต่างกันในแต่ละช่วงของวงจรเศรษฐกิจ การเลือกลงทุนในหุ้นที่สอดคล้องกับวงจรจะทำให้ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นกลุ่มอื่น […]

เช่าหรือเจ้าของ (ตอนจบ)

เช่าหรือเจ้าของ (ตอนจบ)

By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center การลงทุนในกองทุน/ทรัสต์ที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์ในแต่ละประเภท มีแนวทางพิจารณาตัดสินใจลงทุนที่แตกต่างกันไป ในที่นี้จะพิจารณาเฉพาะการลงทุนระยะยาวเพื่อหวังผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล (ไม่ใช่การลงทุนโดยคาดหวังกำไรจากราคาที่สูงขึ้นหรือ Capital gain) กรณีถือกรรมสิทธิ์ ให้พิจารณาจากผลตอบแทนจากเงินปันผล(Dividend Yield) คือเงินปันผลต่อปีที่คาดว่าจะได้รับเทียบกับราคาหน่วยลงทุน หากอัตราปันผลสูงกว่าทางเลือกการลงทุนอื่น (ที่มีระดับความเสี่ยงใกล้เคียงกัน) หรืออยู่ในระดับที่นักลงทุนพึงพอใจ จึงเหมาะต่อการลงทุน โดยสามาถถือลงทุนในระยะยาว 5-10 ปีขึ้นไป เพราะอสังหาริมทรัพย์มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน กรณีสิทธิการเช่า การพิจารณาจะแตกต่างไปเนื่องจากสิทธิในการใช้อสังหาริมทรัพย์มีอายุจำกัด เมื่อหมดอายุสัญญาเช่าแล้ว กองทุน/ทรัสต์จะไม่สามารถหารายได้มาจ่ายเงินปันผล มูลค่ากองทุน/ทรัสต์จึงหมดไป นักลงทุนจะไม่ได้รับเงินลงทุนคืน สิ่งที่ได้รับเป็นเพียงเงินปันผลตลอดอายุสัญญาเช่า ดังนั้นเงินปันผลรวมที่คาดว่าจะได้รับควรจะต้องมากกว่าเงินลงทุน หากจะคำนวนอัตราผลตอบแทนควรใช้วิธีคำนวนแบบ IRR (Internal Rate of Return) เพื่อพิจารณาความคุ้มค่าในการลงทุน สิ่งที่นักลงทุนพึงตระหนักไว้เสมอคือ กองทุน/ทรัสต์อสังหาริมทรัพย์ไม่รับประกันการจ่ายปันผล ถึงแม้ที่ผ่านมาบางกองทุน/ทรัสต์จะจ่ายปันผลได้อย่างสม่ำเสมอ ความเสี่ยงทางธุรกิจจากผู้เช่าที่ลดลงจากสาเหตุต่างๆ เช่น คู่แข่งมากขึ้น ธุรกิจของผู้เช่าซบเซาลง ทำเลใหม่ที่มีศักยภาพดีกว่า ทำให้รายได้ลดลงส่งผลต่อการจ่ายปันผลให้ผู้ถือหน่วย

เช่าหรือเจ้าของ (ตอนที่ 1)

เช่าหรือเจ้าของ (ตอนที่ 1)

By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT: Real Estate Investment Trust)  มีลักษณะการถือครองอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนอยู่ 2 ประเภท กรรมสิทธิ์ – กองทุน/ทรัสต์เข้าซื้ออสังริมทรัพย์ จึงได้ครอบครองกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ โดยนำทรัพย์สินนั้นไปหารายได้จากการให้เช่าไปจนกว่าจะหมดสภาพการใช้งาน ทั้งนี้สามารถขายอสังริมทรัพย์นั้นได้หากได้ราคาที่ดีและพิจารณาแล้วว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุน สิทธิการเช่า – กองทุน/ทรัสต์ลงทุนเช่าอสังหาริมทรัพย์เป็นระยะหนึ่ง โดยได้สิทธิในการใช้ประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้นตามอายุสัญญาเช่า สามารถหารายได้จากการให้เช่าทรัพย์สินนั้นอีกทอดหนึ่ง เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว กองทุน/ทรัสต์จะหมดสิทธิในการใช้ทรัพย์สินนั้น จึงไม่มีรายได้อีกต่อไป  คล้ายกับการเซ้งอาคาร ที่ผู้เซ้งสามารถใช้อาคารทำมาค้าขายหรือปล่อยให้เช่าต่อได้ เมื่อครบกำหนดสัญญาเซ้ง หากไม่ได้รับการต่อสัญญา ผู้เซ้งต้องเก็บข้าวของย้ายออกไปหรือหมดสิทธิปล่อยให้เช่าต่อ ชื่อของกองทุน/ทรัสต์จะระบุสถานะการถือครองทรัพย์สิน กรณีที่เป็นเจ้าของถือกรรมสิทธิ์จะใช้ชื่อว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หากถือครองแบบสิทธิการใช้เช่าจะใช้ชื่อว่า กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์หรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ กองทุน/ทรัสต์ที่ถือครองทรัพย์สินทั้งสองรูปแบบจะใช้ชื่อว่า กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่า หรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์

STOCK CONNECT

STOCK CONNECT

By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center ช่องทางการลงทุนที่เปิดให้นักลงทุนต่างประเทศเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นจีน และนักลงทุนจีนออกไปลงทุนต่างประเทศ ในอดีตตลาดหุ้นจีนถึงแม้จะไม่ใช่ตลาดที่ปิดสำหรับนักลงทุนต่างประเทศ แต่มีข้อจำกัดการลงทุนค่อนข้างมาก โดยเปิดให้เข้าไปลงทุนได้เฉพาะนักลงทุนสถาบันที่ได้รับอนุญาตจากทางการ มีการจำกัดโควต้าเงินลงทุนและมีกฎระเบียบควบคุมการถอนเงินกลับ  นักลงทุนส่วนใหญ่จึงเลือกลงทุนในหุ้นจีนที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกง (H Share) ซึ่งมีจำนวนหุ้นเพียง 737 บริษัท  (แต่มีข้อจำกัดน้อยกว่าและมีความคล่องตัว) ในขณะที่ตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้และเสิ่นเจิ้นมีหุ้น 3557 บริษัท ส่วนนักลงทุนชาวจีนที่ไม่ใช่สถาบันการเงินก็ไม่สามารถลงทุนในต่างประเทศได้ เมื่อจีนต้องการเปิดเสรีทางการเงินเพื่อพัฒนาและยกระดับตลาดทุน จึงเริ่มเปิดช่องทางการลงทุนเพิ่มขึ้นภายใต้โครงการ Stock Connect ในปี 2557 โดยเริ่มต้นที่ตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้กับตลาดหุ้นฮ่องกง ต่อมาในปี 2559 ก็ขยายไปสู่ตลาดหุ้นเสิ่นเจิ้นกับตลาดหุ้นฮ่องกง ทำให้นักลงทุนต่างประเทศสามารถเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้น A-Share (ทั้งเซี่ยงไฮ้และเสิ่นเจิ้น) โดยไม่ต้องขอรับอนุญาตและโควต้าจากทางการ ทั้งนี้ต้องลงทุนผ่านโบรกเกอร์ที่ฮ่องกง แต่ยังคงมีโควต้าการลงทุนเป็นโควต้ารวม 2000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อวัน (ระบบเดิมเป็นโควต้าที่อนุมัติให้รายนักลงทุน)  โดยไม่มีข้อจำกัดในการถอนเงินกลับ ส่วนนักลงทุนชาวจีนสามารถไปลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกง(เฉพาะหุ้นที่ได้รับการคัดเลือก) การเปิดช่องทาง Stock connect จะส่งผลดีต่อนักลงทุนทั้งจีนและต่างประเทศ ทำให้มีโอกาสในการลงทุนที่กว้างขึ้น โดยประเทศจีนซึ่งมีระดับการเติบโตทางเศรษบกิจที่สูง ขนาดประชากรกว่า […]

ใครกำหนดค่าเงินบาท (ตอนจบ)

ใครกำหนดค่าเงินบาท (ตอนจบ)

By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center นักลงทุน/นักธุรกิจ นักลงทุน/นักธุรกิจทั้งไทยและต่างชาติที่มีธุรกรรมลงทุนระหว่างประเทศลัวนมีอิทธิพลต่อค่าเงินบาท เมื่อนักลงทุน/นักธุรกิจต่างชาตินำเงินเข้ามาลงทุน หรือนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนต่างประเทศถอนเงินลงทุนหรือกำไรกลับประเทศ ทำให้มีเงินตราต่างประเทศไหลเข้ามา และเมื่อนักลงทุนไทยนำเงินไปลงทุนต่างประเทศ หรือนักลงทุน/นักธุรกิจต่างประเทศถอนกำไรหรือภอนทุนกลับออกไป จะทำให้สูญเสียเงินตราต่างประเทศ การลงทุนของนักลงทุน/นักธุรกิจมีทั้งการลงทุนโดยตรงในกิจการหรือลงทุนในหลักทรัพย์(ตลาดหุ้นและตราสารหนี้)   ซึ่งการลงทุนโดยตรงเป็นการลงทุนในกิจการเพื่อผลิตสินค้าและให้บริการ โดยเป็นการลงทุนระยะยาว จึงไม่ค่อยมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้าออกบ่อย ในขณะที่การลงทุนในหลักทรัพย์โดยเฉพาะจากนักลงทุนต่างประเทศมีการนำรายงานข้อมูลการลงทุนในตลาดหุ้นและตราสารหนี้เป็นรายวัน จึงเป็นที่จับตามองเป็นพิเศษ โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนนที่สั้นกว่าการลงทุนโดยตรง  ช่วงที่เข้ามาลงทุนหรือถอนเงินกลับในปริมาณที่สูงและต่อเนื่อง อาจส่งผลทิศทางค่าเงินบาท ในระยะยาว (1 ปีขึ้นไป) ปริมาณเงินลงทุนที่เข้า-ออกทั้งทางตรงและในหลักทรัพย์ล้วนมีผลต่อทิศทางค่าเงินทั้งสิ้น ในช่วงที่เงินทุนไหลเข้ามากกว่า เรียกว่าภาวะดุลบัญชีเงินทุนสุทธิเกินดุลจะส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น หากขาดดุล ค่าเงินบาทก็จะอ่อนค่า ธนาคารแห่งประเทศไทย บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยในตลาดเงินตราต่างประเทศขึ้นอยู่กับนโยบายการเงินในแต่ละช่วง ในอดีตที่ยังใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ธปท เป็นผู้กำหนดค่าเงินบาทและใช้เครื่องมือทางการเงินและกฎระเบียนต่างๆ ควบคุมค่าเงินให้อยู่ในระดับที่ต้องการ ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบจัดการ (Managed Floating System) โดยปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวไปตามกลไกตลาดซึ่งเกิดจากธุรกรรมของทั้งสามกลุ่มข้างต้น แต่ ธปท จะเข้าแทรกแซงในช่วงที่ค่าเงินบาทมีความผันผวนมากผิดปกติ เพื่อให้ผู้ส่งออก/ผู้นำเข้า และนักลงทุนสามารถปรับตัวได้ทัน หากค่าเงินเปลี่ยนแปลงไปตามทิศทางของปัจจัยพื้นฐานหรือธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่แท้จริง ไม่ได้เกิดจากการเก็งกำไรหรือแรงตื่นหนกของตลาด ธปท จะปล่อยให้ค่าเงินเปลี่ยนแปลงแบบอิสระ […]

ใครกำหนดค่าเงินบาท (ตอนที่ 1)

ใครกำหนดค่าเงินบาท (ตอนที่ 1)

By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center ในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งค่าฃึ้นหรืออ่อนค่าลงมาก มักมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กล่าวโทษว่านักลงทุนต่างชาติเข้ามาเก็งกำไรค่าเงิน และเรียกร้องให้ธนาคารเห่งประเทศไทยเข้าแทรกแซง ในความเป็นจริงผู้ที่มีอิทธิพลต่อทิศทางค่าเงินไม่ได้มีเพียงนักลงทุนต่างชาติเท่านั้น ยังมีผู้คนหลายกลุ่มที่มีบทบาทต่อค่าเงิน ดังนี้ 1. ผู้ส่งออก/ผู้นำเข้า เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อค่าเงินค่อนข้างสูง เพราะเงินตราต่างประเทศที่หมุนเวียนผ่านมือมีปริมาณสูง ผู้ส่งออกทำให้มีเงินต่างประเทศเข้ามา ในขณะที่ผู้นำเข้าจ่ายเงินตราต่างประเทศออกไป หากยอดส่งออกสูงกว่ายอดนำเข้า เรียกว่าภาวะเกินดุลการค้า จะส่งผลให้เงินบาทแข็งค่า ในทางกลับกัน หากการนำเข้าสูงกว่าหรือขาดดุลการค้า เงินบาทก็จะอ่อนค่า การส่งออกจะดีหรือแย่ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า คุณภาพ และราคาของสินค้าส่งออก ส่วนการนำเข้ามีปัจยยที่สำคัญคือ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจะขึ้นอยู่กับรายได้และรสนิยมของประชาขน ส่วนสินค้าทุน (วัตถุดิบ อุปกรณ์ ชิ้นส่วน เครื่องมือ เครื่องจักร) ขึ้นอยู่กับภาวะการลงทุน ประเทศไทยซึ่งอยู่ในห่วงโซ่อุปทานและการผลิตของโลก สินค้าส่งออกจึงมีส่วนประกอบของชิ้นส่วนและวัตถุดิบที่นำเข้าในสัดส่วนสูง การส่งออกที่เพิ่มขึ้นจะมีผลต่อเนื่องถึงการนำเข้าสินค้าทุนมากขึ้น 2. นักท่องเที่ยวประเทศไทยเป็นจุดหมายท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ นักท่องเที่ยวต่างฃาติที่หลั่งไหลเข้ามาเที่ยว ทำให้มีรายได้เงินตราต่างประเทศ ในทางกลับกัน หากคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศจึงสูญเสียเงินตราต่างประเทศ แต่จำนวนคนไทยและปริมาณเงินที่ใช้ท่องเที่ยวต่างประเทศยังต่ำกว่ารายได้  จึงมีรายได้สุทธิจากการท่องเที่ยวเป็นบวกหรือเกินดุลติดต่อกันหลายปี ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่า  ความนิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติ มีปัจจัยสนับสนุนคือ […]

ALPHA

ALPHA

By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center Alpha (α) เป็นอักษรตัวแรกของภาษากรีกโบราณ เปรียบได้กับ ก ไก่ ในภาษาไทย ถ้าใช้เป็นตัวเลขจะหมายถึง 1 เมื่อถูกแปลงไปเป็นภาษาละตินหรือภาษาอังกฤษจะกลายเป็นอักษร A ในภาษาอังกฤษ Alpha ยังหมายถึงของสิ่งแรกหรือจุดเริ่มต้น ศาสตร์แขนงอื่นๆ เช่น คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ก็นำทั้งชื่อและเครื่องหมาย Alpha ไปใช้อย่างหลากหลาย ในวงการการเงินและการลงทุน Alpha ถูกนำมาใช้ในความหมายของผลตอบแทนที่สูงกว่าเป้าหมาย (Required rate/Target return) หรือตัวเทียบวัด (Benchmark) โดยเป็นการวัดผลตอบแทนของหลักทรัพย์หรือพอร์ตลงทุน เช่น หุ้นธนาคาร ABC ให้ผลตอบแทนในปีที่ผ่านมา 15% ในขณะที่ตลาดหุ้นให้ผลตอบแทน 10% พูดได้ว่าหุ้น ABC มี Alpha 5% หรือนักลงทุนทำผลตอบแทนจากพอร์ตลงทุนในหุ้นได้ 9% ในปีนั้น เมื่อเทียบกับตลาดแล้วถือว่า […]

ราคาเป้าหมาย (Target Price) (ตอนที่ 2)

ราคาเป้าหมาย (Target Price) (ตอนที่ 2)

By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center การประเมินมูลค่าหุ้นเพื่อใช้เป็นราคาเป้าหมายมีวิธีการที่นิยมใช้ 2 วิธี วิธีกระแสเงินสด (Discount Cash flow) วิธีนี้จะประมาณการณ์รายได้ ค่าใช้จ่ายของบริษัท เพื่อหากำไรสุทธิ ในอนาคตเป็นเวลา 5 ปี หรือ 10 ปี  และใช้กระแสเงินสด (ปรับจากตัวเลขกำไรสุทธิ) หรือเงินปันผล ในการคำนวนประกอบกับการใช้อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง ซึ่งเป็นการพิจารณาถึงกระแสเงินสด/เงินปันผลที่บริษัทสามารถทำให้ผู้ถือหุ้นได้ในระยะยาว วิธีกระแสเงินมีข้อดีที่เป็นการประเมินบนพื้นฐานของผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับจากการลงทุนซื่งสะท้อนมุมมองในระยะของกิจการ และตีมูลค่าในอนาคตให้กลับมาเป็นมูลค่าในปัจจุบัน แต่มีข้อเสียที่การคาดการณ์ไปในอนาคตระยะยาว มีโอกาสคลาดเคลื่อนจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงสูงมาก นักวิเคราะห์ต้องประเมินโดยใช้สมมติฐานต่างๆ มากมาย โดยปัจจัยและตัวแปรที่ใข้มีหลากหลาย หากปัจจัยและสถานะจริงเปลี่ยนไปหรือไม่ตรงกับที่คิดไว้ ตัวเลขที่ประมาณการณ์ไว้จะผิดความจริงไปมาก วิธีมูลค่าเปรียบเทียบ (Relative valuation) นักวิเคระห์จะใช้การประเมินผลกำไรของบริษัทใน 1 ปี ข้างหน้า และคูณด้วย ค่า P/E ที่เหมาะสม ได้เป็นราคาเป้าหมายหรือมูลค่าหุ้นที่เหมาะสม วิธีนี้มีข้อดีกว่าวิธีแรก โดยเป็นการประเมินระยะสั้นจากผลประกอบการที่คาดว่าบริษัทจะทำได้ใน 1 […]

ราคาเป้าหมาย (Target Price)

ราคาเป้าหมาย (Target Price)

By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center นักลงทุนคงคุ้นเคยกับราคาเป้าหมายของหุ้นที่นักวิเคราะห์ให้ไว้สำหรับหุ้นแต่ละตัว แต่ส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับความหมายหรือการใช้ประโยชน์จากราคาเป้าหมาย บางท่านยังเข้าใจว่าเป็นเป้าหมายที่คาดว่าราคาหุ้นจะต้องขึ้นไปถึง(ในเร็ววัน) หากราคาไปไม่ถึงหรือไปถึงเป้าหมายช้า นักวิเคราะห์จะได้รับเสียงบ่นว่าไม่แม่นยำ ไม่มีฝีมือ ไม่น่าเชื่อถือ ในขณะที่หุ้นเก็งกำไรก็มีการร่ำลือกันปากต่อปากว่ามีรายใหญ่หรือเจ้ามือให้ราคาเป้าหมาย และหลายๆครั้งราคาก็ไปถึงเป้าหมายที่ว่าจริงๆ ขอกล่าวถึงราคาเป้าหมายของนักวิเคราะห์ (Target price)  ซึ่งมีความหมายเดียวกับคำว่า Fair price หรือ Fair value แปลว่าราคาหรือมูลค่าที่เหมาะสม ในทางทฤษฎีการเงินใช้คำว่า Intrinsic value (มูลค่าที่แท้จริง) โดยเป็นคำกลางๆ ที่ใช้กับการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน โครงการ หรือ หลักทรัพย์ (เช่น หุ้น ตราสารหนี้ อนุพันธ์ และ อื่นๆ) มูลค่าที่ประเมินได้ถือว่าเป็นมูลค่าหรือราคาที่เหมาะสมของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้น ที่ใช้ในการตัดสินใจลงทุน (ทั้งซื้อและขาย) หากราคาตลาดหรือราคาที่มีผู้เสนอขายต่ำกว่าราคาที่เหมาะสม  หลักทรัพย์นั้นถือว่ามีราคาถูก (undervalued) น่าซื้อลงทุน หากราคาตลาดสูงกว่าราคาที่เหมาะสม ถือว่าแพง (overvalued) ไม่น่าลงทุนหรือหากมีหลักทรัพย์นั้นอยู่ก็ควรขายออกไป […]

ดัชนีชี้ภาวะเศรษฐกิจ                 

ดัชนีชี้ภาวะเศรษฐกิจ                 

By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center ที่มา: ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ตัวเลขเศรษฐกิจที่ภาครัฐและเอกชน เฝ้าติดตาม คือการรายงานภาวะเศรษฐกิจของสภาพัฒน์ฯ (คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลและจัดทำเป็นรายไตรมาส โดยจะรายงานให้สาธารณะทราบหลังจากสิ้นสุดไตรมาสแล้วเกือบ 2 เดือน นั่นคือเกือบสิ้นไตรมาสถัดไป ถึงแม้จะเป็นข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้องและเป็นทางการ แต่มีข้อด้อยที่มีความล่าช้าและความถึ่ในการรายงาน ประชาชน นักลงทุนและภาคธุรกิจอาจปรับตัวได้ไม่ทัน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) จึงจัดทำดัชนีชี้วัดที่แสดงภาวะเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ที่สามารถรวบรวมและนำเสนอข้อมูลได้เร็วกว่าและมีความถึ่มากกว่าเพื่อให้ภาครัฐและเอกชนได้ใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการติดตามและประเมินภาวะเศรษฐกิจ โดย ธปท จะรายงานข้อมูลเป็นรายเดือน แต่ใช้ข้อมูลเฉพาะที่มีการจัดเก็บเป็นรายเดือน ข้อดีคือสามารถรายงานข้อมูลได้ถี่กว่าและเร็วกว่า  แต่ข้อมูลจะไม่ครบถ้วนและสมบูรณ์เท่ารายงานของสภาพัฒน์ฯ ดัชนีที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีการอุปโภคบริโภคและดัชนีการลงทุนภาคเอกชน ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption Index : PCI) เป็นดัชนีชี้ภาวะอุปสงค์ภายในประเทศที่สำคัญตัวหนึ่ง โดย PCI เป็นตัวชี้ทิศทางการอุปโภคบริโภคหรือการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน ภาคธุรกิจ และรวมถึงการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งแสดงถึงกำลังซื้อโดยรวมของภาคเอกชน ข้อมูลที่ใช้ประกอบ ได้แก่ การใช้จ่ายสินค้าไม่คงทน (ยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภครายวัน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ […]