Fund Comment มกราคม 2024: ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment มกราคม 2024: ภาพรวมตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นโลกในเดือนแรกของปี 2024 เปิดมาปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.6% จากเดือนที่ผ่านมา โดยในช่วงแรกของเดือนตลาดมีความคาดหวังว่า จะเห็นเฟดเริ่มประกาศลดดอกเบี้ยในเร็วนี้ ด้วยมุมมองว่า อัตราเงินเฟ้อจะทยอยปรับลดลงและเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีโอกาสชะลอตัว ส่งผลทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หลังจากการประชุมของเฟดในรอบสิ้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีมติในการคงดอกเบี้ยตามที่ตลาดคาด อีกทั้งเฟดยังมีมุมมองต่อเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทั้งการจ้างงานและเงินเฟ้อที่กำลังเข้าสู่จุดสมดุล ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็น ดัชนี ISM ทั้งภาคผลิตและบริการ รวมทั้งตัวเลขการจ้างงานนั้น ล้วนแสดงถึงสัญญาณทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้น นอกจากนี้ ประธานเฟดยังได้ส่งสัญญาณว่า จะยังไม่ปรับลดดอกเบี้ยลงในเดือนมีนาคมนี้ ส่งผลให้ความคาดหวังของตลาดต่อการลดดอกเบี้ยครั้งแรกได้ขยับออกไปในเดือนพฤษภาคม หรืออาจจะเป็นช่วงครึ่งหลังของปีก็เป็นได้ ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้นมาเหนือระดับ 4% ในส่วนตลาดหุ้นใหญ่ อย่างสหรัฐฯ ได้เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลประกาศผลประกอบการอีกครั้ง โดยหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่หลายรายได้ประกาศผลประกอบการออกมาในทิศทางที่ดี แต่หุ้นของหลายบริษัทกลับปรับตัวลง การปรับตัวสูงขึ้นของตลาดอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ Valuation ของหุ้นขนาดใหญ่เริ่มมีความตึงตัว จึงเป็นความเสี่ยงที่เราอาจจะเริ่มเห็นแรงขายทำกำไรในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เกิดขึ้นได้ ในฝั่งตลาดหุ้นจีนในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เผชิญกับความผันผวนอย่างมาก โดยตลาดมีความกังวลกับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ในจีนเพิ่มมากขึ้น หลังจากศาลสูงฮ่องกงประกาศให้บริษัท China […]

Fund Comment มกราคม 2024: มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment มกราคม 2024: มุมมองตลาดตราสารหนี้

มุมมองตลาดตราสารหนี้ ในเดือนม.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น  0.07%-0.15% จากเดือนก่อนหน้า ส่วนพันธบัตรรัฐบาลอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปปรับลดลง 0.03%-0.09% จากเดือนก่อนหน้า ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.15% มาอยู่ที่ 3.99% จากการที่ตลาดเริ่มให้น้ำหนักน้อยลงว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่เดือนมีนาคม ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ประจำเดือนธ.ค. สูงกว่าคาดเล็กน้อย และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ (GDP) ในไตรมาส 4 ขยายตัว 3.3% ดีกว่าที่ตลาดคาดที่ 2% และเป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนที่ 4.9% ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศ ตลาดเริ่มให้น้ำหนักต่อโอกาสที่ธปท.อาจจะมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินในปี 2024 มากขึ้น จากแรงกดดันจากรัฐบาล รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อของไทยในเดือนธ.ค.ยังคงปรับลดลงมาอยู่ที่ -0.83% เป็นระดับติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันจากมาตรการลดค่าครองชีพต่างๆของภาครัฐ   สำหรับผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ในเดือนม.ค.ที่ผ่านมา มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.25% – […]

Fund Comment ธันวาคม 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment ธันวาคม 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นโลกในเดือนธันวาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 4.8% จากเดือนที่มา โดยได้รับแรงหนุนจากผลการประชุมของเฟดที่คงดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 นอกจากนี้ยังมีการปรับลด Dot Plot ลงจากการประชุมครั้งก่อนหน้า โดยได้คาดการณ์ว่าในปี 2567 อัตราดอกเบี้ยคาดการณ์จะอยู่ที่ 4.6% ลดลงจากเดิมที่ 5.1% และในปี 2568 จะปรับลดลงเหลือ 3.6% จากเดิมที่ 3.9% ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฯมีทิศทางในเชิงบวก หลังจากที่เงินเฟ้อมีการชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าเศรษฐกิจในปี 2566 จะมีการชะลอตัวลงแบบ Soft Landing ซึ่งดีกว่าที่ตลาดเคยกังวลในช่วงก่อนหน้า ในทางกลับกันตลาดหุ้นในฝั่งเอเซียนำโดยตลาดจีนปรับตัวลดลงในเดือนธันวาคม จากความกังวลต่อภาพของเศรษฐกิจที่ยังไม่เห็นสัญญาณการฟื้นตัว โดยล่าสุดทาง Moody’s ได้ออกมาลดลงมุมมองของอันดับความน่าเชื่อถือของจีนลงสู่ระดับ Negative เนื่องจากปริมาณหนี้มหาศาลในจีน ประกอบกับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของประเทศในระยะกลางถึงระยะยาว ทำให้มีโอกาสเห็นทางรัฐบาลกลางจะออกมาสนับสนุนทางการเงินอย่างการออกตราสารหนี้ให้กับรัฐบาลท้องถื่นมากขึ้น เพื่อสนับสนุนความเข้มแข็งทางการคลังของประเทศในอนาคต นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่ทางภาครัฐบางจีนกลับมาคุมเข้มอุตสาหกรรมเกมออนไลน์อีกครั้ง ด้วยปัจจัยข้างต้นจึงทำให้ตลาดหุ้นจีนได้รับ Sentiment เชิงลบอย่างต่อเนื่อง ภาพรวมแล้วตลาดหุ้นโลกในปี 2566 ถือเป็นปีที่ให้ผลตอบแทนได้ดี โดยดัชนี […]

Fund Comment ธันวาคม 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment ธันวาคม 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้

มุมมองตลาดตราสารหนี้ ในเดือนธ.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลงทุกช่วงอายุประมาณ 0.10% – 0.30% จากเดือนก่อน   ยังคงเป็นการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปีที่ปรับลดลงกว่า 0.45% มาอยู่ที่ระดับ 3.88%  เป็นผลมาจากตลาดตราสารหนี้ที่ให้น้ำหนักต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) เร็วขึ้นเป็นภายในช่วงไตรมาสแรกของปี 2024  ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาในเดือนธ.ค.ยังส่งสัญญาณที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ประจำเดือนพ.ย.ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ 3.1% จาก 3.2% ในเดือนก่อน และการรายงานตัวเลขประมาณการครั้งที่ 3 ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ (GDP) ในไตรมาส 3 ที่ขยายตัว 4.9% ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 5.1%   ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศ  ตลาดเริ่มให้น้ำหนักต่อโอกาสที่ธปท.อาจจะผ่อนคลายนโยบายการเงินในปี 2024 มากขึ้น   หลังอัตราเงินเฟ้อของไทยในเดือนพ.ย.ยังคงปรับลดลงมาอยู่ที่ -0.44% เป็นระดับติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันจากมาตรการลดค่าครองชีพต่างๆ ของภาครัฐ    สำหรับผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ในเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.25% […]

Fund Comment พฤศจิกายน 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment พฤศจิกายน 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้

มุมมองตลาดตราสารหนี้ ในเดือนพ.ย. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลงทุกช่วงอายุประมาณ 0.05% – 0.40% จากเดือนก่อน    เป็นการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปีที่ปรับลดลงกว่า 0.60% ในเดือนพ.ย.มาอยู่ที่ระดับ 4.32%   โดยตลาดตราสารหนี้ได้รับปัจจัยบวกจากการส่งสัญญาณของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ส่งสัญญาณถึงการสิ้นสุดวัฏจักรการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบนี้  ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาในเดือนพ.ย.ส่งสัญญาณที่ชะลอตัวลง ทั้งตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ต่ำกว่าคาดการณ์ และอัตราเงินเฟ้อเดือนต.ค.ที่ลดลงมาอยู่ที่ 3.2% จาก 3.7% ในเดือนก่อน  ส่งผลให้ตลาดเริ่มให้น้ำหนักที่ FED อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายภายในครึ่งปีแรกของปี 2024  ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศที่ตลาดมีความกังวลเรื่องปริมาณพันธบัตรรัฐบาลที่จะเพิ่มขึ้นจากมาตรการแจกเงินดิจิตอลของรัฐบาลได้ผ่อนคลายลง หลังมีการปรับหลักเกณฑ์เงื่อนไขมาตรการใหม่   ทำให้จะใช้วงเงินงบประมาณลดลงเหลือ 500,000 ล้านบาท และรัฐบาลมีแผนที่จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าพิจารณาผ่านรัฐสภา  ซึ่งจะทำให้มาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้ล่าช้าออกไปจากแผนเดิม    สำหรับผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยในวันที่ 29 พ.ย.มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50%  โดยกนง.ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในทิศทางการฟื้นตัว   แต่ภาคการส่งออกอาจจะชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก พร้อมปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2023 และ 2024 ลงเหลือ +2.4% และ +3.2% […]

Fund Comment พฤศจิกายน 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment พฤศจิกายน 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นโลกในเดือนพฤศจิกายนกลับเข้ามาสู่โหมด Risk on อีกครั้ง โดยตลาดโดยเฉลี่ยปรับตัวขึ้นกว่า 9.4% หลังจากการประกาศผลการประชุมเฟดในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้มีมติคงดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งที่สอง ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ในขณะเดียวกัน คำแถลงการณ์ของเฟดในครั้งนี้มีโทนที่เข้มงวดน้อยลง ส่งผลให้ตลาดคาดการณ์ว่า อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันน่าจะเป็นจุดสูงที่สุดแล้ว และมีโอกาสปรับตัวลดลงหลังจากกลางปี 2567 เป็นต้นไป ส่งผลให้ตลาดมีมุมมองเชิงบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมาระหว่างเดือนชะลอตัวลง ตัวเลข ISM ภาคการผลิตในเดือนตุลาคมอยู่ที่ 46.7 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 49 ส่วนตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐฯ ในเดือนตุลาคมปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.2% และตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานปรับตัวเพิ่มขึ้น 4% จากปีก่อนหน้า โดยตัวเลขที่ออกมาอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด เป็นสัญญาณที่ดีว่าเงินเฟ้อสหรัฐฯ อาจจะลดลงสู่ระดับเป้าหมายของเฟดได้เร็วกว่าที่คาดไว้เดิม ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีของสหรัฐฯ ลดลงจากที่เคยขึ้นไปแตะ 5% มาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 4.2% ซึ่งเป็นแรงหนุนให้กับบรรยากาศการลงทุนทั่วโลกต่อจากนี้ ในฝั่งตลาดหุ้นไทยในเดือนพฤศจิกายนปรับตัวสวนทางกับตลาดโลก ติดลบ 0.1% โดยตลาดมีความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่มีผลต่อตลาดไทยมากกว่า ความไม่แน่นอนของมาตรการดิจิทัลวอลเล็ต รวมทั้งตัวเลขนักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาไทยต่ำกว่าคาด แม้จะมีมาตรการฟรีวีซ่าให้ชาวจีนก็ตาม […]

Fund Comment ตุลาคม 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment ตุลาคม 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นโลกในเดือนตุลาคมส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง โดยเฉลี่ยปรับตัวลดลงต่อจากเดือนที่ผ่านมา 3% ด้วยเหตุการณ์สำคัญอย่างปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส ที่เปิดฉากโจมตีกันขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา และยังมีความไม่แน่นอนในแง่ของความยืดเยื้อและผลกระทบระยะยาวด้านความสัมพันธ์ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดย Bloomberg ได้ประเมินผลกระทบของสงครามและมีการคาดการณ์ว่า จากสถาณการณ์ปัจจุบันส่งผลกระทบต่อ Global GDP ในปี 2024 ที่ 0.1% และเงินเฟ้อที่สูงขึ้น 0.1% และถ้าหากสถาณการณ์มีการบานปลายไปยังระดับ Direct War อาจจะส่งผลกระทบต่อ Global GDP 2024 มากถึง 1% และเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น 1.2% ก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม เราคาดว่า ความรุนแรงของสงครามไม่น่าจะยกระดับไปขนาดนั้น และน่าจะเป็นการสู้รบในพื้นที่จำกัดมากกว่า ซึ่งในระยะสั้นนั้น สินทรัพยเสี่ยงต่างๆทั่วโลกเกิดแรงเทขาย และเกิดความผันผวน อาทิ น้ำมันดิบ BRENT ปรับตัวสูงขึ้นราว 5% และทองคำ ซึ่งเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ปลอดภัยกลับมีแรงซื้อที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นแตะระดับ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา […]

Fund Comment ตุลาคม 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment ตุลาคม 2566: มุมมองตลาดตราสารหนี้

มุมมองตลาดตราสารหนี้ ในเดือนต.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยที่อายุคงเหลือมากกว่า 1 ปียังคงปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน  จากแรงกดดันจาก ทั้งปัจจัยในประเทศและต่างประเทศ โดยปัจจัยภายในประเทศที่ยังคงกัดดันตลาดมาจากความกังวลต่อปริมาณพันธบัตรที่จะเพิ่มขึ้นจากมาตรการภาครัฐ โดยเฉพาะมาตรการแจกเงินดิจิทัลที่อาจต้องใช้วงเงินสูงถึง 560,000 ล้านบาท  ขณะที่ ปัจจัยภายนอกประเทศมาจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปีที่ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับ 5% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 16 ปี เป็นผลมาจาก   1) ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่งและออกมาสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและยอดค้าปลีกที่ยังขยายตัวดี    2) สถานการณ์สงครามระหว่างอิสราเอล – กลุ่มฮามาส ที่ปะทุขึ้นในช่วงกลางเดือนต.ค.    3) ความกังวลต่อปริมาณพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตตามการขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ   ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะสั้นปรับตัวลดลงตามความต้องการของนักลงทุนที่สูงขึ้น เนื่องจากนักลงทุนต้องการหลีกเลี่ยงความผันผวนของราคาพันธบัตรระยะยาว       สำหรับผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 31 ต.ค. – 1 พ.ย. เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้   โดย Fed มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.25-5.50% […]

Fund Comment กันยายน 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment กันยายน 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น

ภาพรวมตลาดหุ้นโลกในเดือนกันยายนทำผลตอบแทนติดลบ 4.1% เนื่องจากตลาดมีความกังวลจากการที่เฟดส่งสัญญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในปีนี้ และมีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงเป็นระยะเวลานานกว่าที่ตลาดคาดไว้ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า 4.5% ในเดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ปัจจัยการเมืองสหรัฐฯ ยังมีความเสี่ยงในการเกิด Government Shutdown หากร่างกฎหมายงบประมาณยังไม่ได้ข้อสรุปภายในระยะเวลาที่กำหนด ในขณะที่ ตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมา เงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนสิงหาคมปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.6% จากเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการลดอุปทานน้ำมันลง และความต้องการใช้น้ำมันของจีนที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้เกิดความกังวลกับเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยกดดันราคาหุ้นทั่วโลก โดยในระดับ Valuation สูง ในส่วนของดัชนี MSCI ACWI มีการซื้อขายที่ Forward PE15.6x ซึ่งปรับตัวลงมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี ถือว่าไม่ได้แพงมาก แต่ในทางกลับกัน Global Earnings Yield Gap กลับทำจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2007 ส่งผลทำให้หุ้นมีความน่าสนใจลดลงเมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาล โดยเรามองว่า ในปัจจุบันตลาดหุ้นโลกอยู่ในช่วงเวลาการปรับฐานตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่มีเข้ามามากขึ้น […]

Fund Comment สิงหาคม 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment สิงหาคม 2566: ภาพรวมตลาดหุ้น

ภาพรวมตลาดหุ้นโลกในเดือนสิงหาคม ปรับตัวลดลง 2.8% โดย Developed Market (-2.3%) ยังคง Outperform Emerging Market (-6.1%) อยู่ 3.8% ในเดือนสิงหาคม โดยการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในช่วงครึ่งเดือนแรกมีสาเหตุมาจากการที่ Fitch ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ ลง 1 ขั้น เป็น AA+  ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นแรงกดดันต่อราคาสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก ในขณะที่ ตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมามีพัฒนาการในเชิงบวก ตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น 3.2% ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้เล็กน้อย ในช่วงครึ่งหลังของเดือน ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยได้รับแรงหนุนจากผลประกอบการที่แข็งแกร่งในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ที่ได้ผลประโยชน์การจากลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI และปัญหาธนาคารท้องถิ่นสหรัฐฯ ที่ดูเริ่มคลี่คลายลง ถึงแม้ว่าการประชุม Jackson Hole ที่ผ่านมา Fed ยังมีท่าทีเดินหน้าคุมเข้มในการดำเนินนโยบาย และมีแนวโน้มในการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโนยบายต่อ ในฝั่งตลาดหุ้นจีนยังคงได้รับแรงกดดันอย่างหนัก จากภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีนเริ่มลุกลามมากขึ้น […]