กองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (อันเฮดจ์) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย  B-HY (UH) AI และกองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (เฮดจ์ 75) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย  B-HY (H75) AI

กองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (อันเฮดจ์) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย B-HY (UH) AI และกองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (เฮดจ์ 75) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย B-HY (H75) AI

Highlight

  • ผลการดำเนินงานให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ กระจายวัคซีนที่เพิ่มขึ้น ผลการดำเนินงานของบริษัทต่าง ๆ ที่ส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าคาดการณ์ และการลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจากจุดสูงสุดในรอบปี
  • ผลการดำเนินงานกองทุนน้อยกว่าดัชนีชี้วัด สาเหตุมาจากการที่พอร์ตมี Duration ต่ำกว่าดัชนี 
  • กองทุนฯ มีกลยุทธ์ที่จะเน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือระยะสั้น โดยมีอายุตราสารเฉลี่ย 2.27 ปี (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยตลาดที่ 3.64 ปี) ด้วยมีความผันผวนไม่สูงมากนักและมีระดับมูลค่าที่น่าลงทุน

ภาพรวมตลาด

ICE BofA Merrill Lynch US High Yield Index ไตรมาส 1/2021 อยู่ที่ +0.90% และในเดือน เม.ย. +1.10% สาเหตุที่ผลการดำเนินงานให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ กระจายวัคซีนที่เพิ่มขึ้น ผลการดำเนินงานของบริษัทต่าง ๆ ที่ส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าคาดการณ์ และการลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจากจุดสูงสุดในรอบปี

ตราสารที่ออกใหม่ – ในเดือน เม.ย. มีตราสารออกใหม่ 75 ราย ประมาณ 49.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงเล็กน้อยจากจุดสูงสุดในเดือน มี.ค. ที่มีการทำสถิติสูงอย่างมีนัยสำคัญมีตราสารออกใหม่มากถึง  95 ราย มูลค่ารวมมากถึง 64.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในช่วงเดือน เม.ย. US High yield Bonds ของสหรัฐฯ (+1.10%) มีผลการดำเนินงานต่ำกว่าหุ้นสหรัฐฯ (S&P500 +5.34%) และ U.S. Corporates (+1.19%) แต่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า U.S. Treasury (+0.84%) เมื่อดูผลตอบแทนตามอันดับความน่าเชื่อถือ ภายใน US High Yield พันธบัตรที่มี rating CCC (+1.34%),  BB (+1.12%) และ B (+ 0.98%)

ด้านกลุ่มอุตสาหกรรมของ US HY Bonds ซึ่งมีทั้งหมด 18 กลุ่ม ในเดือน เม.ย. ทั้ง 18 กลุ่ม ให้ผลการดำเนินงานเป็นบวก นำโดย กลุ่มพลังงาน +2.48% กลุ่มธนาคาร +1.55% กลุ่มสาธารณูปโภค +1.24% กลุ่มที่มีผลการดำเนินงานน้อยที่สุด ได้แก่ กลุ่ม สื่อสาร +0.44% กลุ่มประกัน +0.46% และ กลุ่มเฮลธ์แคร์ +0.50%

พอร์ตการลงทุน

ผลการดำเนินงานกองทุนน้อยกว่าดัชนีชี้วัด สาเหตุมาจากการที่พอร์ตมี Duration ต่ำกว่าดัชนี และกองทุนมีถือเงินสดเล็กน้อย กองทุนจะลงทุนเพิ่มโดยเลือกตราสารที่ออกใหม่ด้วยความระมัดระวัง ด้านกลุ่มอุตสาหกรรมกองทุนได้ประโยชน์จากกลุ่มสื่อสารและยานยนต์ ในขณะที่ได้รับผลเชิงลบจากการถือกลุ่มพลังงานน้อยกว่าดัชนี

ผู้จัดการกองทุนเน้นบริหารพอร์ตให้มีความเสี่ยงน้อยกว่าดัชนี จึงคง Duration ที่ระดับต่ำ และเลือกลงทุนในบริษัทที่มั่นคง เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ หรือความผันผวนของราคา สำหรับกลุ่มพลังงาน เลือกถือบริษัทที่เป็นท่อส่งน้ำมันมากกว่าผู้ผลิตน้ำมัน เพราะราคาน้ำมันอาจจะมีความผันผวน ซึ่งจะส่งผลต่อฐานะการเงินของบริษัทผู้ผลิต

มุมมองในอนาคต

กองทุนหลักมองว่า แม้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการปรับทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของ FED และการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่ตราสารหนี้ US HY ยังคงมีความน่าสนใจสำหรับนักลงทุน ทั้งในเรื่องของรายได้ที่ได้รับอย่างสม่ำเสมอและระดับอัตราดอกเบี้ยจ่ายของตราสารที่อยู่ในรับค่อนข้างสูง

ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานของผู้ออกตราสารมีพัฒนาการที่ดีขึ้น โดยกองทุนฯ มีกลยุทธ์ที่จะเน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือระยะสั้น โดยมีอายุตราสารเฉลี่ย 2.27 ปี (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยตลาดที่ 3.64 ปี ) ด้วยมีความผันผวนไม่สูงมากนักและมีระดับมูลค่าที่น่าลงทุน

ทั้งนี้ กองทุนฯ ยังคงเน้นการวิเคราะห์และคัดเลือกตราสารหนี้ของบริษัทที่มีฐานะการเงินและระดับเงินสดที่แข็งแกร่ง มีช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่หลากหลาย รวมถึงให้อัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับความเสี่ยงด้านเครดิตเพื่อช่วยเพิ่มผลตอบแทนให้กับกองทุนฯอย่างสม่ำเสมอ

ผลการดำเนินงานของกองทุน B-HY (UH) AI ณ 30 เม.ย. 2564

ผลการดำเนินงานของกองทุน B-HY (H75) AI ณ 30 เม.ย. 2564

ข้อมูลกองทุนหลัก AXA WF US High Yield Bonds I USD ณ 30 เม.ย. 2564

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต