กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

Highlight

  • ตลาดหุ้นอาเซียนได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิดรอบใหม่ และดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวในทิศทางแตกต่างกันไป  ผลตอบแทนของตลาดในกลุ่มอาเซียนตั้งแต่ต้นปีถึง 31 พฤษภาคม 2564  ตลาดหุ้นเวียดนามให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด +19.62% ตามด้วยตลาดหุ้นสิงค์โปร์ +11.27% และไทย +9.15% ส่วนประเทศที่ให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงมากที่สุด คือ ฟิลิปปินส์  -6.96% มาเลเซีย -3.04% และ อินโดนีเซีย -1.95%
  • ผู้จัดการกองทุนยังคงให้น้ำหนัการลงทุนในเวียดนามมากกว่าดัชนีชี้วัด
  • การเปิดประเทศของอาเซียนคาดว่าจะเลื่อนออกไปเป็นปี ค.ศ.2022 และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจน่าจะเป็นปี ค.ศ.2022 เช่นกัน ยกเว้นสิงคโปร์และเวียดนามที่จะฟื้นตัวก่อนประเทศอื่น  อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น และประเทศที่เป็นผู้ส่งออกมีแนวโน้มจะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก เช่น ไทย สิงคโปร์ เวียดนาม และ มาเลเซีย

ภาพรวมตลาด

ตลาดหุ้นอาเซียนได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิดรอบใหม่ และดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวในทิศทางแตกต่างกันไป  ผลตอบแทนของตลาดในกลุ่มอาเซียนตั้งแต่ต้นปีถึง 31 พฤษภาคม 2564 ตลาดหุ้นเวียดนามให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด +19.62% ตามด้วยตลาดหุ้นสิงค์โปร์ +11.27% และไทย +9.15% ส่วนประเทศที่ให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงมากที่สุด คือ ฟิลิปปินส์  -6.96% มาเลเซีย -3.04% และ อินโดนีเซีย -1.95%

ตลาดหุ้นเวียดนามได้รับแรงหนุนจากเงินทุนของรายย่อย ขณะที่เงินลงทุนจากต่างชาติไหลออก ดัชนี VN Index ทำ all time high ในเดือนพฤษภาคม เศรษฐกิจเวียดนามมีปัจจัยบวกจากการเป็นผู้ส่งออกที่แข็งแกร่ง ได้ประโยชน์จากฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐที่เป็นคู้ค้าสำคัญ และยังมีการควบคุมโควิดได้ดีตั้งแต่แรก เวียดนามเป็นประเทศที่ GDP ไม่ติดลบตั้งแต่มีการแพร่ระบาดโควิด  GDP ปี ค.ศ.2020 และ ไตรมาสแรกปี ค.ศ.2021 อยู่ที่ +2.9% และ +4.5% ตามลำดับ  ถึงแม้ว่าจะมีการระบาดเป็นระลอกที่ 4 แต่ยังรัฐบาลยังสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดี และมีการเร่งฉีดวัคซีนให้เร็วขึ้น

พอร์ตการลงทุน

ผู้จัดการกองทุนยังคงให้น้ำหนัการลงทุนในเวียดนามมากกว่าดัชนีชี้วัด ช่วงที่ผ่านมาลดน้ำหนักในหุ้นสิงคโปร์จากที่เป็น Overweight เป็น Neutrual หลังจากหุ้นกลุ่มธนาคารสิงคโปร์ปรับตัวขึ้นมามาก อัตราดอกเบี้ยของสิงคโปร์มีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยสหรัฐสูง อีกทั้งธนาคารสิงคโปร์มีการฟื้นตัวเร็วกว่าประเทศอื่นในอาเซียน และความเสี่ยงเรื่องหนี้เสียน้อยกว่า

มุมมองในอนาคต

จำนวนผู้ติดเชื้อยังเป็นปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ การกระจายวัคซีนในกลุ่มประเทศอาเซียนยังล่าช้า ยกเว้นสิงคโปร์ การเปิดประเทศของอาเซียนคาดว่าจะเลื่อนออกไปเป็นปีค.ศ. 2022 และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจน่าจะเป็นปีค.ศ. 2022 เช่นกัน ยกเว้นสิงคโปร์และเวียดนามที่จะฟื้นตัวก่อนประเทศอื่น  อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น และประเทศที่เป็นผู้ส่งออกมีแนวโน้มจะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก เช่น ไทย สิงคโปร์ เวียดนาม และ มาเลเซีย

ผลการดำเนินงานของกองทุน B-ASEAN และ B-ASEANRMF ณ 31 พฤษภาคม 2564

สัดส่วนการลงทุนกองทุน B-ASEAN ณ 30 เมษายน 2564

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต