กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชีย (B-ASIA) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชียเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASIARMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชีย (B-ASIA) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชียเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASIARMF)

Highlight

  • ผู้จัดการกองทุนขายทำกำไรในหุ้นที่ราคาปรับตัวขึ้นมามาก และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นที่ราคายังไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง และเห็นโอกาสในหุ้นวัฎจักรที่ undervalued เนื่องจากราคาปรับตัวลงจากผลของโควิด แม้ว่าราคาของหุ้นกลุ่มวัฎจักรเริ่มฟื้นตัวขึ้นแล้ว แต่ยังมีบางตัวที่น่าสนใจลงทุน
  • กลยุทธ์ปัจจุบัน เน้นลงทุนในหุ้นที่มีกระแสเงินสดแข็งแกร่ง เพราะสามารถทนต่อแรงกระทบเชิงลบ ได้ อีกทั้งยังพิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจจะกระทบต่อบริษัทในหลายด้าน เช่น ความเสี่ยงด้านการเมือง สงครามการค้า กฎระเบียบจากรัฐ การถูก Disrupt และ ประเด็นด้าน ESG เป็นต้น

ภาพรวมตลาด

ภาพรวมของตลาดเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) มีมูลค่า P/B (Price per Book Value) สูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี สะท้อนว่า โดยรวมหุ้นเอเชียไม่ถูกแล้ว แต่เมื่อดูรายประเทศกลุ่มประเทศที่มี P/B สูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี จะเป็นกลุ่มเอเชียเหนือ เช่น จีน ไต้หวัน เกาหลี รวมทั้งอินเดีย

เมื่อพิจารณารายอุตสาหกรรมในเอเชีย พบว่า กลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ เฮลธ์แคร์ สื่อสารและสินค้าฟุ่มเฟือย เป็นกลุ่มมี P/B สูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง แสดงว่าหุ้นปรับตัวขึ้นมาพอสมควรแล้ว

ผลกระทบด้านกฎระเบียบของรัฐบาลจีน ส่งผลลบต่อตลาดหุ้นจีนและเอเชีย ในขณะที่หุ้นอินเดีย ไต้หวัน และเกาหลีปรับตัวเพิ่มขึ้น  ทำให้ภาพรวมแล้วตลาดหุ้นเอเชียอยู๋ในระดับทรงตัว ดัชนี MSCI Asian ex Japan ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 0.68% จากต้นปี ถึง 31 สิงหาคม 2564

พอร์ตการลงทุน 

ผู้จัดการกองทุนขายทำกำไรในหุ้นที่ราคาปรับตัวขึ้นมามาก และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นที่ราคายังไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง และเห็นโอกาสในหุ้นวัฎจักรที่ undervalued เนื่องจากราคาปรับตัวลงจากผลของโควิด แม้ว่าราคาของหุ้นกลุ่มวัฎจักรเริ่มฟื้นตัวขึ้นแล้ว แต่ยังมีบางตัวที่น่าสนใจลงทุน

กองทุน underweight กลุ่มเทคโนโลยี และขายทำกำไรในหุ้นเทคโนโลยีของไต้หวัน และ underweight หุ้นจีน แต่ในช่วงที่ผ่านมาได้มีการซื้อหุ้นจีนเพิ่มขึ้น เนื่องจาก valuation น่าสนใจ โดยเลือกหุ้นจีนด้วยความระมัดระวัง

กลยุทธ์ปัจจุบัน เน้นลงทุนในหุ้นที่มีกระแสเงินสดแข็งแกร่ง เพราะสามารถทนต่อแรงกระทบเชิงลบได้ อีกทั้งยังพิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจจะกระทบต่อบริษัทในหลายด้าน เช่น ความเสี่ยงด้านการเมือง สงครามการค้า กฎระเบียบจากรัฐ การถูก Disrupt และ ประเด็นด้าน ESG เป็นต้น

Valuation ของพอร์ตดีกว่า Benchmark โดยดูที่ forward P/E ของพอร์ตที่ 12.8 เท่า Benchmark (MSCI Asia ex Japan Index) 16.9 เท่า และ หุ้นโลก( MSCI World Index) 19.5 เท่า (ข้อมูล ณ 30 มิถุนายน 2564)

มุมมองในอนาคต 

ผู้จัดการกองทุนมองหาหุ้นที่ราคายังไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง และจะผสมผสานกันระหว่างหุ้นเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต กับหุ้นกลุ่มที่มีความยืดหยุ่นต่อประเด็นโควิด-19 (Virus- Sensitive)

การเปิดประเทศทำให้ตลาดเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ เราเริ่มเห็นราคาหุ้นวัฎจักรปรับตัวเพิ่มขึ้น และหุ้นเติบโตราคาปรับตัวลดลง แต่จากความไม่แน่นอนเรื่องโควิดสายพันธุ์ใหม่ ตลาดจึงอาจยังอยู่ในภาวะไม่สมดุลย์นี้อีกระยะหนึ่ง ซึ่งเมื่อตลาดเข้าสู่สภาวะปกติ ผลประกอบการของบริษัทจะค่อยๆ ปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติต่อไป

ผลการดำเนินงานของกองทุน B-ASIA และ B-ASIARMF ณ 31 สิงหาคม 2564

ข้อมูลกองทุนหลัก : Invesco Asian Equity Fund ณ 31 กรกฎาคม 2564

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต