กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

Highlight

  • ภาวะตลาดโดยรวมมีความผันผวนจากความกังวลเรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยและการลดขนาดงบดุล มีแรงขายทากาไรในหุ้นเทคโนโลยีของตลาดหุ้นทั่วโลก รวมการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกสาหรับอาเซียน คือ ประเทศส่วนใหญ่กาลังฟื้นตัวหลังจากกระบาดในปี 2021
  • มุมมองต่อตลาดหุ้นอาเซียนปี 2022 มีแนวโน้มเชิงบวก ได้รับประโยชน์จากการเปิดประเทศ การส่งออกจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ เงินเฟ้อในแต่ละประเทศอยู่ในระดับที่ควบคุมได้

ภาพรวมตลาด

ผลตอบแทนของตลาดหุ้นในกลุ่มอาเซียนปี 2021 ตลาดหุ้นเวียดนามให้ผลตอบแทนดีที่สุด 43.4% ตามด้วย ไทย 14.4% อินโดนีเซีย 10.1% สิงค์โปร์ 9.8% และมีเพียง 2 ตลาดที่ผลตอบแทนติดลบ ได้แก่ มาเลเซีย -3.7% และ ฟิลิปปินส์ -0.2%

ในช่วงเดือนแรกของปี 2022 ผลตอบแทนของตลาดในกลุ่มอาเซียนปรับตัวผสมผสานกัน ตั้งแต่ต้นปีถึง 31 ม.ค. 2022 ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4% ตามด้วยฟิลิปปินส์ 3.4% อินโดนีเซีย 0.8% และตลาดที่ปรับตัวลงมากที่สุด คือ มาเลเชีย -3.5% เวียดนาม -1.3% และ ไทย -0.5%

ภาวะตลาดโดยรวมมีความผันผวนจากความกังวลเรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยและการลดขนาดงบดุล มีแรงขายทำกำไรในหุ้นเทคโนโลยีของตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกสำหรับอาเซียน คือ ประเทศส่วนใหญ่กำลังฟื้นตัวหลังจากกระบาดในปี 2021

พอร์ตการลงทุน

ไตรมาสที่ผ่านมา ผู้จัดการกองทุนเพิ่มน้ำหนักในกลุ่มธนาคารซึ่งจะได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น และลดน้ำหนักในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เพราะอาจจะได้รับผลเชิงลบจากกลุ่มเทคโนโลยีที่ชะลอตัว ราคาหุ้นกลุ่มธนาคารและสถาบันการเงินปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่กลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวลดลง โดยเฉพาะ SEA Limited ซึ่งกองทุนมีน้ำหนักอยู่ที่ 5.48% (ณ 30 ธันวาคม 2021)

เมื่อเทียบกับดัชนี้ชีวัด MSCI AC ASEAN กองทุนให้น้ำหนัก (Overweight) กับตลาดหุ้นเวียดนามมากที่สุด และลงทุนในตลาดหุ้นมาเลเชียน้อยที่สุด (Underweight) แม้ว่ามาเลเซียจะมีแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจดี GDP เติบโตกว่า 6% แต่กำไรของบริษัทจดทะเบียนยังน่ากังวลจากการเพิ่มอัตราภาษีนิติบุคคล จาก 24% เป็น 33% สำหรับบริษัทที่มีกำไรมากกว่า 100 ล้านริงกิต เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดดุลงบประมาณ โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นไป

มุมมองในอนาคต

หลังจากที่ปี 2021 ตลาดหุ้นอาเซียนได้รับผลกระทบเชิงลบจากการล็อคดาวน์และการฉีดวัคซีนที่ล่าช้า พอมาถึงปี 2022 ปัจจัยเหล่านี้มีทิศทางที่ดีขึ้น จึงทำให้มุมมองต่อตลาดหุ้นอาเซียนปี 2022 มีแนวโน้มเชิงบวก ได้รับประโยชน์จากการเปิดประเทศ การส่งออกจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ เงินเฟ้อในแต่ละประเทศอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ อย่างไรก็ตาม ความกังวลต่อการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยและการลดขนาดงบดุลของสหรัฐฯ ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุน ธนาคารกลางของประเทศในอาเซียนอาจจะพิจารณาขึ้นดอกเบี้ยตามสหรัฐฯ ในช่วงครึ่งหลังของปี และคาดว่าปี 2022 ตลาดจะมีความผันผวนมากกว่าปี 2021

 

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทาเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้ ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต