BBLAM Weekly Investment Insights 14-18 พฤศจิกายน 2022

BBLAM Weekly Investment Insights 14-18 พฤศจิกายน 2022

2022 – Opportunities are never lost

INVESTMENT STRATEGY

“BBLAM” ชวนจัดทัพลงทุน RMF/SSF ส่งท้ายปลายปี เพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนยามเศรษฐกิจผันผวน โดยปรับพอร์ต “สู้เงินเฟ้อ-ดอกเบี้ยสูง” ควบคู่กับ แบ่งเงินลงทุน “เพื่อรอจังหวะตลาดหุ้นกลับมาเป็นขาขึ้นใน กลุ่มเทคฯ และ กลุ่มรักษ์โลก และสะสมเพิ่ม หุ้นเวียดนาม”

ปรับพอร์ต “สู้เงินเฟ้อ-ดอกเบี้ยสูง”

BBLAM ชวนปรับพอร์ตลงทุนกองทุน RMF/SSF ส่งท้ายปลายปี 2565 “สู้เงินเฟ้อ-ดอกเบี้ยสูง” รับประโยชน์ 2 ต่อ ลดหย่อนภาษีประจำปี และรับผลตอบแทนดีๆ ถึงแม้ว่า ตลาดหุ้นทั่วโลกจะยังอยู่ในช่วงผันผวนอยู่มาก แนะนำ

  • กองทุน MM-RMF ลงทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ช่วยพักเงินรอโอกาสสดใส
  • กองทุน B-GLOB-INFRARMF และ B-GLOB-INFRASSF ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานผลตอบแทนดี เพิ่มโอกาสเอาชนะ “เงินเฟ้อ” รวมทั้ง
  • กองทุน BCARERMF และ BCARESSF สร้างผลตอบแทนระยะยาว ทุกสถานการณ์ มีความต้องการใช้จากผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง

ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจโลกปัจจุบันอยู่ในภาวะผันผวน ประเทศอุตสาหกรรมหลักหลายประเทศมีโอกาสสูงที่จะเข้าสู่ “ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ” ในปีหน้า ขณะที่ การต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ธนาคารกลางหลักๆ ของโลก นำโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ต้องเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อชะลอเงินเฟ้อไม่ให้ติดลมบน ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกต้องเผชิญกับภาวะอัตราดอกเบี้ยสูง ซ้ำเติมความเปราะบางที่มีอยู่แล้วให้เพิ่มขึ้น

แต่ภายใต้ปัจจัยลบเหล่านี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ BBLAM ประเมินว่า เป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะชวนผู้ลงทุนเริ่มต้น “ปรับพอร์ต” การลงทุนในช่วงปลายปี ด้วยการลงทุนในกองทุนเพื่อการลดหย่อนภาษี RMF/SSF ที่มีความหลากหลาย เพื่อให้สามารถรับมือกับความผันผวนที่จะเกิดขึ้น ขณะเดียวกันยังช่วยลดหย่อนภาษี และมองหาผลตอบแทนที่ีดีกว่า มั่นคงกว่าในอนาคตได้อีกด้วย

จากการมองไปข้างหน้าในปีหน้า ภาพการลงทุนจะชัดเจนขึ้น เพราะว่า หลังจากที่ตลาดต่างๆ ปรับตัวลงมามากแล้วในระยะเวลาที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขึ้นดอกเบี้ยจาก 0.25% มาเป็น 4% แล้ว และเป็นการขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วและแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ในส่วนของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มแย่ลง แต่ภาวะตลาดจะมีความชัดเจนในการลงทุนมากขึ้น

คุณมทินา วัชรวราทร CFA®, Head of Investment Strategy บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด  กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทิศทางของเศรษฐกิจโลก และแนวโน้มการลงทุนที่จะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้นี้

ภาพการลงทุนตอนนี้ มองได้ชัดเจนกว่าตอนต้นปี โดยคาดว่าในช่วงที่เหลือของปี คือ การประชุมเดือนธันวาคม เฟดน่าจะขึ้นอีก 50 bps และ ปีหน้าอีก 1-2 ครั้ง 25 bps จะทำให้ดอกเบี้ยในปีหน้าขึ้นไปถึงระดับสู่ 4.75% – 5% ซึ่งเป็นสิ่งที่ตลาดคาดหวัง ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI ) หรืออัตราเงินเฟ้อ แม้ในระยะสั้นจะเริ่มปรับลดลง แต่เงินเฟ้อ 4-5% จะอยู่กับเราไปอีกซักพัก

โดยจากในสถิติในอดีต ถ้าเงินเฟ้อขึ้นมาในระดับเกิน 5% โดยเฉลี่ยประเทศต่างๆ ใช้เวลาเป็นสิบปีกว่าเงินเฟ้อจะเหลือ 2% เงินเฟ้อหากปรับตัวขึ้นไปสูงแล้ว โอกาสที่ลดลงมาค่อนข้างยาก และตามสถิติในอดีต กว่าที่ CPI จะลดลงจาก 8% ไปต่ำกว่า 6% จะใช้เวลาประมาณ 2 ปี หลังจากนั้น CPI มันก็จะไม่ลง เงินเฟ้อจะอยู่ที่่ระดับประมาณ 5-6% ไปอีก 3 ปี

อย่างไรก็ตาม ช่วงที่ผ่านมา ข่าวร้ายได้เข้าไปอยู่ในราคาตลาดมากแล้ว ไม่ว่าจะดูจาก flow เงินในปีนี้ เงินไหลเข้าบอนด์สูงกว่าหุ้น กองทุนก็หันไปซื้อบอนด์ หุ้น bull-bear indicator แบบใกล้ศูนย์มาจะเกือบปีแล้ว แปลว่า ตลาดซึมซับข่าวร้ายมาเยอะมาก ทำให้คิดว่าปีหน้า เราจะเจอกับตลาดที่ rebound กลับมาได้บ้าง แม้จะยังไม่ใช่ขาขึ้นแบบกระทิง เพราะเราอยู่ในเศรษฐกิจถดถอย แต่ถ้าดูสถิติในอดีต ตลาดจะปรับตัวเป็นขาขึ้นได้ตอนที่เศรษฐกิจถดถอยยังไม่จบ แต่ตลาดจะปรับตัวขึ้นตอนที่เฟดใกล้ๆ ลดดอกเบี้ยแล้ว ณ วันนี้ เรายังไม่ถึงจุดนั้น แต่ เราต้องมีหุ้นไว้ เพราะขาขึ้นครั้งแรกจะเร็ว และมากที่สุด

ปรับพอร์ตเพิ่มความมั่นคงรับมือ “เศรษฐกิจถดถอย”

ถ้าจะให้จำกันง่าย ๆ ในขณะนี้เรากำลังอยู่ในโลก 5% คือ ในยุคเงินเฟ้ออาจจะยังไม่ปรับลดโดยอยู่ที่ระดับ 5%, อัตราดอกเบี้ยของเฟดก็อาจจะปรับไปอยู่ที่ระดับ 5% และอัตราว่างงานที่อาจจะขึ้นไปถึง 5% ซึ่งหมายความว่า พอร์ตลงทุนของเราไม่ว่าจะเป็น RMF หรือ SSF ต้องพร้อมสู้เงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยสูง

ดังนั้น ในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ สำหรับนักลงทุนที่กำลังคิดอยู่ว่าจะต่อยอดการลงทุนด้วยกองทุน RMF และ SSF กองอะไรดี BBLAM จะมาชวนจัดพอร์ต “สู้เงินเฟ้อ” และ “ดอกเบี้ยสูง” พร้อม “สะสมเงินลงทุนเพื่อรอจังหวะพุ่งทะยาน”

กองแรกเพื่อรับมือภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีโอกาสถดถอยอย่างวันนี้ พอร์ตกองทุนที่น่าจะต้องมีแน่ ๆ คือ กองทุน MM-RMF  (กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ) กองทุนที่เน้นลงทุนตราสารหนี้คุณภาพระยะสั้น เพื่อให้นักลงทุนใช้สำหรับพักเงิน เพื่อให้ค่อย ๆ ทยอยนำเงินออกมาลงทุนในกองทุนอื่น ๆ ที่จะแนะนำต่อไป

“เงินสดถือเป็นที่พักเงินที่ดี ก่อนนำเงินไปลงทุน เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าการถือเงินสดจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีในช่วงที่เงินเฟ้อสูง เพราะเงินเฟ้อทำให้ค่าของเงินลดลง แต่ในยามที่สภาวะตลาดหุ้นผันผวนเช่นนี้ เราแนะนำให้ถือเงินสด เพื่อรอจังหวะที่จะเข้าลงทุนอีกครั้ง กองทุน MM-RMF ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ที่สำคัญก่อนหน้านี้การลงทุนพันธบัตรอาจจะดูไม่น่าสนใจ แต่ต่อจากนี้ พันธบัตรจะมีความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น  เห็นได้จาก ผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ 2 ปี ตอนนี้ คือ 4.4 % แต่ตลาดหุ้นให้ปันผลเฉลี่ย 2.8% เพราะฉะนั้น ในระยะต่อไป ถ้าพันธบัตรปรับตัวขึ้นจนพีคแล้ว พันธบัตรจะดูน่าสนใจทันที ทำให้มุมมองการจัดพอร์ตตอนนี้เราปรับน้ำหนักการลงทุนของส่วนพันธบัตรของอเมริกาขึ้นมา”

สู้ยุค “เงินเฟ้อ-ดอกเบี้ยสูง” ลงทุนอย่างไร?

ส่วนการลงทุนเพื่อสู้เงินเฟ้อสูง และดอกเบี้ยสูงนั้น กองถัดมาที่ BBLAM แนะนำกองทุนสู้เงินเฟ้อ คือ B-GLOB-INFRARMF (กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล อินฟราสตรัคเจอร์ เพื่อการเลี้ยงชีพ) และ B-GLOB-INFRASSF (กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล อินฟราสตรัคเจอร์ เพื่อการออม) โดยกองทุน Legg Mason ClearBridge Global Infrastructure Income Fund  ซึ่งเป็นกองทุนหลักจะเข้าลงทุนในหุ้นของธุรกิจสาธารณูปโภคที่มีโครงสร้างรายได้อ้างอิงกับเงินเฟ้อ

ทั้งนี้ กองทุนมีเป้าหมายที่จะเอาชนะเงินเฟ้อเฉลี่ยของประเทศในกลุ่ม G7 ที่อยู่ในระดับ +5.5% ดังนั้น กองทุนนี้ เป็นกองทุน inflationary hedge หรือ ป้องกันเงินเฟ้อได้ และตั้งแต่กองทุนก่อตั้งมาในปี 2010 ซึ่งถ้าดูผลตอบแทนปีต่อปี ก็พบว่า สามารถทำได้ดีกว่าดัชนีชี้วัดที่เป็นเงินเฟ้อประเทศในกลุ่ม G7 +5.5% เกือบทุกปี ยกเว้นปี 2558 และปี 2561 

เราต้องหาสินทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์กับสินทรัพย์อื่นน้อยๆ มาช่วยกระจายพอร์ต อย่างเช่น หุ้นที่เป็นกลุ่มพลังงาน สินค้าโภคภัณท์ และโครงสร้างพื้นฐาน ณ จุดนี้ เราแนะนำกองทุนกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค Utilities เพราะในกลุ่มนี้ ถ้าเราย้อนกลับไปในช่วงที่เงินเฟ้อสูง จะเป็นช่วงที่กลุ่มนี้สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีได้ และช่วยกระจายความเสี่ยงได้ด้วย  ซึ่งคำตอบก็คือกอง B-GLOB-INFRA” 

ส่วนการลงทุนในยุคดอกเบี้ยขาขึ้น BBLAM ขอแนะนำกองทุนลงทุนหุ้น Defensive ที่ทนต่อภาวะดอกเบี้ยสูงได้ดีและเป็นธุรกิจที่เป็นที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นในอนาคต แนะนำ กองทุน BCARERMF (กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ เพื่อการเลี้ยงชีพ) และ BCARESSF (กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ เพื่อการออม) ซึ่งลงทุนธุรกิจด้านสุขภาพ ซึ่งนอกจากเป็นที่ต้องการขั้นพื้นฐานของทุกคนแล้ว ธุรกิจยังต่อยอดเพิ่มมูลค่าไปกันนวัตกรรมด้านสุขภาพและการรักษาโรค รวมทั้งเป็นธุรกิจที่เป็นผู้กำหนดราคาได้ด้วยตัวเอง

“ถึงแม้ภาพปีหน้าจะดูดีขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ช่วงที่ BBLAM จะแนะนำให้เพิ่มความเสี่ยงมากๆ  กองทุน RMF/SSF ที่นำเสนอให้ทั้งหมดนี้ จึงตอบโจทย์นักลงทุนที่กำลังมองหาและต่อยอดการลงทุนในกองทุนที่มีความผันผวนต่ำ ช่วยสร้างความมั่นคงยามเกษียณ ลดหย่อนภาษีได้ และมีโอกาสให้ผลตอบแทนที่ดีแม้ในช่วเศรษฐกิจถดถอย”

แบ่งเงินลงทุนกองทุน RMF/SSF เข้าธีมหุ้นเทคโนโลยี-รักษ์โลก และหุ้นเวียดนาม ที่มีโอกาสเติบโตสูง เพื่อรอจังหวะตลาดหุ้นกลับมาเป็นขาขึ้น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.bblam.co.th/bualuang-insights/bblam-investment-insights/14-18-2022-2