กองทุน B-ASEAN และ B-ASEANRMF Q2/2023

กองทุน B-ASEAN และ B-ASEANRMF Q2/2023

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN)
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

“ผู้จัดการกองทุนให้น้าหนักการลงทุนในประเทศที่มีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจโดยรวมจะปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ แม้ว่าจะยังมีความเสี่ยงในระยะสั้นอยู่”

มุมมองต่อตลาดอาเซียน
• ท่ามกลางแรงกดดันการชะลอตัวทางเศรษฐกิจโลกและเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง อาเซียนยังเป็นภูมิภาคที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มแข็งแกร่ง จากการเปิดประเทศของจีน ซึ่งจะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างมาก เป็นดีมานด์ต่อเนื่องระยะยาว ในด้านการผลิต อินโดนีเซีย ไทย และฟิลิปปินส์ มีการขยายการผลิตในเดือนเมษายน โดยไทย มีดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่เป็นดัชนีที่สะท้อนภาคการผลิตและภาคบริการในเดือนเมษายนสูงถึง 60.4 ซึ่งเป็นระดับที่สูงเป็นประวัติการณ์
• อินโดนีเซีย ดาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะสามารถควบคุมได้โดยธนาคารกลาง และไม่น่าจะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุก นโยบายการปฏิรูปโดยเน้นที่อุตสาหกรรมปลายน้าให้มากขึ้น จะส่งผลดีต่อดุลบัญชีเดินสะพัด และดุลการชำระเงินในระยะกลางถึงยาว
• เวียดนาม ในช่วงครึ่งหลังปี 2023 จะเห็นการเติบโตที่มากขึ้นจากมาตรการสนับสนุนของภาครัฐ การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว การลงทุนตรงจากต่างประเทศ การพัฒนาตลาดตราสารหนี้และตลาดอสังหาริมทรัพย์ และแนวโน้มที่อาจจะปรับอัตราดอกเบี้ยในประเทศลง
• ฟิลิปปินส์ เศรษฐกิจฟิลิปปินส์เติบโต 5.5%ในปีนี้ อัตราเงินเฟ้อน่าจะลดลงในช่วงครึ่งหลังของปี
• สิงคโปร์ ตลาดแรงงานของสิงคโปร์ในปีที่ผ่านมาเติบโตได้ดี การจ้างงานทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยส่วนใหญ่เป็นการจ้างงานคนต่างชาติ แต่ความท้าทายอาจเกิดจากความผันผวนและการเติบโตที่ช้าลงของเศรษฐกิจโลกอาจส่งผลกระทบต่อตลาดในอนาคต เช่น ภาคแรงงานจะไม่สม่าเสมอในทุกภาคส่วน เช่น ส่วนภาคการบินและการท่องเที่ยวเติบโตดี ในขณะที่ภาคการผลิตอาจเติบโตได้ไม่ดีนัก เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่ลดลงและเศรษฐกิจโลกชะลอตัว


พอร์ตการลงทุน
• ผู้จัดการกองทุนให้น้ำหนักการลงทุนในประเทศที่มีแนวโน้มว่า เศรษฐกิจโดยรวมจะปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ แม้ว่าจะยังมีความเสี่ยงในระยะสั้นอยู่
• กองทุนมีน้ำหนักในหุ้นอินโดนีเซียมากที่สุด เพราะผู้จัดการกองทุนมีมุมมองเชิงบวกจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อยู่ในระดับสูงส่งผลดีต่อดุลบัญชีเดินสะพัด และได้เพิ่มน้ำหนักในอุตสาหกรรมปลายน้ำของสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะนิกเกิล เพื่อรองรับดีมานด์แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
• ในส่วนของกลุ่มอุตสาหกรรมกลุ่มการเงินมีแนวโน้มดี ทั้งปัจจัยระยะสั้นที่จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และปัจจัยระยะยาวจากการเข้ามาลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (Foreign Direct Investment) และการท่องเที่ยว
• การลงทุนที่ส่งผลเชิงบวกให้กับกองทุน คือ ให้น้ำหนักหุ้นไทยน้อยกว่าตลาด เพราะยังเห็นแรงกดดันทางการเมืองซึ่งจะทาให้ตลาดผันผวน ทั้งนี้ หุ้นไทยที่กองทุนทยอยสะสมจะเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยว เพราะยังมีปัจัยบวกจากการเปิดประเทศของจีนและวัฏจักรอัตราดอกเบี้ยในอนาคตอันใกล้นี้
• ผู้จัดการกองทุนเพิ่มน้ำหนักในหุ้นค้าปลีกของอินโดนีเซีย จากปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ผู้บริหารที่โดดเด่นและมีแนวโน้มที่จะได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นได้
• พอร์ตการลงทุนได้ลดน้ำหนักในหุ้นเวียดนามบางตัวที่อาจมีความเสี่ยงจากการส่งออกชะลอตัว และมีผลประกอบการไม่ค่อยดีนัก

Disclaimer: เอกสารนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องครบถ้วน หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ และบริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เอกสารนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มิได้มีวัตถุประสงค์ชักชวน ชี้นำ ให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจลงทุนทางการเงิน หรือการตัดสินใจในทางธุรกิจแต่อย่างใด ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังและวิจารณญาณจากการใช้ข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของเอกสารฉบับนี้

ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดาเนินงานในอนาคต