โลกหนี้ท่วมหลังวิกฤตโควิด

โลกหนี้ท่วมหลังวิกฤตโควิด

ระดับหนี้สินภาครัฐที่สูงเป็นประวัติการณ์ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่แบ่งแยกระบบการค้าโลก และความเป็นไปได้ ซึ่งยังคงมีอยู่ต่อเนื่องของผลิตภาพที่อ่อนแอและเพิ่มมากขึ้น อาจจะบังคับให้โลกยอมรับต่ออนาคตที่เติบโตช้า ซึ่งหยุดยั้งการเจริญเติบโตและการพัฒนาในบางประเทศ แม้กระทั่งก่อนที่ปัญหาดังกล่าวจะเริ่มต้นขึ้น

มุมมองที่จริงจังของเศรษฐกิจโลกหลังการระบาดครั้งใหญ่ของโควิด ซึ่งปรากฏขึ้นจากงานวิจัย จากการรวบรวมขึ้นโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาแคนซัส ซิตี้ และได้ถกอภิปรายกันที่นี่ เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยงานประชุมอภิปรายครั้งนี้ สำรวจประเด็นปัญหาหลายอย่าง เช่น มุมมองต่อนวัตกรรมทางเทคโนโลยี หนี้สาธารณะ และสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศในช่วงที่รัสเซียรุกรานยูเครน และความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีนได้กัดกร่อนข้อตกลงที่เห็นชอบร่วมกันทั่วโลกที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งในอดีต ซึ่งตามทฤษฎีระบุว่า เพื่อให้มีการกระตุ้นการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการได้อย่างอิสระ

นายปิแอร์-โอลิวิเยร์ กูรินชาส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวในการให้สัมภาษณ์กลุ่มย่อยของการประชุมเฟด ว่า “ขณะนี้หลายประเทศอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เปราะบาง พวกเขาได้ใช้ทรัพยากรทางการคลังไปจำนวนมาก เพื่อจัดการกับโรคระบาดครั้งใหญ่ จากนั้นคุณจะมีแรงขับเคลื่อนนโยบาย การแตกกระจายของภูมิเศรษฐศาสตร์ ความตึงเครียดทางการค้า การแยกตัวระหว่างชาติตะวันตกและจีน” “ถ้าเรามาอยู่ในจุดที่บางส่วนของโลกยังติดอยู่กับปัญหาที่ไม่สามารถไล่ตามทัน และมีประชากรจำนวนมหาศาล สิ่งนั้นจะก่อให้เกิดแรงกดดันด้านประชากรศาสตร์ที่มหึมา และแรงกดดันของการอพยพ”

นายกูรินชาส์ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะวางตัวเข้าสู่แนวโน้มที่ราว 3% ต่อปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่ลดลงจากเดิมมาก จากอัตราเติบโตที่อยู่เหนือกว่า 4% ที่เห็นได้จากตอนที่ความก้าวหน้าของเศรษฐกิจจีนขับเคลื่อนผลิตผลทั่วโลกให้เพิ่มสูงขึ้น และที่ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์บางส่วนพิจารณาถึงเส้นแบ่งเขตของภาวะเศรษฐกิจถดถอยในโลก ซึ่งการได้รับผลประโยชน์ที่รวดเร็วยังคงสามารถทำให้สำเร็จได้ในประเทศขนาดใหญ่และมีการพัฒนาน้อย

ประเทศจีนในขณะนี้กำลังประสบความยากลำบาก จากสิ่งที่อาจเป็นปัญหาเศรษฐกิจเรื้อรัง ซึ่งมาพร้อมกับประชากรที่กำลังหดตัว นโยบายด้านอุตสาหกรรมหลาย ๆ นโยบายที่ปรากฏออกมาในสหรัฐฯ และประเทศอื่น ๆ กำลังสั่งการครั้งใหม่ต่อห่วงโซ่การผลิตทั่วโลกในหลายวิธีการ ซึ่งอาจจะคงทนและแข็งแกร่ง หรือตอบสนองต่อเป้าหมายด้านความมั่นคงแห่งชาติ แต่ยังคงมีประสิทธิภาพที่ลดน้อยลง

การประชุมอภิปรายครั้งนี้ เป็นการประชุมสำคัญครั้งแรกที่พยายามเริ่มดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจหลังจากโรคระบาด และท่ามกลางความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นใหม่ หลังจากหลายปีที่เจ้าหน้าที่ทางการเมื่อตอนแรกหมกมุ่นกับการต่อสู้กับโควิด-19 จากนั้นจึงมุ่งความสนใจต่อปัญหาการพุ่งสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อทั่วโลก

นาย Serkan Arslanalp นักเศรษฐศาสตร์ของ IMF และนาย Barry Eichengreen ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ระบุในงานวิจัยว่า หลังจากการพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงวิกฤตการเงินโลกเมื่อ 15 ปีที่แล้ว อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตผลเศรษฐกิจโลก หรือ GDP โลกเติบโตสู่ระดับ 60% จากเดิม 40% เนื่องจากการใช้จ่ายในช่วงโรคระบาด และในขณะนี้ น่าจะอยู่ในระดับที่ซึ่งการลดหนี้อย่างเอาจริงเอาจังไม่สามารถดำเนินการได้ในทางการเมือง

ที่มา: รอยเตอร์