ตลาดหุ้นไทย เริ่มส่งสัญญาณลบอีกครั้ง
- ปัญหาราคาน้ำมันที่ถูกกดดัน ทั้งอุปสงค์ที่ลดลงจากไวรัส COVID-19 รวมทั้งการประชุมระหว่างรัสเซีย กับ OPEC+ ที่ตกลงกันไม่ได้
- ปัจจัยรุมเร้าต่างๆ ที่เข้ามาพร้อมกัน กดดันดัชนีลงแรงมาก จนน่าจะสะท้อนผลลบไปในระดับหนึ่งแล้ว
- แม้มีปัจจัยรุมเร้า แต่ก็มีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์
- แนะนำทยอยลงทุนในกองทุนรวมหุ้น ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นที่จ่ายปันผลสูง เช่น กองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาล (BSIRICG) และกองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BSIRIRMF) และกองทุนที่ไม่ได้รับผลกระทบจากประเด็นราคาน้ำมันที่ผันผวน รวมถึงได้รับประโยชน์จากภาวะดอกเบี้ยขาลง เช่น กองทุนเปิดบัวหลวงธนคม (BTK) หรือได้รับประโยชน์จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า เช่น กองทุนตระกูลปัจจัย 4 เช่น กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 (BBASIC) กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 เพื่อการเลี้ยงชีพ (BBASICRMF) และกองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 หุ้นระยะยาวปันผล (BBASICDLTF)
สำหรับ ปัจจัยราคาน้ำมันโลกปรับตัวลดลงมาค่อนข้างแรงกดดันตลาดหุ้นไทยโดยรวม ซึ่งปัจจัยลบดังกล่าวเกิดจาก ผลกระทบจากไวรัส COVID-19* นำไปสู่การปรับลดอัตราการเติบโตของความต้องการใช้น้ำมันโลกในปี 2020E และหลังจากที่การประชุมกลุ่มโอเปกที่ไม่ได้ข้อสรุปอะไร ทางรัสเซียไม่เห็นด้วยที่จะลดกำลังการผลิต ส่งผลให้ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกได้ตอบโต้รัสเซีย ด้วยการประกาศลดราคาขายน้ำมัน และยังจะมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันด้วยจึงกดดันหุ้นในกลุ่มพลังงาน กลุ่มปิโตรเคมีและกลุ่มโรงกลั่น
กองทุนที่ได้รับผลกระทบจากหุ้นกลุ่มดังกล่าว ได้แก่ กองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐาน (B-INFRA) กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นธรรมาภิบาลไทย (B-THAICG) กองทุนรวม คนไทยใจดี(BKIND) กองทุนเปิดบัวแก้ว(BKA) กองทุนเปิดบัวแก้ว 2 (BKA2) กองทุนเปิดบัวแก้วปันผล(BKD) กองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุน(BCAP) และกองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาล (BSIRICG) ตามลำดับ
กองทุนที่ได้รับผลกระทบจากหุ้นกลุ่มดังกล่าวน้อยมากๆ ได้แก่ กองทุนเปิดบัวหลวงทศพล (BTP)
กองทุนที่ไม่ได้รับผลกระทบจากหุ้นกลุ่มดังกล่าว ได้แก่ กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 (BBASIC) และ กองทุนเปิดบัวหลวงธนคม(BTK) ตามลำดับ
ทั้งนี้ ในปี 2563 ตลาดหุ้นทุกแห่งทั่วโลก ให้ผลตอบแทนติดลบทั้งสิ้น ขณะที่ SET Index ปรับตัวลดลงแรงมากที่สุดเป็นอันดับที่ 7 ของโลก (ข้อมูลจาก Bloomberg เปรียบเทียบดัชนีทั้งหมดทั่วโลก 94 ประเทศ) ซึ่งการปรับฐานของตลาดหุ้นไทยที่แรงกว่าประเทศอื่นๆ เนื่องจากตลาดหุ้นไทยขาดเม็ดเงินกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่คอยหนุนเวลาตลาดหุ้นปรับฐาน และยังต้องเผชิญกับแรงขายจากเม็ดเงินลงทุน LTF ที่ซื้อสะสมมา เริ่มตั้งแต่ปี 2547- 2558 ซึ่งครบกำหนดอายุแล้ว
อย่างไรก็ตามปัจจัยรุมเร้าต่างๆ ที่เข้ามาพร้อมกัน กดดันดัชนีลงแรงมาก จนน่าจะสะท้อนผลลบไปในระดับหนึ่งแล้ว และเชื่อว่าน่าจะผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว ด้วย 4 เหตุผล ดังต่อไปนี้
- ตลาดหุ้นสะท้อนปัจจัยลบที่เราได้ปรับลดตัวเลข GDP ปี 2563 จาก 2.8% ลงมาเหลือ 1.6% มาระยะหนึ่งแล้ว พร้อมกับเชื่อว่าปัญหา COVID-19 น่าจะค่อยๆ ดีขึ้น เช่นเดียวกับทิศทาง COVID-19 ในประเทศจีน
- ติดตามการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลัง งบประมาณปี 2563 เริ่มเบิกจ่ายได้แล้ว และรัฐเตรียมกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลัง เพื่อช่วยเยียวยาผลกระทบจาก COVID-19 พร้อมกับช่วยพยุงตลาดทุนให้มีโอกาสฟื้นขึ้น จากการปรับเกณฑ์กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) เงื่อนไขใหม่ ให้มีความคล้ายคลึงกับกองทุน LTF มากขึ้น จึงน่าเชื่อว่าจะมีเม็ดเงินขับเคลื่อนเข้ามาในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น
- การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการเงิน ที่ขณะนี้หลายๆ ประเทศเริ่มทยอยปรับลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันที่ 17-18 มี.ค.นี้ ตลาดฯ คาดว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.5-0.75% และการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 12 มี.ค.นี้ ตลาดฯ คาดการณ์ว่า จะมีการออกมาตรการที่จะมากระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม รวมถึงเชื่อว่า วันที่ 25 มี.ค. 2563 คาดว่าทางคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) น่าจะลดดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 ครั้ง 0.25% มาอยู่ที่ 0.75%
- หากวิเคราะห์ Valuation ปัจจุบัน โดยพิจารณาผ่าน Market Earning Yield Gap ภายใต้ EPS63 พร้อมกับใช้ Bond Yield 1 ปี ณ ปัจจุบัน ที่ 0.81% จะได้ Earning Yield Gap ในช่วง 5.50 % ถือว่ากว้างมากเที่ยบกับค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 4.23% และเป็นระดับที่สูงมากที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตซับไพร์ม ปี 2551 แสดงให้เห็นว่า Valuation ตลาด ณ ปัจจุบัน อยู่ในระดับที่น่าสนใจ
ปัจจัยดังกล่าว รวมถึงการฝากความหวังไว้กับประชาชนและภาครัฐที่น่าจะช่วยกันป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคระบาดที่เกิดขึ้นต่อจากนี้ ทำให้เราเชื่อว่าตลาดหุ้นไทยเองในปี 2563 แม้จะผันผวนกว่าปกติ แต่น่าจะผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปได้
ด้วยเหตุนี้จึงแนะนำให้ทยอยลงทุนผ่านกองทุนรวมหุ้นที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นที่จ่ายปันผลสูง เช่น กองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาล (BSIRICG) และกองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BSIRIRMF) รวมถึงกองทุนที่ไม่ได้รับผลกระทบจากประเด็นราคาน้ำมันที่ผันผวน ทั้งยังได้รับประโยชน์จากภาวะดอกเบี้ยขาลง เช่น กองทุนเปิดบัวหลวงธนคม (BTK) หรือได้รับประโยชน์จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า เช่น กองทุนตระกูลปัจจัย 4 เช่น กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 (BBASIC) กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 เพื่อการเลี้ยงชีพ (BBASICRMF) และกองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 หุ้นระยะยาวปันผล (BBASICDLTF)
หมายเหตุ : ใช้เผยแพร่ ณ วันที่ 9 มี.ค. 2563 ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลัง
* ผลกระทบจาก COVID-19 ที่ส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักของเศรษฐกิจจีน ซึ่งจีนเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับสองของโลกคิดเป็นสัดส่วนราว 14% ของความต้องการใช้น้ำมันโลก และเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดเกือบ 11 ล้านบาร์เรล/วัน ในเดือน ธ.ค. รวมทั้งการชะงักของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก อาจส่งผลให้ความต้องการน้ำมันโลกลดลง ซึ่งทำให้หน่วยงานน้ำมันหลายแห่งปรับลดอัตราการเติบโตของความต้องการใช้น้ำมันโลกในปี 2020E ลง โดยคาดว่าความต้องการใช้น้ำมันเครื่องบินจะได้รับผลกระทบมากที่สุด