ฟินเทค คือ อะไร
เทคโนโลยีทางการเงิน (ฟินเทค) กำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงกับระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการเงินโลก นอกเหนือจากการประยุกต์ระบบสื่อสารออนไลน์มาใช้กับธุรกิจแล้ว ยังเป็นการ Disrupt ซึ่งหมายถึงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคจากแบบเดิมไปสู่สิ่งใหม่
กระแสคำว่าฟินเทคเกิดขึ้นเพราะการมาของสตาร์ทอัพบริษัทสายเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมการเงินได้อย่างรวดเร็ว และเป็นแรงผลักดันให้สถาบันการเงินอย่างธนาคารต้องเร่งคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ยกตัวอย่างเช่น TransferWise เป็นสตาร์ทอัพบริการการโอนเงินข้ามประเทศ ช่วยให้โอนเงินข้ามประเทศได้เร็วกว่า และค่าธรรมเนียมถูกกว่าใช้บริการเคาท์เตอร์ของสถาบันการเงินต่างๆ
กล่าวได้ว่า ฟินเทคก่อให้เกิดตลาดใหม่อันเกิดจากการเชื่อมกันระหว่างด้านการเงินและเทคโนโลยี เป็นส่วนผสมของกระบวนการดั้งเดิมในเรื่องทางการเงินไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ เงินทุนหมุนเวียน ซัพพลาย เชน กระบวนการชำระเงิน การฝาก/ถอน ประกันชีวิต การบริหารความมั่งคั่ง และอื่นๆ แต่แทนที่จะเป็นโครงสร้างการทำธุรกรรมแบบเดิมก็มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์แบบและสะดวกต่อผู้ใช้งานมากขึ้น
ทำไมต้องฟินเทค
- ทุกอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจาก Digitalization และ E-commerce เช่น ค้าปลีกที่ผู้บริโภคมีการบริโภคออนไลน์มากขึ้น อุตสาหกรรมบันเทิง เช่น การดูหนัง ฟังเพลง ผ่านช่องทางดิจิทัล เป็นต้น ด้านการเงินก็เช่นกัน ระบบการเงินแบบออนไลน์มีบทบาทมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมการเงินในอนาคต
- อุตสาหกรรมการเงินมีแนวโน้มตอบสนองต่อนวัตกรรมใหม่ๆ ต่างจากอุตสาหกรรมอื่น กล่าวคือ
- ผู้บริโภคมีแนวโน้มปรับตัวช้ากว่าอุตสาหกรรมอื่น เช่น หากจะให้ผู้บริโภคให้บัญชีธนาคารเป็นออนไลน์ทั้งหมด อาจจะมีบางกลุ่มที่ยังไม่สามารถปรับตัวได้
- สถาบันการเงินใช้ระยะเวลาในการปรับตัวมากกว่าอุตสาหกรรมอื่น เพราะมีความรับผิดชอบต่อลูกค้าในหลายๆ ด้าน และการปรับโครงสร้างหลักของระบบงาน (Infrastructure) อาจต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร
- หน่วยงานกลางที่ดูแลกฎระเบียบของสถาบันการเงิน มีระยะเวลาในการปรับตัวและเรียนรู้นวัตกรรมต่างๆ เพื่อให้การควบคุมกฎเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- ดังนั้น กลุ่ม Fintech สามารถเติบโตได้อีกมากในอนาคต โดยฟินเทคจะครอบคลุมทั้งระบบการชำระเงิน (Payment) การพัฒนานวัตกรรมการให้บริการกับลูกค้าในทุกด้าน (Digitalization of Financial Services) และ การลงทุนในโครงสร้างระบบงานเพื่อรองรับนวัตกรรมเหล่านั้น (Technology Infrastructure) ดังรูปด้านล่าง
- ด้านการชำระเงิน (Payment System) ในอนาคตระบบการชำระเงินแบบ cashless จะทวีคูณมากขึ้น จะมีช่องทาง/รูปแบบชำระเงินที่หลากหลาย และสกุลเงินที่เป็น Digital Currency มากขึ้น
- ด้านการให้บริการของสถาบันการเงินที่ต้องปรับให้มีนวัตกรรมใหม่ เช่น การทำธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์ การใช้เทคโนโลยีในการติดต่อลูกค้าในทุกขั้นตอน ซึ่งสถาบันการเงินมีหลายธุรกิจที่ให้บริการลูกค้า ดังนั้น นวัตกรรมใหม่นี้หมายความรวมถึงการให้บริการด้านเงินฝาก การลงทุน การบริหารความมั่งคั่ง การให้สินเชื่อ และธุรกิจอื่นๆ ของสถาบันการเงินด้วย
- ด้านการลงทุนในโครงสร้างของระบบงานหลัก ปัจจุบันระบบงานหลักของสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่ไม่สอดคล้องกับนวัตกรรมใหม่ ดังนั้นสถาบันการเงินมีแนวโน้มจะลงทุนในระบบงานหลักในอนาคตอันใกล้นี้ และต้องมีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์รองรับด้วย
ฟินเทค ใน B-FUTURE
กองทุน B-FUTURE มีแนวคิดการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ๆ และการบริโภคในอนาคต หรือ “Future of Everything” จึงเห็นว่า แนวคิดฟินเทค เป็น Sub-Sector ที่น่าสนใจ มีแนวโน้มเติบโตที่ดีในอนาคต
เมื่อพิจารณาการลงทุน B-FUTURE ในปัจจุบัน มีการลงทุนที่เน้นแนวคิดด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และ การบริโภคในอนาคต ซึ่งมีทั้งลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศและลงทุนตรงในหุ้นนั้น ผู้จัดการกองทุนเห็นว่าการเพิ่ม Sub-Sector ที่เกี่ยวข้องกับฟินเทค จะเพิ่มโอกาสให้กองทุนมีผลตอบแทนที่ดีขึ้น ในช่วงนี้ที่ตลาดมีความผันผวนและราคาหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวขึ้นมามากแล้ว ฟินเทคเป็น Sub-Sector ที่ราคายังขึ้นมาไม่มากนักและมีความผันผวนน้อยกว่ากลุ่มอื่นที่เป็นหุ้นเทคโนโลยีเหมือนกัน ดังนั้น การเพิ่ม Sub-Sector ที่เป็นฟินเทค จะช่วยลดความผันผวนของผลการดำเนินงาน จากการที่ราคาหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีอื่นปรับตัวสูงขึ้นมาก โดยยังคงแนวคิดหลักของกองทุนที่เน้นลงทุนในนวัตกรรมและการบริโภคในอนาคต ในช่วงแรกผู้จัดการกองทุนจะทยอยเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในฟินเทค ประมาณปลายปีนี้ และจะติดตามสถานการณ์การลงทุนอย่างใกล้ชิดต่อไป
สัดส่วนการลงทุน B-FUTURE ณ 31 สิงหาคม 2563