หุ้นกลุ่มไหนต้องมี เมื่อสหรัฐฯ ทุ่มฟื้นเศรษฐกิจ

หุ้นกลุ่มไหนต้องมี เมื่อสหรัฐฯ ทุ่มฟื้นเศรษฐกิจ

สรุปความสัมภาษณ์

กองทุนบัวหลวงกำลังเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) กองทุนเปิดบัวหลวงยูเอสอัลฟ่า (B-USALPHA) ระหว่างวันที่ 17-24 ส.ค. นี้ ซึ่งกองทุนนี้ไปลงทุนในหุ้นเติบโต (growth stocks) ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ผ่าน JPMorgan Funds – US Growth Fund ไม่ต่ำกว่า 80% ของ NAV ในวันนี้คุณเอนีส ตียาสิริ ผู้อำนวยการ Executive Director, South East Asia Funds and Institutional, JP Morgan Asset Management จะมาเล่าให้ฟังว่า หุ้นกลุ่มไหนต้องมี เมื่อสหรัฐฯ ทุ่มฟื้นเศรษฐกิจ

Q : มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ให้ประโยชน์ยังไง และ sector ไหนที่จะได้ประโยชน์จากมาตรการนี้และน่าสนใจลงทุน

A : ถ้าดูแผนกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นแค่แผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่ถ้าดูทั้งหมดที่สหรัฐฯ อัดฉีดเงินเข้าไปใน 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา มีประมาณ 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งรวมถึงมาตรการ stimulus check ซึ่งเป็นการแจกเช็คเงินสดให้ประชาขนไว้ใช้จ่าย การเลื่อนชำระหนี้ต่างๆ เป็นการอัดฉีดมาตรการเศรษฐกิจมากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ ซึ่งไม่เคยอัดฉีดสูงขนาดนี้ และไม่ว่าจะเป็นฝั่งพรรคไหน ก็เห็นด้วยว่าต้องมีมาตรการออกมารวดเร็ว เป็นเหตุผลให้สหรัฐฯ ฟื้นตัวเร็วมาก และฟื้นเร็วสุดในรอบ 40 ปี

อย่างไรก็ตาม เราต้องโฟกัสที่มาตรการ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจาก มาตรการแจกเช็คคนอเมริกาเป็นแบบใช้แล้วหมด แต่ถ้ามาดูมาตรการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน จะเป็นเม็ดเงินที่ใช้จ่ายหลายปี

มาตรการในรอบนี้ของสหรัฐฯ เป็นมาตรการที่กว้างพอสมควร มีการปรับปรุงถนน ประปา สนามบินอยู่แล้ว แต่มีการลงทุนใน 5G เพิ่มขึ้น ลงทุนกลุ่มพลังงานยั่งยืนมากขึ้นด้วย เพราะสหรัฐฯ กลับไปลงนามในข้อตกลง paris agreement แล้ว แปลว่าสหรัฐฯ พยายามกลับมาทำให้เศรษฐกิจมีความยั่งยืน เป็นเศรษฐกิจสีเขียวมากขึ้น และรอบนี้จะมีการลงทุนในการศึกษามากขึ้นด้วย

ดังนั้นการคัดเลือกลงทุนเพื่อรับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ลงทุนค่อนข้างกว้าง จึงต้องคัดเลือกหุ้น หรือกลุ่มอุตสาหกรรม โดยดูหุ้นแบบตัวต่อตัว เพราะในกลุ่มต่างๆ ก็มีทั้งหุ้นที่ชนะและแพ้

เช่น การที่สหรัฐฯ โฟกัสเรื่องดูแลสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (climate change) และความยั่งยืนมากขึ้น หนึ่งในบริษัทที่ทาง JPMorgan ค่อนข้างชอบคือ บริษัท Deere หรือที่รู้จักในชื่อ John Deere เป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์การเกษตร เป็นบริษัทที่พยายามนำเอา ปัญญาประดิษฐ์ (AI) การเรียนรู้ด้วยเครื่องจักร (machine learning ) เข้าไปใช้ในรถแทรกเตอร์ ซึ่งถ้าเข้าไปดูวิธีที่เกษตรกรในอเมริกาใช้อุปกรณ์เหล่านี้ คือ เวลาออกไปทำการเกษตร ก็จะใช้อุปกรณ์เพื่อดูได้ว่า ในที่ดินมีจุดไหนต้องการยาฆ่าแมลง ต้องการอะไร ลงลึกรายละเอียดเลยในพื้นที่ ซึ่งถ้าไปดูชาวนาที่ใช้อุปกรณ์นี้เทียบกับกลุ่มที่ไม่ใช้ ค่าใช้จ่ายลดลงอย่างชัดเจน

อีกตัวอย่าง คือ ถ้าดูการลงทุนในเทคโนโลยี 5G และรถยนต์ไฟฟ้า(EV) ซึ่งเป็นสิ่งที่คนสนใจอยู่ แทนที่จะลงทุนใน Tesla ซึ่งตอนนี้อาจจะราคาแพงไปหน่อย คำถามคือมีบริษัทไหนที่จะได้ประโยชน์จากกลุ่มนี้ ซึ่งก็พบว่า ทุกคนต้องใช้ “ทองแดง” เพราะเป็นวัตถุดิบหลักในการลงทุนเทคโนโลยี เราก็มีการลงทุนในบริษัทเหมืองแร่ Freeport-McMoRan ซึ่งเป็นบริษัทอเมริกาที่มีเหมืองแร่ใหญ่สุดในโลกสำหรับทองแดง แม้จะดูไม่ sexy แต่ดูใน theme และ growth ก็ถือเป็นบริษัทที่มีสิ่งที่ใครๆ อาจไม่คิดถึง แต่เป็นบริษัทวัตถุดิบที่ธุรกิจใน 5G+EV ต้องใช้

ตัวอย่างสุดท้าย คือ เมื่อพูดถึงภาคการผลิตที่สหรัฐฯ ตั้งแต่อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ พยายามพูดว่า made in America เราก็พิจารณาแล้วว่าค่าแรง ประสิทธิภาพการผลิต ในหลายกลุ่มอุตสาหกรรมค่อนข้างล้าหลังเอเชียและยุโรป แทนที่จะลงทุนแรงงาน ทำไมบริษัทต่างๆ ไม่ลงทุนในบริษัทที่เชี่ยวชาญด้าน automation เพราะถ้าภาคการผลิตต้องกลับมาสหรัฐฯ ก็ย่อมอยากจะลงทุนใน automation มากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนระยะยาว

ด้วยเหตุนี้ automation น่าจะเป็น theme ใหม่ระยะยาว ที่อดีตอเมริกาอาจไม่ได้ลงทุนมาก เพราะ outsource ไปเอเชีย แต่ตอนนี้ต้องลงทุน ซึ่ง JPMorgan ก็เลือกลงทุนในบริษัท Rockwell Automation ซึ่งเป็นบริษัท automation ที่จะได้ประโยชน์ตรงๆ

Q : สรุปแล้วทำไมต้องเลือกลงทุน B-USALPHA ที่ลงทุนใน JPMorgan Funds – US Growth Fund

  • ตลาดสหรัฐฯ ตอนนี้มีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจสูงสุดในรอบ 40 ปี
  • ผู้บริโภคอเมริกามีพื้นฐานทางการเงินดีมาก แข็งแกร่งมาก
  • อเมริกามีภูมิคุ้มกันหมู่ หรือ herd immunity ผ่านจุดที่แย่สุดมาแล้ว ไม่มีทางกลับไปแย่อีก
  • JPMorgan Funds – US Growth Fund เป็นกองทุน active คือมีการบริหารเชิงรุก เน้นหุ้นที่เติบโต (growth stocks) ตามวัฎจักรเศรษฐกิจ รวมทั้งโฟกัสบริษัทที่ได้ประโยชน์จากการลงทุนระยะยาว ทั้ง การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการเปลี่ยนแปลงของการบริโภค
  • กองทุนนี้เป็นกองทุนหุ้น growth ที่มี common sense ในการบริหาร คือเมื่อบริษัท Apple หรือ Microsoft ที่ถืออยู่แพงเกินไป ก็ลดสัดส่วนลง
  • กองทุนนี้มี track record มากกว่า 20 ปี เป็นกองทุนที่ได้รับการจัดอันดับจากมอนิ่งสตาร์ 5 ดาว
  • เมื่อวัดมูลค่าของกองทุนนี้ ยังถือว่าถูกกว่าหุ้นสหรัฐฯ ในขณะที่การเติบโตสูงกว่าดัชนี

/////////////////////////////////////////

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับผู้สนใจลงทุนกับ B-USALPHA 

กองทุนบัวหลวงเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) กองทุนเปิดบัวหลวงยูเอสอัลฟ่า (B-USALPHA) ระหว่างวันที่ 17-24 สิงหาคม 2564 มูลค่าการซื้อขั้นต่ำ 500 บาท พิเศษช่วง IPO คิดค่าธรรมเนียมขาย ในอัตราร้อยละ 0.75 ของมูลค่าหน่วยลงทุน

ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลรายละเอียดกองทุน B-USALPHA หรือติดต่อขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่กองทุนบัวหลวง โทร. 0 2674 6488 กด 8 และหรือดูข้อมูลได้ที่ www.bblam.co.th และหรือผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ได้แก่ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวง บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส บมจ.หลักทรัพย์โนมูระ พัฒนสิน บมจ.หลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) บมจ.หลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร บจ.หลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) บมจ.หลักทรัพย์ กรุงศรี บจ.หลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา บจ.หลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ และ บมจ.หลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย)

ลูกค้ากองทุนบัวหลวงสามารถเปิดบัญชีกองทุน รวมถึงซื้อกองทุนช่วง IPO ผ่าน Bangkok Bank Mobile Banking ได้ เวลา 8.30 – 16.00 น.

หมายเหตุ: การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน
ดังนั้นผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้