เงินเฟ้อขึ้น ดอกเบี้ยขึ้น ลงทุนหุ้นสหรัฐฯ ได้อยู่รึเปล่า

เงินเฟ้อขึ้น ดอกเบี้ยขึ้น ลงทุนหุ้นสหรัฐฯ ได้อยู่รึเปล่า

สรุปความสัมภาษณ์

เวลาได้ยินข่าวว่าเงินเฟ้อขึ้น ดอกเบี้ยสหรัฐฯ มีทิศทางขาขึ้น นักลงทุนก็มักจะเป็นกังวลว่าจะยังลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ได้อยู่หรือไม่ ถ้าทุกอย่างไปในทิศทางนี้ ในวันนี้ คุณเอนีส ตียาสิริ ผู้อำนวยการ Executive Director, South East Asia Funds and Institutional, JP Morgan Asset Management จะมาให้คำตอบกับเรา

Q : ความกังวลเงินเฟ้อและนโยบายของเฟด ในการลดอัดฉีดสภาพคล่องและการปรับขึ้นดอกเบี้ย

A : ย้อนดูปี 2020 ถ้าเราดูมาตรการของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) รอบนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นมาตรการเดียวกับ ปี 2008-2009 ทุกอย่างเหมือนเดิมแต่ scale ต่างกันมาก เป็นการลงทุนอัดฉีดเงินเข้าไปในเศรษฐกิจเยอะพอสมควร เป็นการลดดอกเบี้ยที่เร็วมากที่สุด

ทั้งนี้ เศรษฐกิจเป็นตัวชี้วัดหลัก ถ้าเศรษฐกิจฟื้น อนาคต Fed ก็ต้องขึ้นดอกเบี้ย ลดกระแสเงินที่อัดฉีดในระบบเศรษฐกิจ

ในมุมมองของเรา Fed ให้สัญญาณมาสักระยะแล้วว่า มุมมองการขึ้นดอกเบี้ยเป็นอย่างไรบ้าง แตกต่างจากปี 2013 ที่ตอนนั้นหลายฝ่ายกังวลว่าจะขึ้นดอกเบี้ยเร็วเกินไป และหุ้นลง โดยสิ่งที่แตกต่างในรอบนี้ คือ Fed เรียนรู้มาแล้วจึงมีการสื่อสารออกมาตลอด เรียกว่าสื่อสารมากด้วย

อีกสิ่งที่จะแตกต่างไป คือ ไม่ว่า Fed จะปรับขึ้นหรือลดดอกเบี้ยลง ก็เป็นสิ่งที่ตลาดรับรู้ไปก่อนแล้ว โดยคาดการณ์ว่าการทำ tapering คือลดการซื้อสินทรัพย์น่าจะเกิดขึ้นปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า ส่วนอัตราดอกเบี้ยคาดว่าจะปรับขึ้นต้นปี 2023 ซึ่งโดยรวมเรามองว่าทุกอย่าง price in ระดับหนึ่งแล้ว

คำถามต่อมาคือ ถ้าดอกเบี้ยมีแนวโน้มขาขึ้น ต้องกังวลเรื่องเงินเฟ้อไหม ก็ต้องบอกว่าไม่ต้องกังวล เพราะเฟดบอกว่ายังจัดการได้ และต้องการให้เงินเฟ้อขึ้นมาอีกหน่อย โดยอัตราเงินเฟ้อในระดับ 2% ถือว่าโอเค แต่ที่ผ่านมายังไม่ถึงระดับนี้ และเฟดยินดีที่จะให้เงินเฟ้อขึ้นมาอีกนิด

ทั้งนี้ ถ้าลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ แล้ว กังวลกับเรื่องเงินเฟ้อ และดอกเบี้ยขาขึ้น ว่าจะทำให้หุ้นได้รับผลกระทบแค่ไหน ต้องถามก่อนว่า ดอกเบี้ยขาขึ้นเพราะอะไร ถ้าเป็นเพราะเศรษฐกิจฟื้นตัวอยู่ ภาวะแบบนี้ดีต่อหุ้น

ถ้าย้อนกลับไปในปี 2013 ที่มีเหตุการณ์ taper tantrum คือ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ พุ่งขึ้นรุนแรงหลังจาก Fed ประกาศลดวงเงินซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) แล้วไปดูผลตอบแทนของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในช่วง 3-4 ปีหลังจากนั้น ซึ่งเป็นช่วงหลังจากสหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ย ก็พบว่าหุ้นสหรัฐฯ เป็นบวกมา 3-4 ปีติดต่อกันเลย

เหตุผลเพราะเศรษฐกิจฟื้นตัว เป็นสัญญาณดีมากกับหุ้นสหรัฐฯ โดยอัตราดอกเบี้ยที่สหรัฐฯ อยู่ที่ 2-2.5% เป็นช่วงที่สบายใจได้ระดับหนึ่ง แต่เมื่ออัตราดอกเบี้ยเกิน 2.5% แล้วเข้าใกล้ 3% จะเป็นช่วงที่น่ากังวลเรื่องอัตราดอกเบี้ย เพราะทำให้หนี้อาจจะแพงเกินไป อาจจะทำให้มีเหตุการณ์ผิดนำชำระหนี้ หรือไม่สามารถกู้เงินระดับนี้ได้แล้ว

อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าถ้าอัตราดอกเบี้ยไปถึงจุดนั้นแล้วจะทำให้ตลาดหุ้นลง เพราะมีหลายเหตุการณ์มากที่ตลาดยังสามารถทำผลงานได้ดี เพียงแต่อาจต้องกลับมาจับตาดูว่ามีปัจจัยอื่นๆ อะไรบ้างที่ต้องจับตามอง

ถ้ากลับมาดูอัตราดอกเบี้ย ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 0% ตลาดหุ้นก็ยังมีเส้นทางให้ทำผลการดำเนินงานที่ดีได้อีกมาก ดังนั้นไม่ต้องห่วงเรื่องอัตราดอกเบี้ยในตอนนี้

Q : ทีมผู้จัดการกองทุนมีกลยุทธ์การปรับพอร์ตลงทุนอย่างไรบ้างให้เข้ากับสถานการณ์ในสหรัฐฯ

A : กลยุทธ์ของเราเป็นบาร์เบล โดยด้านหนึ่งเราจะถือหุ้นใน Theme reopening หรือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัคซีน เฮลธ์แคร์ การลงทุนในภาคการเงิน หรือการท่องเที่ยว ซึ่งเป็น Theme ยอดนิยมในเวลานี้ แต่อีก Theme ที่เราค่อนข้างชอบ เพราะเป็น Theme สำหรับการเติบโตระยะยาว คือ กลุ่มพลังงานแสงอาทิตย์ รถยนต์ไฟฟ้า อี-เพย์เมนท์ และระบบอัตโนมัติ ดังนั้นเราก็ยังมีทั้ง 2 กลุ่มนี้ในพอร์ต

จริงๆ แล้วสิ่งที่เราชอบในพอร์ต สามารถแบ่งออกมาได้เป็น 4 theme หลัก

1.เรากำลังจะขายทำกำไรหุ้นที่ทำผลการดำเนินงานได้ดี เพราะบริษัทอเมริกาบางตัวค่อนข้างแพงพอสมควร เช่น Apple หรือ Microsoft ซึ่ง ณ เวลานี้ เป็นหุ้นที่ลดน้ำหนักการลงทุนมากที่สุดในพอร์ต ซึ่งหุ้นเหล่านี้ เราถือมาในพอร์ตเกือบ 10 ปีแล้ว จึงทำกำไรได้มากพอควร อย่างไรก็ตามเราไม่ได้ขายหุ้นออกหมด แค่ปรับสัดส่วนลดลงในพอร์ต เพราะอย่างไรก็ตามมองว่ายังต้องถือหุ้นเหล่านี้ไว้อยู่ เพราะระยะยาวกลุ่มนี้ก็ยังทำผลการดำเนินงานได้ เพียงแต่เวลานี้มีโอกาสในหุ้นกลุ่มอื่นที่ทำผลการดำเนินงานได้ค่อนข้างดี ซึ่งเราพยายามหาหุ้นที่จะเป็นตัวต่อไปที่เป็นยักษ์ใหญ่แบบ Amazon ได้

2.กลุ่มโฆษณาดิจิทัล เพราะเทรนด์การสื่อสารทุกอย่างเปลี่ยนไป กลุ่มคนมิลเลนเนียลค่อนข้างคุ้นเคยกับโฆษณาดิจิทัล แล้ว แต่การแพร่ระบาดเปลี่ยนให้ทุกกลุ่มอายุมาใช้ออนไลน์ ซึ่งถ้าดูประเทศที่กลับมาเปิดเศรษฐกิจแล้ว พบว่า เทรนด์การบริโภคออนไลน์ไม่ได้ลดลงเลย แต่เป็นการเปลี่ยนถาวร ดังนั้นวิธีที่เราลงทุนเพื่อรับประโยชน์ Theme นี้คือ ดูบริษัทที่มีโฆษณาบนแพลตฟอร์มออนไลน์ว่า ใครได้ประโยชน์มากที่สุด หนึ่งในตัวที่ชอบคือ snapchat แต่เรามองว่า เขาได้ประโยชน์จากจำนวนประชากรที่ใช้งานค่อนข้างสูง

3.กลุ่มการเงิน โดยด้านหนึ่งก็มีหุ้น old school financial เช่น Morgan Stanley แต่อีกด้านก็มี Paypal และ Square ซึ่งเป็นออนไลน์ เพย์เมนท์ ถือว่าค่อนข้างครบวงจร มีทั้งรูปแบบเดิมและการเปลี่ยนแปลงด้านการใช้จ่ายของผู้บริโภคอยู่ในพอร์ตเดียว

4.บริษัทที่ใช้เทคโนโลยีในการเติบโตมากขึ้น เช่น Zillow บริษัทที่ทำการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ ที่ทำทุกอย่างผ่านออนไลน์ทั้งหมด ซึ่งเวลานี้การปรับใช้ Zillow เพิ่มขึ้นถึงจุดที่คนอเมริกาใช้คำว่า Zillow เป็นคำกริยาแทนคำว่าการซื้อบ้านแล้ว

////////////////////////////////////////////////////

สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ กองทุนบัวหลวงกำลังเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) กองทุนเปิดบัวหลวงยูเอสอัลฟ่า (B-USALPHA) ระหว่างวันที่ 17-24 ส.ค. นี้ ซึ่งกองทุนนี้ไปลงทุนในหุ้นเติบโต (growth stocks) ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ผ่าน JPMorgan Funds – US Growth Fund ไม่ต่ำกว่า 80% ของ NAV

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับผู้สนใจลงทุนกับ B-USALPHA 

มูลค่าการซื้อขั้นต่ำ 500 บาท พิเศษช่วง IPO คิดค่าธรรมเนียมขาย ในอัตราร้อยละ 0.75 ของมูลค่าหน่วยลงทุน

ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลรายละเอียดกองทุน B-USALPHA หรือติดต่อขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่กองทุนบัวหลวง โทร. 0 2674 6488 กด 8 และหรือดูข้อมูลได้ที่ www.bblam.co.th และหรือผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ได้แก่ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวง บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส บมจ.หลักทรัพย์โนมูระ พัฒนสิน บมจ.หลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) บมจ.หลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร บจ.หลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) บมจ.หลักทรัพย์ กรุงศรี บจ.หลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา บจ.หลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ และ บมจ.หลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย)

ลูกค้ากองทุนบัวหลวงสามารถเปิดบัญชีกองทุน รวมถึงซื้อกองทุนช่วง IPO ผ่าน Bangkok Bank Mobile Banking ได้ เวลา 8.30 – 16.00 น.

หมายเหตุ: การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน
ดังนั้นผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้