B-SIPRMF และ B-SIPSSF ลดหย่อนภาษีพร้อมเติบโตกับนวัตกรรมดูแลโลก

B-SIPRMF และ B-SIPSSF ลดหย่อนภาษีพร้อมเติบโตกับนวัตกรรมดูแลโลก

สรุปความสัมภาษณ์ 

คุณมทินา วัชรวราทร CFA® 

Head of Investment Strategy กองทุนบัวหลวง

การลดโลกร้อนเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ เพราะว่าโลกร้อนขึ้น ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคนบนโลก ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ไฟไหม้ อากาศเปลี่ยนแปลง โดยเวลานี้ 196 ประเทศทั่วโลก ตกลงร่วมกันในความร่วมมือปารีส หรือ Paris Agreement ว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเหลือศูนย์ให้ได้ภายในปี 2050

ทั้งนี้ เรื่องพลังงานสะอาด มีปัจจัยสนับสนุนมากมายที่ทำให้พลังงานสะอาดจะต้องเกิดขึ้น และเราต้องร่วมมือกันช่วยกันลดโลกร้อนให้ได้ โดย IEA หรือ International Energy Agency เพิ่งออกมาเรียกร้องให้แต่ละประเทศเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในพลังงานสะอาด เพื่อต่อสู้กับโลกร้อน เพราะการลงทุนในเวลานี้ยังไม่ไม่เพียงพอที่จะไปถึงเป้าหมายที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050

ขณะที่ เดือน พ.ย. นี้ จะมีการประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ หรือ COP26 ซึ่งเป็นการประชุมที่ผู้นำทั่วโลกจะเข้าร่วมการประชุมเพื่อพูดคุยเรื่องพลังงานสะอาดและทบทวนว่าแต่ละประเทศมีการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างไรกันบ้าง ประสบความสำเร็จหรือไม่สำเร็จอย่างไร

สิ่งที่นักลงทุนต้องจับตาดูจากการประชุมครั้งนี้ คือ เราคาดว่าจะต้องมีนโยบายที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมออกมา เราน่าจะได้เห็นรัฐบาลเพิ่มสัดส่วนการลงทุนไปในพลังงานสะอาดมากขึ้น ส่วนประเทศหรือบริษัทที่ยังคงปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น่าจะต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายที่แพงขึ้นไปอีก นอกจากนี้เราคาดว่า น่าจะมีเทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวกับเรื่องพลังงานสะอาด ทยอยออกมา ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตพลังงานสะอาดถูกลงเรื่อยๆ

การประชุมครั้งนี้สำคัญ เพราะว่า ถ้าเราไม่ลงมือทำตอนนี้ เป้าหมายที่เราเคยตั้งไว้ Paris agreement ที่พยายามจะให้โลกอุณหภูมิ ไม่สูงเกิน 1.5 องศาให้ได้ มันจะไม่สำเร็จ จากการประชุมครั้งที่แล้วตอนปี 2015 ประเทศต่างๆ ก็ต้องส่งรายงานว่า action plan คืออะไร และมีการทบทวนทุกเป้าหมายนี้ ทุกปี และ cop 26 นี้แหละเป็นการมา review ครั้งแรกว่า ผ่านมาห้าปีแล้ว แต่ละประเทศได้ทำอะไรไปบ้าง

เพราะฉะนั้น เราก็มองว่า เรื่องพลังงานสะอาด มีปัจจัยส่งเสริมเต็มไปหมด นอกจากนี้ยังเป็นเทรนด์ที่มีความร่วมมือระดับโลก ระดับประเทศ ผู้นำแต่ละประเทศเอาด้วย ส่วนเอกชนก็ร่วมลงทุน  ดังนั้นเรื่องนี้จะกลายเป็นเทรนด์ใหญ่มากๆ ของการลงทุน และนี่เพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น

ทั้งนี้ กองทุนบัวหลวง ก็มีกองทุนเปิดบัวหลวงยั่งยืน หรือ B-SIP ที่ลงทุนในเมกะเทรนด์นี้อยู่แล้ว และล่าสุดก็เตรียมเสนอขายกองทุนเปิดบัวหลวงยั่งยืนเพื่อการออม (B-SIPSSF) และกองทุนเปิดบัวหลวงยั่งยืนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-SIPRMF) ออกมา ซึ่งมีนโยบายลงทุนเหมือนกันกับ B-SIP

หลักการลงทุน ก็คือการเลือกหุ้นที่มีส่วนช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หุ้นเกี่ยวกับพลังงานสะอาด และหุ้นที่สร้างผลบวกต่อสิ่งแวดล้อม โดยหุ้นเหล่านี้ต้องมีคุณภาพ ทั้งด้านรายได้ กำไร และผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น คำนึงถึงมูลค่าที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ลงทุนมั่นใจได้ว่าเป็นการลงทุนในบริษัทที่ Green และ Great Return ก็คือแก้ปัญหาให้โลก และมีโอกาสให้ผลตอบแทนที่ดีด้วย

ทั้งนี้กองทุนจะเน้นลงทุนหุ้นเติบโต โดยลงทุนผ่านกองทุนของ Pictet ซึ่งปัจจุบันลงผ่าน 2 กองทุนด้วยกัน คือ Pictet Global Environmental Opportunities ซึ่งเน้นลงทุนในบริษัทที่ดูแลสิ่งแวดล้อมทุกด้าน และ Pictet – Clean Energy ซึ่งลงทุนในบริษัทที่เน้นการเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงาน

สำหรับตัวอย่าง 5 บริษัทที่ตรงกับแนวคิด Green ก็คือส่งผลดีกับสิ่งแวดล้อม และ Great Return คือมีโอกาสที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีไปด้วย ซึ่งก็เป็น B-SIP ลงทุนอยู่ผ่านกองทุนของ Pictet ได้แก่
1.Orstred บริษัทสัญชาติเดนมาร์ก ผู้ผลิตพลังงานลมนอกชายฝั่งที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งพลังงานสะอาดก็ถือเป็นส่วนสำคัญเลยที่จะช่วยลดโลกร้อนได้ โดยบริษัทส่งออกพลังงานลมออกไปทั่วโลก
2.Top Build บริษัทผลิตวัสดุสร้างบ้านที่ช่วยให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการใช้พลังงานภายในบ้านลง
3.Equinix ซึ่งเป็นบริษัท data center ที่หาวิธีประหยัดพลังงานด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียนในคลังสินค้า
4.Beyond Meat บริษัทผลิตเนื้อที่ไม่ได้ทำจากเนื้อ ที่เริ่มต้นธุรกิจจากความต้องการลดโลกร้อน เพราะการเลี้ยงสัตว์ทำให้สูญเสียพื้นที่ป่า แถมยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงด้วย
5.Aptiv เป็นบริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ออกแบบและผลิตอุปกรณ์ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เป็นต้น

นักลงทุนที่สนใจจะลงทุนในกองทุน B-SIPSSF และ B-SIPRMF สามารถซื้อได้ในช่วงเสนอขายครั้งแรก (IPO) ตั้งแต่วันที่ 26 ต.ค. – 2 พ.ย. นี้

สามารถลงทุนง่าย ผ่าน “โมบายแบงก์กิ้ง จาก ธนาคารกรุงเทพ” และ “แอพพลิเคชั่นลงทุน” ของตัวแทนขายที่ได้รับการแต่งตั้ง
ตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้ง ได้แก่
บมจ.ธนาคารกรุงเทพ โทร. 1333
บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวง โทร. 0-2231-3777 or 0-2618-1000
บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต โทร. 0-2777-8999
บมจ.หลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน โทร. 0-2638-5500
บจ.หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส โทร. 0-2680-1234
บมจ.หลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) โทร. 0-2635-1700
บมจ.หลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร โทร. 0-2305-9449
บจ.หลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) โทร. 0-2657-7000
บมจ.หลักทรัพย์ กรุงศรี โทร. 0-2659-7000
บจ.หลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา โทร. 0-2026-5100 กด 1
บมจ.หลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) โทร. 0-2658-8889
หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองทุนบัวหลวง โทร. 0-2674-6488 กด 8
การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง คำเตือนที่สำคัญ และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุน RMF หรือ SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้นผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้