
เหตุผลส่วนหนึ่งมาจาก “ความกลัว” จากการที่เฟดได้ประกาศขึ้นดอกเบี้ย แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทางเฟดประกาศขึ้นดอกเบี้ย ฉะนั้น เรื่องนี้อาจไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลใจมากนัก

BBLAM ได้ทำการ Check สุขภาพประจำปี ในแถบ “เอเชีย” โดยวิเคราะห์ 3 ปัจจัย ได้แก่

สำหรับครั้งนี้ปัญหาเรื่องเงินเฟ้อ นับเป็นที่น่ากังวลใจของฝั่งตะวันตกมากกว่าฝั่งเอเชีย อย่างไทยเราในสิ้นปีนี้ คาดว่าเงินเฟ้อจะอยู่ที่ระดับ 2.2% เวียดนาม 2.6% อินโดนีเซีย 3.1% และอินเดียที่มีเงินเฟ้อสูง 5.5% แต่หากเทียบกับปี 2013 ที่สูงถึง 9.9% นั้น ครั้งนี้ก็ถือว่าต่ำอยู่มาก

หากมองดูที่ตัวเลขการส่งออก และอัตราการเติบโตของดุลการค้า จะพบว่า ประเทศเวียดนาม มีการส่งออกเติบโตอยู่ที่ 21% ประเทศไทยมีการส่งออกเติบโต 17% สูงที่สุดในรอบ 10 ปี และในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา อินโดนีเซีย ส่งออกเพิ่มขึ้น 35%

หากมีความจำเป็นที่ต้องนำเข้าหลาย ๆ เดือนติดต่อกัน เงินทุนที่สำรองอยู่จะพอหรือไม่ ในเรื่องนี้ก็ไม่เป็นที่น่ากังวลใจใด ๆ เพราะเมื่อเทียบกับปี 2013 นั้น ประเทศในอาเซียนเหล่านี้มีความแข็งแกร่งอยู่มาก
– อินโดนีเซีย มีเงินทุนสำรองอยู่ที่ 9 เดือน
– ไทย มีเงินทุนสำรองต่อการนำเข้าอยู่ที่ 11 เดือน
– เวียดนาม มีเงินทุนสำรองอยู่ที่ 4 เดือน ซึ่งเพิ่มขึ้นมา 5 เท่า
– อินเดีย มีเงินทุนสำรองเพิ่มขึ้นมา 2 เท่าจากปี 2013
เรียกว่า…รวม ๆ ทั้ง 3 ปัจจัยนี้แล้ว จะพบว่าปีนี้ประเทศที่อยู่ในแถบเอเชียมีความแข็งแกร่งค่อนข้างสูง และสามารถต้านทานความผันผวนจากฝั่งตะวันตกได้ดี

– ค่าเงินบาทของไทยที่อ่อนค่าไปถึง 10%
– ค่าเงินเปโซ ฟิลิปปินส์ อ่อนค่าไป 6%
– ค่าเงินริงกิตของมาเลเซีย อ่อนค่าไป 3.5%
– ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซีย อ่อนค่าไป 2%
ซึ่งนั่นหมายความว่า เงินได้ไหลออกไปตั้งแต่ปีที่แล้วแล้ว

ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่า คนที่มีความกังวลหรือคนที่กลัวอยู่ อาจขายไปหมดแล้วตั้งแต่ปีที่แล้ว หากเป็นเช่นนั้น ปีนี้อาจกลายเป็นโอกาสที่จะกลับมารอซื้ออีกครั้ง


ซึ่งตอนนี้ BBLAM มีกองทุน B-ASIA ที่ถือหุ้นธนาคารทั่วเอเชียอยู่ที่ 23% โดยที่สไตล์การลงทุนของกองนี้ จะเลือกหุ้นคุณค่า (Value) เป็นส่วนมาก
ตัวอย่างเช่น ธนาคาร ICICI ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของอินเดีย และมีสาขาทั่วเอเชีย
หุ้นตัวนี้ทาง BBLAM มองว่าเป็นตัวอย่างของหุ้น Value
เนื่องจากล่าสุดในปีที่แล้ว ธนาคารได้ประกาศงบออกมาซึ่งเติบโตได้มากถึง 25% และหุ้นตัวนี้เองที่ กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชีย หรือ B-ASIA ได้ถือครองมาเป็นอันดับหนึ่ง
โดยรวมแล้วเมื่อเอเชียมีโอกาสให้ผลตอบแทนที่ดีในช่วงที่เฟดขึ้นดอกเบี้ย สุขภาพเศรษฐกิจก็ดี ถ้าข้ามผ่านเรื่องยูเครนไปได้ เอเชียก็น่าจะฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง ดังนั้นใครที่ยังไม่เคยมีการลงทุนในเอเชียอยู่ในพอร์ต ก็ควรเริ่มมีเอเชียบ้างแล้วในฝั่งสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่ง B-ASIA ก็เป็นทางเลือกสำหรับนักลงทุนที่กำลังสนใจเอเชียอยู่ หรือถ้าอยากลงทุนในเอเชียด้วย และได้ประหยัดภาษีไปด้วย ก็สามารถเลือกลงทุนกับ B-ASIARMF ได้
– ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม กองทุน B-ASIA และ B-ASIARMF ได้ที่ https://www.bblam.co.th/…/foreign…/b-asia/summary
สุดท้ายแล้ว
ถึงแม้ว่าปี 2565 นี้ จะเพิ่งผ่านพ้นไปเพียง 2 เดือนเท่านั้น แต่ต้องบอกว่า ปีนี้นับเป็น “โอกาสทองของการลงทุน” เลยก็ว่าได้ รวมไปถึงเศรษฐกิจไทยที่มีโอกาสกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น)
ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุน RMF ก่อนตัดสินใจลงทุน
กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมด
หรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้