By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP®
BF Knowledge Center
- จะเลือกกองทุนรวมให้ถูกใจ ต้องรู้จักตัวเองก่อน ว่าต้องการอะไร ลงทุนได้นานแค่ไหน รับความเสี่ยงได้หรือไม่
- ตอบตัวเองให้ได้ว่าต้องการลงทุนเพื่ออะไร จะทำให้เลือกกองทุนได้ถูกต้อง เช่น
- ต้องการลงทุนเพื่อเตรียมตัวเกษียณ แสดงว่าลงทุนระยะยาวได้
- ต้องการพักเงินระยะเวลาสั้นๆ แสดงว่า ไม่ควรลงทุนระยะยาวหรือลงทุนในหุ้นและกองทุนผสม ควรลงทุนเฉพาะกองทุนสำหรับบริหารสภาพคล่อง
- รู้ข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาการลงทุน เช่น
- ลงทุนได้เพียงระยะเวลาสั้นมาก ไม่เกิน 1 ปี ควรเลือกลงทุนเฉพาะกองทุนรวมตลาดเงิน กองทุนตราสารหนี้ สำหรับพักเงินหรือกองทุนตราสารหนี้แบบมีกำหนดระยะเวลาที่ระบุเวลาลงทุนไม่เกิน 1ปี
- ลงทุนได้ระยะสั้น ไม่เกิน 3ปี ควรเลือกลงทุนกองทุนตราสารหนี้ กองทุนผสมที่เน้นตราสารหนี้ ไม่ควรเลือกกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กองทุนหุ้น ทองคำ หรือกองทุนผสมที่เน้นลงทุนในหุ้น
- ตอบตัวเองให้ได้ว่าต้องการลงทุนเพื่ออะไร จะทำให้เลือกกองทุนได้ถูกต้อง เช่น
ลงทุนระยะกลาง 3-5ปี สามารถเลือกกองทุนรวมแบบผสมผสาน คือลงทุนทั้งกองทุนหุ้นและกองทุนผสม หรือเลือกกองทุนผสมที่เน้นการลงทุนในหุ้นได้ และเมื่อระยะเวลาการลงทุนสั้นลง ควรปรับเปลี่ยนกองทุนให้มีความเสี่ยงลดลงด้วย
ลงทุนระยะยาว 5ปีขึ้นไป สามารถเลือกกองทุนหุ้น หรือกองทุนผสมที่เน้นลงทุนในหุ้นได้
- รู้ว่าตนเองยอมรับความเสี่ยงได้แค่ไหน เช่น ไม่เคยลงทุนในหุ้นเลยเพราะกลัวขาดทุน ไม่ชอบความหวือหวา ไม่ขอบความผันผวนไม่แน่นอน มักจะเป็นนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ต่ำ ทั้งนี้การทำแบบประเมินความเสี่ยงพอจะช่วยประเมินความเสี่ยงในเบื้องต้นของตนเองได้
- เลือกกองทุนรวมให้ตอบโจทย์และตรงใจ ปัจจุบันกองทุนรวมมีมากมายหลายแบบ ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจและเลือกกองทุนที่ตอบโจทย์ความต้องการและข้อจำกัดของเราได้ เช่น
- เลือกกองทุนที่มีระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ก่อน
- ไม่เลือกกองทุนที่กำหนดระยะเวลาลงทุนนานเกินกว่าเวลาที่สามารถลงทุนได้
- เลือกกองทุนที่มีนโยบายเรื่องการจ่ายปันผลตรงกับความต้องการ เช่น กองทุนหุ้นที่มีนโยบายจ่ายปันผล สำหรับผู้ต้องการเงินคืนระหว่างการลงทุน ส่วนผู้ที่ต้องการเก็บออมไว้ระยะยาว ควรเลือกกองทุนที่ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล
- เลือกกองทุนที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติมอย่าง กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนรวมหุ้นระยาว สำหรับบุคคลธรรมดาที่ต้องการลงทุนระยะยาว และยอมรับเงื่อนไขการลงทุนเพิ่มเติมของกรมสรรพากรได้
- เลือกกองทุนที่มีนโยบายและแนวทางการลงทุนที่เราเข้าใจ เชื่อมั่นในแนวทางนั้นๆ และยอมรับความเสี่ยงของการลงทุนในแนวทางนั้นได้ เช่น เลือกลงทุนบัวหลวงหุ้นอาเซียน เมื่อมองเห็นโอกาสการเติบโตของหุ้นในประเทศอาเซียน และเชื่อมั่นในวิธีการลงทุนและเลือกหุ้นของกองทุนบัวหลวง
- เลือกลงทุนในกองทุนหลักที่ให้ผู้จัดการกองทุนเลือกหุ้นให้ เช่น บัวแก้ว บัวแก้วปันผล บัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ บัวหลวงหุ้นระยะยาว เมื่อเชื่อมั่นในแนวคิดและวิธีการลงทุนเลือกหุ้นของกองทุนบัวหลวง หรือเมื่อยังไม่ต้องการลงทุนในโยบายเฉพาะเจาะจงใดๆ
- เลือกใช้เทคนิคการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเอง เช่น การลงทุนแบบถัวเฉลี่ย (Dollar Cost Averaging, DCA) ที่เหมาะสำหรับผู้ไม่ต้องการลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่ในครั้งเดียว มีรายรับเป็นรายเดือนและต้องการลงทุนเป็นรายเดือน เพื่อเฉลี่ยต้นทุน ไม่ต้องเสียเวลาคอยติดตามสภาวะตลาด
- ให้เวลากับผู้จัดการกองทุนในการทำงาน ไม่จำเป็นต้องติดตามผลการดำเนินงานเพื่อปรับเปลี่ยนกองทุนบ่อยจนเกินไป ไม่จำเป็นต้องเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวของมูลค่าหน่วยลงทุนทุกวัน หรือทุกสัปดาห์ เนื่องจากการลงทุนในกองทุนรวมเป็นการลงทุนระยะยาว และมีผู้จัดการกองทุนคอยดูแลปรับพอร์ตการลงทุนตามที่เห็นว่าเหมาะสมให้แล้ว
- สามารถติดตามผลการลงทุนได้จากเอกสารที่ธนาคาร หรือกองทุนเผยแพร่ เช่น เอกสารข้อมูลรายเดือน เอกสาร Fact Sheet ของกองทุนนั้นๆ รายงานรอบระยะเวลา 6 เดือน และรายงานประจำปี หรือความเคลื่อนไหวตามช่องทางอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ช่องทางออนไลน์