BBLAM Monthly Economic Review สรุปเศรษฐกิจรายเดือน มี.ค.-เม.ย. 2023

BBLAM Monthly Economic Review สรุปเศรษฐกิจรายเดือน มี.ค.-เม.ย. 2023

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM

Bank Run อยู่หน้าฉาก
ส่วนหลังฉาก คือ ประเด็นด้าน Geopolitics


ขณะที่ ภาพของสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ยังมีความไม่แน่นอน ประเด็นเรื่องความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ก็ยังไม่จบเริ่มจากการที่ผู้นำจีนไปเยือนรัสเซีย ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะกระชับความร่วมมือด้านการค้าต่อกันและจะเพิ่มสัดส่วนการใช้การตัดจ่ายด้วยการใช้ค่าเงินสกุลท้องถิ่น (Local Currency Settlement) มากขึ้น ด้านผู้นาบราซิลและจีนอยู่ในช่วงของการเจรจาการค้า เพื่อเพิ่ม Volume การซื้อขายสินค้ากลุ่มโภคภัณฑ์เกษตร โดยบราซิลหวังตัดช่องสหรัฐฯ ในการจำหน่ายข้าวโพดไปยังตลาดเอเชีย ขณะเดียวกันผู้นำญี่ปุ่นก็ไปเยือนยูเครนในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ด้านสหรัฐฯ กำลังจะออกเกณฑ์การให้ความสนับสนุนทางด้านการเงินกับอุตสาหกรรม EV จาก Inflation Reduction Act ซึ่งในเบื้องต้นได้ระบุสองเงื่อนไขหลักว่า 1) รถ EV ที่เข้าข่ายได้รับ Tax Credit จะต้องประกอบในสหรัฐฯ และ 2) จะต้องมีสินแร่ในแบตเตอรี่จากประเทศที่มีข้อตกลงความร่วมมือทางการค้าหรือ FTA กับสหรัฐฯ ตามสัดส่วนที่กาหนด เป็นผลให้รถยนต์ EV ของแบรนด์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และประเทศในกลุ่มยุโรปไม่เข้าข่ายได้รับการสนับสนุนดังกล่าว กลุ่มประเทศผู้ผลิตที่ได้รับผลกระทบเรียกร้องให้สหรัฐฯ ทบทวนเกณฑ์อีกครั้ง จึงยังเห็นว่า ขณะที่สถานการณ์ทางการเงินเป็นความผันผวนหลัก สถานการณ์ทางการเมืองและการค้าระหว่างประเทศก็เป็นปัจจัยที่ต้องตามเช่นกัน

สำหรับประเด็นรายประเทศที่น่าสนใจ ได้แก่ ความไม่สงบในประเทศฝรั่งเศสที่มีเหตุเกิดขึ้น จากการที่นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสผลักดันการเลื่อนอายุเกษียณออกไป จากเดิมกำหนดอายุขั้นต่าไว้ที่ 62 ปี เป็น 64 ปี


เครื่องชี้เศรษฐกิจรายเดือน
ภาพเศรษฐกิจโลกส่วนใหญ่อยู่ขยายตัวในทิศทางชะลอลง มีหดตัวบ้างในบางประเทศ โดยส่วนใหญ่พบว่า การส่งออกมีส่วนกดดันการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก ส่วนประเทศที่มีกลุ่มภาคบริการและท่องเที่ยวคิดเป็นสัดส่วนใหญ่ของเศรษฐกิจ ก็ยังรับอานิสงส์ด้านบวกจากการท่องเที่ยว

สหรัฐฯ
เครื่องชี้เศรษฐกิจประจำเดือน ก.พ. ให้สัญญาณที่ปะปน โดยเครื่องชี้ที่ขยายตัวได้ดี คือ การจ้างงานภาคเอกชน (311k เมื่อเทียบกับ เดือนก่อนที่ 504k) หนุนโดยการจ้างงานในภาคบริการ เช่น กลุ่ม Reopening-related เช่น กลุ่มโรงแรมและ F&B ขณะที่ ยอดขายบ้านมือสองยังคงสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง (4.58 ล้านหลัง saar ขยับขึ้น 14.5% MoM saar) ณ ช่วงต้นเดือนมี.ค. ตลาดจึงค่อนข้างคาดหวังว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับได้ไปถึง 6% ในปี 2023

อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้ากลางเดือนมี.ค.เริ่มมีข่าวเกี่ยวกับ Silver Gate Bank (ที่ประสบกับปัญหาสภาพคล่องจากการถูกถอนเงินฝากในรูป Crypto Currency) และสถานการณ์ประทุรุนแรงมากขึ้น เมื่อลูกค้าของ Silicon Valley Bank (ที่มีลูกค้าส่วนใหญ่เป็นธุรกิจในกลุ่ม Tech ประสบกับปัญหาลูกค้าแห่ถอนเงินเช่นเดียวกัน เป็นผลให้ทั้งสองธนาคารต้องปิดตัวและเข้าสู่กระบวนการขอรับความช่วยเหลือจากทางการ สถานการณ์เริ่มทวีความรุนแรงขึ้น เมื่อหุ้นของธนาคาร Credit Suisse (เป็นธนาคารที่ประสบกับภาวะขาดทุนอย่างหนักมาระยะใหญ่แล้ว) ดิ่งลงอย่างรวดเร็วเหตุจากผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือ Saudi National Bank ปฏิเสธการเพิ่มทุน เป็นผลให้ตลาดวิตกกับสถานการณ์

แม้ว่าแต่ละธนาคารมีสาเหตุของปัญหาที่แตกต่างกัน แต่เมื่อเกิดปัญหาการถอนเงินใกล้ๆ กัน ความไม่เชื่อใจของผู้ฝากเงินต่อธนาคารจึงลุกลามบานปลายไปยังธนาคารอื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เป็นผลให้เกิดการแห่ถอนเงินฝาก กระทั่ง Credit Rating Agency หลายเจ้าออกมาประกาศพิจารณา Credit Rating ธนาคารในสหรัฐฯ
เหตุการณ์ Bank Run/Crisis ถือเป็นสถานการณ์ที่วิกฤติและมีความจำเป็นยุติให้เร็วที่สุด ทางการจึงมีความจำเป็นต้องออกมาตรการเพื่อบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์แทบจะในทันที

สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ตอนนี้ คือ พบว่าผู้ฝากเงินแห่ถอนเงินจากธนาคารขนาดเล็กและกลาง แล้วนำเงินไปฝากธนาคารขนาดใหญ่ ยิ่งเป็นภาระให้กับธนาคารขนาดใหญ่ในการบริหารจัดการเงินฝาก ซึ่งถือเป็นต้นทุนของธนาคาร

ผู้ลงทุนได้เริ่มตั้งคำถามกับคุณภาพของหุ้นกู้ที่ออกโดยธนาคารว่า จะเป็นหุ้นกู้ประเภทไหน จะได้รับความคุ้มครองหรือไม่ ขณะที่ธนาคารกำลังเผชิญกับ Cost of Funding ที่ปรับตัวสูงขึ้นจาก Credit Rating ที่อาจถูกปรับลดลง

นอกเหนือไปจากนั้น ด้วยทิศทางการดำเนินนโยบายทางการเงินยังคงเป็นดอกเบี้ยขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นอีกความท้าทายต่อธุรกิจธนาคารที่ยังต้องประสบปัญหา Mark to Market Loss ในเชิงบัญชี (จากที่ปัจจุบัน Loss ในเชิงบัญชีอยู่แล้ว 2 ล้านล้านดอลลาร์ฯ) ยิ่งเมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 25 bps ยิ่งเป็นผลให้ธนาคารประสบกับภาวะขาดทุนทางบัญชีต่อไป และนักลงทุนกลับมาตั้งคำถามว่า Fed ยังจะสามารถดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวได้ไปได้อีกนานแค่ไหน

ประเด็นคำถามถัดไป คือ Bank Run นี้จะสามารถยุติได้หรือไม่ Paul Krugman ได้ให้ความเห็นกับประเด็นนี้ว่า ทางการออกมาตรการทั้งหมดที่ควรทำแล้ว แต่ Bank จะหยุด Run ก็ต่อเมื่อ ลูกค้าหยุดตกใจ ซึ่งจะหยุดตกใจได้เมื่อไหร่นั้น ก็ยังเป็นเรื่องที่คาดเดาได้

ด้านทิศทางนโยบายการเงินนั้น คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ (11:0) ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bp สู่กรอบ 4.75-5.0% โดยมองว่า การคงนโยบายการเงินแบบคุมเข้มยังคงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อเข้าสู่เป้าหมายระยะกลางที่ 2% และยังเร็วไปที่จะสามารถคาดการณ์ผลกระทบเรื่อง Bank Run แต่ประธาน Fed คิดว่าน่าจะใช้เครื่องมือทางการเงินอื่นๆ รองรับสถานการณ์ดังกล่าวได้ โดยมองว่าสภาพคล่องที่ตึงตัวจะส่งผลต่อครัวเรือนและธุรกิจ และยังไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในขณะนี้ ทั้งนี้ เครื่องชี้เศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตด้านอุตสาหกรรมในสหรัฐฯ ได้ส่งสัญญาณการชะลอลงท่ามกลางความกดดันจากการส่งออกโลกและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเครื่องชี้ล่าสุดในเดือนก.พ.ไม่เติบโตจากปีก่อน

สภาพแวดล้อมทางการเงินในสหรัฐฯ ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อระบบสถาบันการเงิน สภาพคล่องที่ Fed ปล่อยให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราเกือบ 5% ต่อปี ต่างจากช่วง Subprime Mortgage Crisis ที่แทบจะให้ยืมสภาพคล่องใช้ได้ฟรี

สหภาพยุโรป
ตัวเลขยอดค้าปลีกในยุโรปพลิกกลับมาเป็นบวกได้ที่ 0.3% MoM (จากเดือนก่อนที่ -1.7%) หนุนจากการใช้จ่ายสินค้าประเทศ อาหาร เครื่องดื่มและบุหรี่ แม้ว่า เมื่อเทียบ YoY แล้วยังคงหดตัว แต่ก็มีพัฒนาการที่ดีขึ้น จากอัตราการหดตัวที่ลดลงที่ -2.3% YoY (เมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่ -2.8%) ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมสามารถขยายตัวได้ที่ 0.7% MoM sa จากที่หดตัวเมื่อปีก่อน โดยได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวของภาคการผลิตในเยอรมนีเป็นหลัก มองไปข้างหน้ายุโรปจะมี Upside ด้านการผลิตจากราคาพลังงานที่ลดลงและ China Reopening ส่วนตัวเลข GDP ไตรมาส 4/2023 ได้รับการปรับลงมาไม่ขยายตัวจากการประมาณการก่อนหน้าที่ 0.1% QoQ และไตรมาสก่อนที่ 0.4%

การตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางยุโรป
ECB ให้ความเห็นว่า เนื่องด้วยเงินเฟ้อน่าจะคงในระดับสูงอีกระยะหนึ่ง จึงเห็นควรให้ปรับสามอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลักขึ้น 50 bps โดยการประชุมครั้งถัดไป จะตัดสินใจปรับดอกเบี้ยตามสถานการณ์ (Data Dependent) โดยอัตราดอกเบี้ย Main Refinancing Rate จะขยับไปอยู่ที่ 3.5%, Marginal Lending Facility ขยับไปที่ 3.75% ส่วน Deposit Facility ขยับไปอยู่ที่ 3.0% ตามลำดับ

คณะกรรมการจะติดตามสถานการณ์ความตึงเครียดของตลาดอย่างใกล้ชิดและพร้อมที่จะดำเนินมาตรการเพิ่มเติม เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านการเงิน โดยคณะกรรมการ ECB เน้นย้าถึงความแข็งแกร่งของสถาบันการเงินในยุโรป ที่มีสัดส่วนทางการเงินและสภาพคล่องอย่างเพียงพอ


การประมาณการด้านเศรษฐกิจ
คณะกรรมการ ECB มองว่า อัตราเงินเฟ้อในปี 2023 จะอยู่ที่ 5.3% ก่อนที่จะลดลงอย่างมีนัยสาคัญในปี 2024-25 ที่ 2.9% และ 2.1% ตามลำดับ ด้าน GDP Growth ได้รับการปรับประมาณการขึ้นเป็น 1.0% ผลจากแรงกดดันจากราคาพลังงานบรรเทาลง และเห็นแนวโน้มขยายตัวขึ้นต่อเนื่องในปี 2024-25 ที่ 1.6% เท่ากัน หนุนโดยตลาดแรงงานที่คาดว่าจะกลับมาขยายตัวแข็งแกร่ง

โครงการเข้าซื้อสินทรัพย์ Asset Purchase Program (APP) และ Pandemic Emergency Purchase Program (PEPP) APP จะถูกปรับลงในอัตรา 1.5 หมื่นล้านยูโรต่อเดือนถึงสิ้นเดือนมิ.ย. 2023 แล้วจึงค่อยตัดสินใจ ส่วน PEPP จะ Reinvest ต่อไปจนถึงสิ้นปี 2024 นี้ และอาจจะยังมีต่อเนื่องในอนาคต แต่จะยืดหยุ่นในส่วนของขนาดและเวลาของโปรแกรมขึ้นกับสถานการณ์ในช่วงนั้นๆ


Press Conference มี 5 Key Words ได้แก่;
Fighting Inflation คือ เป้าหมายหลัก เพื่อให้เป้าหมายเงินเฟ้อระยะกลางเข้าใกล้ 2 %
Robust Decision ECB คิดว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเท่านี้เหมาะสมแล้ว
European Banking Resilient สถาบันการเงินในยุโรปมีความแข็งแกร่ง มีสัดส่วนทางการเงินตามเกณฑ์ และไม่มีปัญหาด้านสภาพคล่อง
No Trade Off ECB ไม่จำเป็นต้องเลือกระหว่างการรักษาเสถียรภาพของสถาบันการเงิน ก่อน การรักษาเสถียรภาพทางราคา
Banks in 2008 vs. Today มาตรฐานทางการเงิน Basel III มีความเข้มแข็งมากกว่าสมัยปี 2008 ดังนั้น จะนำมาเทียบกันไม่ได้


ญี่ปุ่น
แม้ว่าการเจรจาการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานประจำปีของญี่ปุ่นได้ข้อสรุปให้เพิ่มค่าจ้างแรงงาน 3.8% เป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1993 อันจะเป็นเชื้อไฟเติมให้กับอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่น แต่กลายเป็นว่า ในเดือนมี.ค. ประเด็นเรื่องตลาดคาดหวังเรื่องการปรับเปลี่ยนโทนด้านนโยบายการเงินดูจะบรรเทาลงไปได้บ้าง หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นชะลอตัวลง โดยอัตราเงินเฟ้อในโตเกียวที่ไม่รวมอาหารสดขยับลงมาอยู่ที่ 3.3% YoY จากเดือนก่อนที่ 4.3% จากการปรับลดค่าไฟฟ้าและค่าแก๊ซ ด้านเครื่องชี้ด้านเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น GDP (เกือบไม่ขยายตัว โดยไตรมาส 4 อยู่ที่ 0.1% QoQ sa ) การผลิตภาคอุตสาหกรรม (หดตัว -2.3% YoY หลักๆ มาจากการหดตัวของ Shipment) ส่งสัญญาณว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังคงเปราะบาง จึงเป็นผลให้ทิศทางของนโยบายการเงินญี่ปุ่นภายใต้การนำของนาย Kasuo Ueda อาจจะยังอยู่ในทิศทางที่ผ่อนคลายต่อไป โดยเครื่องชี้ด้านการเงินต่างๆ ต่างสะท้อนไปในทิศทางเดียวกัน ด้านค่าเงินเยนปรับตัวกลับมาแข็งค่าขึ้นจากที่ค่าเงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าจากความกังวลเรื่อง Bank Run ขณะที่ BoJ กลับเข้ามาซื้อ ETF หุ้นเป็นครั้งแรกของปีนี้ที่ 7 หมื่นล้านเยน


จีน
เครื่องชี้ด้านเศรษฐกิจรายเดือนของจีนได้มีการประกาศออกมาครั้งแรกสำหรับเครื่องชี้เดือนม.ค.-ก.พ. (เป็นการประกาศรวบสองเดือน เนื่องด้วยในช่วงสองเดือนของทุกปีมีวันหยุดตรุษจีน ระหว่างสองเดือนนี้อยู่ตลอดเวลา) สะท้อนว่า จีนยังคงฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยที่มีการลงทุนในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานเป็น Key Driver สะท้อนว่า รัฐบาลยังคงเป็นตัวหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจีน ในรายเครื่องชี้พบว่า ยอดค้าปลีกเดือนม.ค.-ก.พ. ขยายตัว 3.5% YoY จากเดือนธ.ค.ที่หดตัว – 1.8% และเป็นไปตามที่ตลาดคาด (หนุนโดยยอดค้าปลีกในกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ Reopening เช่นน้ามันเครื่องสาอาง เสื้อผ้า และเครื่องประดับ) ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 2.4% YoY จากเดือนธ.ค.ที่ขยายตัว 1.3% (โดยกลุ่มที่ขยายตัวดี ได้แก่ ถ่านหิน น้ามัน เคมีภัณฑ์ และกลุ่มไฟฟ้า) ส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรขยายตัว 5.5% YoY เป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปลายปีก่อนที่ 5.1% โดยเป็นการขยายตัวในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และภาคบริการ อุตสาหกรรมที่ขยายตัวอย่างโดดเด่ นคือ ภาคการผลิต และสาธารณูปโภค

ด้านการระดมทุน หรือ Total Social Financing (TSF) เดือนธ.ค. ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 3.16 ล้านล้านหยวน จากเดือนก่อนที่ 5.98 ล้านล้านหยวน แต่ยังดีกว่าที่ตลาดคาดว่า จะอยู่ที่ 2.2 ล้านล้านหยวน ด้านธนาคารกลางจีนตัดสินใจปรับลดอัตรา RRR ลง 25 bps มีผลบังคับใช้วันที่ 27 มี.ค. โดยการปรับลดอัตรา RRR ครั้งนี้ มีผลเพิ่มสภาพคล่องในระบบราว 5 แสนล้านหยวน ส่วนผลกระทบจากประเด็นเรื่องตราสารหนี้ AT1 กรณีการควบรวมระหว่าง UBS และ Credit Suisse นั้น ส่งผลกระทบที่จำกัดต่อตราสารหนี้จีนที่มีประเภทใกล้เคียงกัน อาทิ ตราสาร AT1 Offshore ของธนาคาร ICBC ไม่ได้ปรับตัวมากนัก ตรงกันข้ามตราสารหนี้ประเภทเดียวกันที่ออกขายในประเทศยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง

ตลาดจับตามองว่า นายกรัฐมนตรีจีนคนใหม่ หลี่เฉียง จะสามารถบริหารประเทศภายใต้ความท้าทายทั้งในและต่างประเทศได้หรือไม่ โดยความท้าทายในประเทศ ได้แก่ เรื่องอสังหาริมทรัพย์ การบริหารจัดการการเปิดประเทศให้เป็นไปด้วยความราบรื่น ขณะที่มีเสียงวิพากษ์ว่า นายกฯ ท่านนี้มีประสบการณ์น้อย ทั้งนี้ หากพิจารณาผลงานในอดีตจะพบว่า นายกรัฐมนตรีจีนคนนี้มีผลงานไม่น้อยในสมัยที่บริหารเซี่ยงไฮ้ เจ้อเจียง และเจียงซู โดยที่พยายามลัดขั้นตอนและให้การตั้งโรงงาน Tesla ในเซี่ยงไฮ้เป็นไปด้วยความราบรื่น และลดกฎเกณฑ์ขั้นตอนสำหรับ Manufacturing Hub ในเจ้อเจียง ซึ่งถือว่า เป็นผลงานสร้างชื่อ ซึ่งหากนายกฯ ท่านนี้สามารถ Upscale ความสำเร็จจากระดับท้องถิ่นเป็นระดับประเทศได้ ก็จะเป็นอีก Growth Story ให้กับจีน


ประเทศไทย
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) เดือนก.พ.อยู่ที่ระดับ 108.05 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เพิ่มขึ้น 3.79% YoY ชะลอตัวลงจากเดือนม.ค. ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และเป็นอัตราที่ต่ำสุดในรอบ 13 เดือน สาเหตุหลักที่ทำให้เงินเฟ้อชะลอตัวลงมาจากราคาพลังงานที่ปรับลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 2 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.พ.) เพิ่มขึ้น 4.40% ซึ่งเมื่ออัตราเงินเฟ้อเริ่มมีแนวโน้มเป็นขาลง กระทรวงพาณิชย์จึงคาดการณ์ว่า เงินเฟ้อในช่วงไตรมาส 1/2023 จะเพิ่มขึ้นไม่เกินระดับ 4%และหากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงอย่างมาก ก็อาจจะเห็นเงินเฟ้อติดลบได้ในบางเดือนของช่วงครึ่งปีหลังนี้ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้ อยู่ระหว่าง 2.0 – 3.0% ด้านตลาดคาดว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ 1.75% สิ้นปีนี้ สำหรับจำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศไทยเดือนแรกของปี 2024 เติบโตได้ต่อเนื่องมาอยู่ที่ 2.1 ล้านคนเป็นผลให้แนวโน้มของนักท่องเที่ยวทั้งปีน่าจะอยู่ที่ 25-26 ล้านคน สำหรับปัจจัยที่จะต้องติดตามต่อ คือ เรื่องการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือน พ.ค.นี้ กรอบเวลาของการเลือกตั้งจะมีลำดับขั้นตอนที่ทำให้การจัดตั้งรัฐบาลต้องใช้เวลาจึงทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณคลังต้องล่าช้าออกไป อ้างอิงจากข้อมูลการเลือกตั้งในอดีต งบประมาณที่ล่าช้าจะส่งผลให้งบลงทุนปรับตัวลดลงค่อนข้างมากและจะลากยาวไปถึงช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณถัดไป