BBLAM Weekly Investment Insights 2-6 ตุลาคม 2023

BBLAM Weekly Investment Insights 2-6 ตุลาคม 2023

The Rise of Asia

INVESTMENT STRATEGY

BBLAM X INVESCO

“หุ้นเอเชียปัจจุบันซื้อขายในมูลค่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว และยังถูกกว่าหุ้นของประเทศพัฒนาแล้วอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งๆ ที่ หลายๆ ประเทศมีปัจจัยพื้นฐานดี สำหรับจีน และฮ่องกง ผู้จัดการกองทุนก็ยังมองว่าลงทุน ณ ความเสี่ยงปัจจุบันก็มีโอกาสได้ผลตอบแทนดีในอนาคตเมื่อจังหวะมาถึง”

ผู้จัดการกองทุนจาก Invesco ซึ่งบริหารจัดการกองทุนหลักให้กับ B-ASIA และกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-ASIARMF และ B-ASIASSF พูดถึงมุมมองการลงทุนในหุ้น ASIA – Ex Japan ว่าโอกาสลงทุนในภูมิภาคนี้ถูกบดบังโดยสิ้นเชิงจากการที่จีนทำความหวังได้แค่สั้นๆ เมื่อเปิดประเทศ แต่ต่อมาก็ประสบปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่อ่อนแอเป็นอย่างมาก มากลบความเด่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความแข็งแกร่งของเงินออม และด้านงบดุลของประเทศ รวมไปถึงธุรกิจก็เริ่มปรับปรุงปัจจัยพื้นฐานได้ดีขึ้น สิ่งเหล่านี้ก็กระทบต่อตลาดหุ้นของจีนด้วย 

สำหรับประเทศเอเชียอื่นๆ เมื่อพิจารณาแล้วต่างก็ได้ประโยชน์จากการที่รัฐบาลสามารถใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบยืดหยุ่นได้อยู่ อย่างไรก็ตาม ประเทศเหล่านี้ตลาดหุ้นต่างๆ ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย ทำให้มูลค่าหุ้นต่างก็ซื้อขายต่ำกว่าราคาพื้นฐานระยะยาวที่ควรจะเป็นและถูกกว่าตลาดพัมนาแล้ว อย่างเช่น สหรัฐฯ อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งผู้จัดการกองทุนเชื่อว่าช่องว่างตรงนี้จะแคบลงในอนาคต และก็หมายถึงโอกาสอันดีในการลงทุน

สำหรับพอร์ตลงทุน ก็แน่นอนว่าจะได้รับผลกระทบจากความกังวลให้หุ้นจีน ซึ่งในหุ้นจีนเอง หลายๆ กลุ่ม เช่น  E-Commerce ก็ประกาศผลการดำเนินงานดี แต่หลายกลุ่มก็ได้รับผลกระทบจากการที่ขาดความเชื่อมั่น เช่น กลุ่ม Insurance, Banking Financial, Healthcare Service เป็นต้น สำหรับประเทศอื่นๆ เช่น อินเดีย และอินโดนีเขีย สามารถทำผลตอบแทนที่ดีให้แก่พอร์ต โดย อินเดียเอง ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจด้าน Logistics and Supply Chain ที่กำลังไปได้ดีและผลักดันให้ธุรกิจ Express Delivery เติบโตไปด้วย นอกจากนี้ธุรกิจ Multinational Pharmaceutical Manufacturing ก็ประกาศผลการดำเนินงานที่ดีออกมา และทั้งสองประเทศด้านธุรกิจสถาบันการเงินก็แข็งแกร่งเพิ่มขึ้น

BBLAM แนะนำกองทุนในธีม The Rise of Asia

กองทุนลงทุนเอเชีย : B-ASIA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-ASIARMF และ B-ASIASSF

Market & Economy

THAILAND

By BBLAM

“กนง.มองเศรษฐกิจไปฟื้นปี 2024 แต่ขอปรับดอกเบี้ยขึ้นก่อนตอนนี้เลย และผ่อนคลายเกณฑ์ FX สำหรับ NRQC ทั้งที่บาทอ่อน” 

กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25 % จาก 2.25% เป็น 2.50%

ภาพรวมเศรษฐกิจ

  • เศรษฐกิจไทยในภาพรวมอยู่ในทิศทางฟื้นตัว แต่ขยายตัวในอัตราชะลอลงในปี 2023 จากอุปสงค์ต่างประเทศ และจะไปขยายตัวในปี 2024
  • อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้นในปี 2024 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจกอปรกับแรงกดดันด้านอุปทานจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ทั้งนี้ ต้องติดตามแรงส่งเพิ่มเติมจากนโยบายภาครัฐต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ 

มตินโยบายการเงิน 

เห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปที่ 2.5% เพื่อดูแลให้เงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมาย รวมทั้งรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า

ประเมินภาพเศรษฐกิจ 

  • เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัว 2.8% และ 4.4% ในปี 2023 และ 2024 ตามลำดับ โดยมีแรงส่งสำคัญจากการบริโภคภาคเอกชน สำหรับปีนี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจชะลอลงจากภาคการส่งออกสินค้าและภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ส่วนหนึ่งจากเศรษฐกิจจีนและวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ฟื้นตัวช้า อย่างไรก็ดี อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจะเร่งสูงขึ้นในปี 2024 จากอุปสงค์ในประเทศ ภายใต้บริบทที่ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่องและภาคการส่งออกสินค้ากลับมาขยายตัว อีกทั้งจะได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากนโยบายภาครัฐ
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มอยู่ในกรอบเป้าหมาย และคาดว่าจะอยู่ที่ 1.6% และ 2.6% ในปี 2023 และ 2024 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นในปี 2024 โดยคาดว่าจะอยู่ที่ 1.4% และ 2.0% ในปี 2023 และ 2024 ตามลำดับ ทั้งนี้ ยังต้องติดตามความเสี่ยงด้านสูง (Upside Risk) โดยเฉพาะในปี 2024 จากแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่อาจเพิ่มขึ้นจากนโยบายภาครัฐ และต้นทุนราคาอาหารที่อาจปรับสูงขึ้นหากปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรงกว่าคาด
  • สำหรับประเด็นด้านค่าเงินบาท กนง.มองว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์ฯ อ่อนค่า ส่วนหนึ่งตามทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกอบกับนักลงทุนรอความชัดเจนของนโยบายภาครัฐที่อาจมีนัยต่อเศรษฐกิจและเสถียรภาพด้านการคลังในอนาคต ทั้งนี้ แม้ว่าบาทจะอ่อน แต่เมื่อวันที่ 26 ก.ย. ธปท ยังได้ผ่อนคลายเกณฑ์การทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-Resident) กับสถาบันการเงินในประเทศเพิ่มเติม

ภาพแสดง อัตราดอกเบี้ยนโยบาย และค่าเงินบาท

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.bblam.co.th/bualuang-insights/bblam-investment-insights/2-6-2023