BBLAM Weekly Investment Insights 25-29 ธันวาคม 2023

BBLAM Weekly Investment Insights 25-29 ธันวาคม 2023

2023 – The Rise of Asia

INVESTMENT STRATEGY

BBLAM X Invesco 

“มุมมองการลงทุนในเอเชียระยะข้างหน้า “ปรับเพิ่มน้ำหนักลงทุน” ในอินเดีย เกาหลีใต้ จีน เพราะมีโอกาสเติบโต “ปรับลดน้ำหนักลงทุน” ในไต้หวัน อินโดนีเซีย หลังจากราคาหุ้นปรับตัวขี้นมากแล้ว”

BBLAM แนะนำกองทุน 

กองทุนลงทุนตราสารหนี้เน้นยืดหยุ่น : B-DYNAMIC BOND และ กองทุนลดหย่อนภาษี : B-DYNAMICRMF และ  B-DYNAMICSSF 

กองทุนลงทุนหุ้นคุณภาพจากทั่วโลก : B-GLOBAL หรือกองทุนลดหย่อนภาษี B-GLOBALRMF 

กองทุนลงทุนใน Asia Ex Japan : B-ASIA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-ASIARMF และ B-ASIASSF

กองทุนลงทุนอินเดีย : B-BHARATA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-INDIAMRMF และกองทุน SSF เลือก B-ASIASSF

กองทุนลงทุนในเทคโนโลยี แต่พยายามเฟ้นหาหุ้นเทคฯพื้นฐานดี มูลค่ายังน่าลงทุน : B-INNOTECH หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-INNOTECHRMF และ B-INNOTECHSSF

ลงทุนหุ้นเวียดนาม : B-VIETNAM หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-VIETNAMRMF และ B-VIETNAMSSF

ลงทุนหุ้นไทยเน้นกระจายลงทุน : BKA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ BERMF และ BEQSSF 

ลงทุนหุ้นไทยแบบเน้นเน้น : BTP หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-TOPTENRMF และกองทุนลดหย่อนภาษีรูปแบบใหม่  ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดอีก 1 แสนบาท ได้แก่ B-TOP-THAIESG

Market & Economy

ASIA

By BBLAM

“อุตสาหกรรม Apparels ที่ดูเหมือนจะเป็นอุตสาหกรรมตะวันตกดิน หรือ Sunset Industry ในหลาย ๆ ประเทศ แต่อุตสาหกรรมนี้กลับเป็นอุตสาหกรรมตะวันขึ้น หรือ Sunrise Industry ในเวียดนาม ในกลุ่มของสิ่งทอ โดยเฉพาะกลุ่ม High-Fashion การเติบโตของ Sub-Industry นี้ สะท้อนการเติบโตของรายได้และความกินดีอยู่ดีของชาวเวียดนาม”

Fixed Income

GLOBAL

By BBLAM

ในช่วงปลายเดือนกันยายน JP Morgan ได้ประกาศปรับเปลี่ยนส่วนประกอบของดัชนีสำคัญอย่าง JP Morgan Global Bond Index – Emerging Markets (GBI-EM Index) โดยนำพันธบัตรรัฐบาลอินเดียเข้ามารวมในการคำนวณดัชนีดังกล่าว

ในช่วงที่ผ่านมา ข่าวที่นักลงทุนในตลาดตราสารหนี้ให้ความสนใจ นอกจากแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางประเทศหลัก การเคลื่อนไหวขึ้นลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในตลาด ก็ยังมีข่าวเกี่ยวกับ Index Rebalancing อันเป็นที่จับตามองอีกด้วย ซึ่งในช่วงปลายเดือนกันยายน JP Morgan ได้ประกาศปรับเปลี่ยนส่วนประกอบของดัชนีสำคัญอย่าง JP Morgan Global Bond Index – Emerging Markets (GBI-EM Index) โดยนำพันธบัตรรัฐบาลอินเดียเข้ามารวมในการคำนวณดัชนีดังกล่าว

สำหรับดัชนี JP Morgan Government Bond Index – Emerging Markets เป็นดัชนีมาตรฐานของตราสารหนี้ในตลาดเกิดใหม่ ประกอบด้วยพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นที่ออกโดยรัฐบาลตลาดเกิดใหม่ ดัชนีนี้เปิดตัวในเดือนมิถุนายน 2005 และเป็นดัชนีแรกที่ถือว่าครอบคลุมพันธบัตรสกุลท้องถิ่นของกลุ่มตลาดเกิดใหม่ โดยมูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนที่มี GBI-EM Index เป็นดัชนีมาตรฐานมีมูลค่าประมาณ 2.36 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ เมื่อมีประกาศ Index rebalancing หรือการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนประกอบของดัชนีนั้น ประเด็นรายละเอียดสำคัญที่นักลงทุนควรให้ความสนใจติดตาม ได้แก่ 1) วันที่เริ่มต้นที่ใช้งานดัชนีใหม่ 2) น้ำหนักส่วนประกอบของดัชนี 3) ระยะเวลาในการรวมพันธบัตรเข้าไปในดัชนี 4) พันธบัตรที่เข้าร่วมในดัชนี และ 5) สัดส่วนน้ำหนักของพันธบัตรประเทศอื่นๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากประเด็นต่างๆ เหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรประเทศที่ถูกคำนวณอยู่ในดัชนี

เมื่อมาพิจารณารายละเอียดประเด็นต่างๆ ตามข้างต้น พบว่า

  1. JP Morgan จะเริ่มนำพันธบัตรรัฐบาลอินเดียเข้ารวมในการคำนวณดัชนี GBI-EM Index ในวันที่ 28 มิถุนายน 2024 (เท่ากับว่า มีเวลาอีกเกือบ 9 เดือนหลังจากช่วงที่ประกาศ)
  2. น้ำหนักพันธบัตรรัฐบาลอินเดีย คาดว่าจะแตะเพดานสูงสุดที่ 10% ของดัชนี (ตอนนี้มีประเทศที่ได้รับน้ำหนักสูงสุดที่ 10% อยู่ 3 ประเทศ คือ จีนอินโดนีเซียและเม็กซิโก)
  3. ระยะเวลาที่ใช้ในการปรับดัชนีอยู่ที่ 10 เดือน นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2024 จนถึงเดือนมีนาคม 2025
  4. พันธบัตรรัฐบาลอินเดียที่ถูกจัดชั้นเป็นตราสารหนี้ ซึ่งนักลงทุนต่างชาติสามารถเข้าถึงอย่างสมบูรณ์ ได้ถูกรวมอยู่ในดัชนีดังกล่าวมีอยู่จำนวน 23 ชุด ซึ่งมีวงเงินหน้าตั๋วรวม 3.3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
  5. การนำพันธบัตรรัฐบาลอินเดียเข้ารวมในการคำนวณดัชนี GBI-EM Index ได้ส่งผลกระทบต่อการจัดสรรน้ำหนักสำหรับพันธบัตรของประเทศอื่น โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งได้รับผลกระทบหนักที่สุด จากการถูกปรับลดน้ำหนักพันธบัตรในการคำนวณดัชนีถึง 1.66% ตามมาด้วยแอฟริกาใต้ โปแลนด์ สาธารณรัฐเชก และบราซิลถูกปรับลดน้ำหนักราว 0.96%-1.38% ขณะที่ กลุ่มประเทศในเอเชีย มีเพียงมาเลเซียที่ถูกปรับลดลง 0.53% ส่วนจีนและอินโดนีเซียไม่เปลี่ยนแปลง

ด้วยสัดส่วนที่พันธบัตรรัฐบาลอินเดียจะเข้าไปรวมคำนวณในดัชนีอยู่ที่ราว 10% เท่ากับว่าจะมีเงินลงทุนประมาณ 2.36 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่านั้น ที่จะเข้าไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอินเดีย แต่มูลค่าดังกล่าวคงไม่ได้เข้าไปแค่ช่วงเดียว เพราะระยะเวลาของดัชนีมีถึง 10 เดือน เท่ากับว่า น่าจะมีเงินลงทุนทยอยเข้าไปลงทุนอย่างน้อยเดือนละ 2.36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะทำให้สัดส่วนนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้นจากเดิมอยู่ที่ระดับ เพียง 1.7% ในเดือนกันยายน 2023

การได้เข้าไปรวมในการคำนวณดัชนีดังกล่าว ส่งผลดีต่ออินเดียและกลุ่มนักลงทุนอย่างแน่นอน ซึ่งประเด็นสำคัญที่น่าสนใจ คือ

  1. ตลาดตราสารหนี้อินเดียจัดเป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับสองในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ การที่ได้เข้ามาอยู่ในการคำนวณดัชนีรอบนี้ จะส่งผลดีต่อนักลงทุนที่จะได้มีทางเลือกในการกระจายการลงทุนได้มากขึ้น โดยพันธบัตรรัฐบาลอินเดียถือเป็นตราสารหนี้ที่มีอัตราผลตอบแทนสูง แต่ความผันผวนต่ำ จึงเป็นจุดดึงดูดที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนพันธบัตรในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ซึ่งปัจจุบันพันธบัตรรัฐบาลอินเดียรุ่น 10 ปี มีอัตราผลตอบแทนที่ 7.35% ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2023 โดยในช่วงที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับเพิ่มขึ้นถึง 175 basis point ในช่วงระหว่างเดือนเมษายนถึงตุลาคม 2023 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอินเดียปรับเพิ่มขึ้นเพียง 45 basis point บ่งชี้ให้เห็นถึงความผันผวนที่ค่อนข้างต่ำ

นอกจากนี้ จากข้อมูลของบทวิเคราะห์โดย HSBC ในปี 2022 ระบุไว้ว่า ตลาดตราสารหนี้ของจีนและอินเดียถือเป็นแหล่งลงทุนที่ดีสำหรับการกระจายความเสี่ยงของนักลงทุนพันธบัตรทั่วโลก เนื่องจากตลาดเหล่านี้ถูกขับเคลื่อนด้วยปัจจัยในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ความผันผวนเมื่อเทียบกับตลาดพันธบัตรรัฐบาลในตลาดหลักๆ มีน้อย พิจารณาได้จากค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) โดยดูการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรุ่นอายุ 10 ปี เป็นรายสัปดาห์ของพันธบัตรรัฐบาลประเทศหลักๆ (19 ประเทศ) ในช่วงระยะเวลา 10 ปี (สิงหาคม 2012-สิงหาคม 2022) พบว่า จีนและอินเดียมีค่าสหสัมพันธ์ต่ำที่สุด

  1. อินเดียเป็นประเทศที่ต้องการเงินลงทุนสูงมาก ตอนนี้รัฐบาลอินเดียกำลังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งในด้านถนน ทางรถไฟ และอื่นๆ เพื่อรองรับการพัฒนาของภาคเอกชนในภาคการผลิต การบริการ ฯลฯ ซึ่งจะกลายเป็นฐานรองรับแรงงานจำนวนมากในอนาคต การที่สามารถระดมเงินทุนจากนักลงทุนต่างชาติได้มากขึ้น จะช่วยลดต้นทุนทางการเงิน อีกทั้งในระยะยาวยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้อินเดียได้รับการเข้าร่วมการคำนวณในดัชนีอื่นๆ ตามมาอีกด้วย
  2. สามารถดึงดูดโอกาสการลงทุนในภาคเศรษฐกิจได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเดียมีข้อได้เปรียบด้านประชากร มีแรงงานที่มีทักษะ การเมืองที่มีเสถียรภาพ และภาคธุรกิจที่พร้อมจะปฏิรูป ซึ่งปีที่ผ่านมา ทั้ง S&P Global และ Morgan Stanley ได้เผยแพร่วิเคราะห์คาดการณ์เศรษฐกิจอินเดีย โดยระบุว่า ภายในปี 2031 ประเทศนี้จะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามของโลก จากจุดแข็งด้านการลงทุนด้านการผลิต การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน และโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลขั้นสูงของประเทศ

การที่พันธบัตรรัฐบาลอินเดียถูกจัดเข้าไปรวมในดัชนีรอบนี้ แม้จะส่งผลดีต่อประเทศอินเดียและกลุ่มนักลงทุน แต่ในทางกลับกัน ประเทศที่ถูกจัดสรรน้ำหนักในดัชนีลดลงก็ต้องรับผลกระทบด้านลบอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธบัตรรัฐบาลไทยที่โดนปรับลดน้ำหนักในดัชนีลงมากที่สุด จากเดิมไทยมีน้ำหนักในดัชนีเท่ากับ 9.79% ถูกปรับลดลง 1.66% เหลือน้ำหนักใหม่เป็น 8.13% ซึ่งจะเป็นจุดทำให้นักลงทุนต่างชาติลดการถือครองพันธบัตรไทยลง อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยปัจจุบันต่างชาติถือครองพันธบัตรไทยน้อยกว่าเกณฑ์ดัชนีอยู่แล้ว แรงกดดันจากประเด็นนี้อาจไม่ได้รับแรงกระแทกอย่างเต็มแรงนัก แต่ก็เป็นหนึ่งในประเด็นความท้าทายที่พันธบัตรไทยจะเผชิญในปีหน้าและต้องคอยติดตามอย่างใกล้ชิด 

BBLAM แนะนำกองทุนลงทุนตราสารหนี้เน้นยืดหยุ่น : B-DYNAMIC BOND และ กองทุนลดหย่อนภาษี : B-DYNAMICRMF และ  B-DYNAMICSSF 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.bblam.co.th/bualuang-insights/bblam-investment-insights/25-29-2023-1