BBLAM Weekly Investment Insights 8-12 มกราคม 2024

BBLAM Weekly Investment Insights 8-12 มกราคม 2024

Weekly Highlight

Asset Allocation Outlook 2024

By BBLAM

  • เศรษฐกิจโลกแนวโน้มชะลอตัว / เงินเฟ้อ ดอกเบี้ย อาจปรับลง
  • จับตาเลือกตั้งในประเทศที่สำคัญอาจเพิ่มความไม่แน่นอน   
  • ตราสารหนี้ได้แรงสนับสนุนจากนโยบายการเงินผ่อนคลาย 
  • หุ้นอินเดีย และ หุ้นญี่ปุ่น จะเป็น Hedge position ที่น่าสนใจ
  • Technology และ Generative AI ยังเป็นกลุ่มที่เติบโต

BBLAM แนะนำกองทุน 

กองทุนลงทุนตราสารหนี้เน้นยืดหยุ่น : B-DYNAMIC BOND และ กองทุนลดหย่อนภาษี : B-DYNAMICRMF และ  B-DYNAMICSSF 

กองทุนลงทุนหุ้นคุณภาพจากทั่วโลก : B-GLOBAL หรือกองทุนลดหย่อนภาษี B-GLOBALRMF 

กองทุนลงทุนใน Asia Ex Japan : B-ASIA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-ASIARMF และ B-ASIASSF

กองทุนลงทุนอินเดีย : B-BHARATA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-INDIAMRMF และกองทุน SSF เลือก B-ASIASSF

กองทุนลงทุนในเทคโนโลยี แต่พยายามเฟ้นหาหุ้นเทคฯ พื้นฐานดี มูลค่ายังน่าลงทุน : B-INNOTECH หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-INNOTECHRMF และ B-INNOTECHSSF

ลงทุนหุ้นเวียดนาม : B-VIETNAM หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-VIETNAMRMF และ B-VIETNAMSSF

ลงทุนหุ้นไทยเน้นกระจายลงทุน : BKA หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ BERMF และ BEQSSF 

ลงทุนหุ้นไทยแบบเน้นเน้น : BTP หรือกองทุนลดหย่อนภาษี ได้แก่ B-TOPTENRMF และ B-TOP-THAIESG

Investing in Fixed Income

ลงทุนตราสารหนี้อย่างไรให้ได้ผลตอบแทนดีในวัฏจักรเศรษฐกิจต่าง ๆ

By BBLAM

– วัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยของกลุ่มประเทศหลัก ทั้งสหรัฐฯ และยุโรปใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว ทำให้นักลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มเติม จากราคาที่ปรับตัวสูงขึ้น เมื่อดอกเบี้ยเริ่มปรับตัวลดลงในอนาคต –

หนึ่งในสินทรัพย์ที่คาดว่าจะทำได้ดีต่อเนื่องในปี 2024 – 2025 คือ กลุ่มตราสารหนี้ ที่มีความน่าสนใจเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2022 ในขณะที่ วัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยของกลุ่มประเทศหลัก ทั้งสหรัฐฯ และยุโรปใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว ทำให้นักลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มเติม จากราคาที่ปรับตัวสูงขึ้น เมื่อดอกเบี้ยเริ่มปรับตัวลดลงในอนาคต โดยทั้งดอกเบี้ยที่นักลงทุนได้รับจากการลงทุนและการเปลี่ยนแปลงของราคาเป็นองค์ประกอบสำคัญของการลงทุนในตราสารหนี้ ไม่ว่าจะเป็น พันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้เอกชน 

กระบวนการตัดสินใจสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้นั้น จำเป็นจะต้องเข้าใจวัฏจักรเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ที่จะเป็นปัจจัยกำหนดทิศทางอัตราดอกเบี้ย (Market Risk) รวมถึงความเสี่ยงด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะความเสี่ยงด้านการผิดนัดชำระหนี้ (Default Risk) ที่จะส่งผลอย่างมากต่อทิศทางการลงทุนของหุ้นกู้เอกชน ทั้งในส่วนของกลุ่มที่อยู่ในระดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade หรือ IG Bond) หรือระดับที่ต่ำกว่าระดับที่สามารถลงทุนได้ (High Yield Bond หรือ HY Bond) ผลตอบแทนของตราสารหนี้จะเกิดจากองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ ผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยง (Risk Free Rate) ที่สะท้อนจากอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาล และส่วนชดเชยความเสี่ยง (Risk Premium) อันเกิดจากการลงทุนในตราสารหนี้อื่น ๆ เช่น หุ้นกู้เอกชนที่มีความเสี่ยงสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาล โดยเฉพาะด้านความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งทั้งสองปัจจัยจะถูกกำหนดจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและตลาดการเงินที่แตกต่างกัน

วัฏจักรของเศรษฐกิจเป็นหัวใจหลักสำหรับทิศทางของผลตอบแทนของการลงทุนในตราสารหนี้ โดยวัฏจักรเศรษฐกิจจะเป็นตัวกำหนดทิศทางของนโยบายการคลัง (Fiscal Policy) และนโยบายการเงิน (Monetary Policy) ซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของผลตอบแทนพันธบัตร (Yield) และเส้นผลตอบแทนพันธบัตร (Yield Curve) ต่าง ๆ โดยทั่วไปอาจแบ่งวัฏจักรทางเศรษฐกิจออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ ระยะฟื้นตัว (Recovery) ระยะขยายตัว (Expansion) ระยะสูงสุด (Peak / Late Cycle) และระยะถดถอย (Recession) ซึ่งในแต่ละช่วงก็จะส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรในตลาดการเงินเกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งผลต่อความน่าสนใจของการลงทุนในตราสารหนี้

  • เริ่มจากระยะฟื้นตัว เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่ำกว่าศักยภาพ แต่โดยรวมมีทิศทางที่ดีขึ้น อันเป็นผลจากนโยบายการเงินการคลังที่ช่วยสนับสนุนในช่วงก่อน โดยเงินเฟ้ออาจจะมีทิศทางที่เพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากเศรษฐกิจยังขยายตัวได้ต่ำกว่าศักยภาพ แต่จากภาพรวมเศรษฐกิจที่ดีขึ้นทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุยาวเริ่มปรับสูงขึ้น ในขณะที่ ระยะสั้นยังคงต่ำ เนื่องจากนโยบายการเงินที่ยังคงผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในขณะที่ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างหุ้นกู้เอกชนกับพันธบัตรรัฐบาล หรือที่เรียกกันว่า Credit Spread นั้นอาจจะเริ่มปรับแคบลง เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตั วจะทำให้ความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้ของภาคเอกชนโดยรวมเริ่มลดลง ทำให้ในภาพรวมตราสารหนี้กลุ่มที่จะได้รับประโยชน์ คือ กลุ่มตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับที่สามารถลงทุนได้ หรือกลุ่ม HY Bond และมีความน่าสนใจสำหรับการเพิ่มน้ำหนักการลงทุน (Overweight) 
  • ในระยะถัดไป คือ ระยะขยายตัวซึ่งเป็นช่วงที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในอัตราที่เร่งตัวขึ้นจากช่วงก่อน ส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มขยายตัวได้ใกล้เคียงกับศักยภาพมากขึ้น และเริ่มส่งผ่านไปยังเงินเฟ้อ ทำให้นโยบายการเงินเริ่มลดความผ่อนคลายลง และอาจจะเริ่มมีการพูดถึงการปรับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับตัวสูงขึ้นตามทิศทางของการขึ้นดอกเบี้ย ในขณะที่ Credit Spread ยังคงมีทิศทางที่แคบลง ทำให้ในช่วงนี้ผลตอบแทนในกลุ่มหุ้นกู้เอกชนทั้ง IG และ HY Bond ยังคงมีความน่าสนใจมากกว่าพันธบัตรรัฐบาล แต่ทั้งนี้ ในช่วงวัฏจักรนี้ ทิศทางของการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายและความรวดเร็วจะเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดภาพรวมของการลงทุนในกลุ่มตราสารหนี้ โดยเฉพาะหากธนาคารกลางเร่งขึ้นดอกเบี้ยดังเช่นในปี 2022 ก็อาจจะทำให้ผลตอบแทนตราสารหนี้นั้นปรับลดลงทั้งกลุ่ม แต่หากการขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป จะทำให้กลุ่มหุ้นกู้เอกชนยังน่าสนใจมากกว่า 
  • ระยะสูงสุด หรือ ช่วง Peak ซึ่งบางครั้งอาจจะหมายรวมถึงช่วงที่เรียกกันว่า Late Cycle คือ ช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่สูงที่สุด สูงกว่าศักยภาพ และเริ่มมีทิศทางที่ชะลอตัวลง เงินเฟ้อเร่งตัวสูงที่สุด และเริ่มส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในวัฏจักรนี้ บ่อยครั้งมักจะตามมาด้วยภาวะ “Inverted Yield Curve” ซึ่งหมายถึง การที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นนั้นสูงกว่าระยะยาว เนื่องจากเริ่มมีการ Price-in การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การขยายตัวทางเศรษฐกิจและการคาดการณ์เงินเฟ้อที่ลดลง และจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัวลงจากต้นทุนทางการเงินที่สูง เงินเฟ้อที่สูงและส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนลดลง รวมถึงสภาพคล่องทางการเงินเริ่มตึงตัวขึ้น ส่งผลให้ความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้น โดยในช่วงนี้ทำให้การปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในกลุ่มพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) นั้นน่าสนใจมากที่สุด เนื่องจากหากมีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จะทำให้ราคาของพันธบัตรนั้นปรับตัวสูงขึ้นนั่นเอง
  • ระยะสุดท้าย คือ ระยะถดถอยซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจมีอัตราการขยายตัวที่ติดลบ เงินเฟ้อลดลงหรืออาจเกิดภาวะเงินฝืด ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคเอกชนปรับลดลง อันเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายในช่วงก่อนหน้า และเป็นช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่ำกว่าศักยภาพมากที่สุด ขณะที่ Credit Spread แนวโน้มอยู่ในระดับกว้างมากที่สุด ดังนั้น การรักษาระดับการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลจะเป็นกลยุทธ์ที่สมเหตุสมผล เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ปราศจากความเสี่ยงด้านการผิดนัดชำระ และไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงจากเครดิตอันเป็นผลจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจเพิ่มเติม

สุดท้ายนี้ หากเป็นการลงทุนในพันธบัตรต่างประเทศ จำเป็นจะต้องพิจารณาความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนประกอบด้วย โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศกว้างขึ้นมาก ในขณะที่ ความผันผวนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนก็มีความผันผวนมากขึ้น โดยต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนจะเกิดจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นระหว่าง 2 ประเทศ เช่น ไทย และสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้การลงทุนในพันธบัตรอายุสั้นๆ ระหว่าง 2 ประเทศไม่เกิดความแตกต่างกัน ดังนั้นนักลงทุนจำเป็นจะต้องพิจารณาประเด็นเพิ่มเติมสำหรับการลงทุน เช่น อายุของตราสารหนี้ ประเภท อันดับความน่าเชื่อถือต่างๆ ให้สอดคล้องกับนโยบายการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ต้องการด้วย
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าทิศทางของเศรษฐกิจในปี 2024 – 2025 ที่เศรษฐกิจโลก นำโดยกลุ่มประเทศหลักมีทิศทางที่ชะลอตัวลงแบบค่อยเป็นค่อยไป (Soft Landing) การคาดการณ์เงินเฟ้อมีทิศทางที่ลดลง ทำให้คาดว่าอัตราดอกเบี้ยผลตอบแทนพันธบัตร (Yield) น่าจะมีทิศทางค่อยๆ ปรับตัวลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Credit Spread) นั้นอาจจะกว้างขึ้นสะท้อนความเสี่ยงของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง แต่ก็คาดว่าจะเพิ่มได้อย่างจำกัด ทำให้ในภาพรวมยังน่าจะให้ผลตอบแทนดี ดังนั้น การปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในกลุ่มตราสารหนี้ (Overweight) นั้นเป็นกลยุทธ์ที่อาจจะเป็นหัวใจหลักสำหรับการจัดสรรพอร์ต โฟลิโอ (Tactical Asset Allocation) ในช่วงต่อไปได้

BBLAM แนะนำกองทุน 

กองทุนลงทุนตราสารหนี้เน้นยืดหยุ่น : B-DYNAMIC BOND และ กองทุนลดหย่อนภาษี : B-DYNAMICRMF และ  B-DYNAMICSSF 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.bblam.co.th/bualuang-insights/bblam-investment-insights/8-12-2024