การลงทุนนั้นมีจุดประสงค์สำคัญ เพื่อแสวงหาผลตอบแทนจากเงินก้อนที่ลงทุนไป แต่คงจะดีมากขึ้นไปอีก หากเราสามารถลงทุนไปพร้อมๆ กับการทำสิ่งดีๆ เพื่อสังคมไปด้วย สำหรับ กองทุนบัวหลวง ก็เล็งเห็นถึงความความน่าสนใจของแนวคิด “การลงทุนเพื่อสังคม” ที่นอกเหนือจากการสร้างผลตอบแทนทางการเงินแล้ว ยังหวังให้ธุรกิจที่เลือกลงทุน คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับการดำเนินธุรกิจด้วยการลงทุนนั้นมีจุดประสงค์สำคัญ เพื่อแสวงหาผลตอบแทนจากเงินก้อนที่ลงทุนไป แต่คงจะดีมากขึ้นไปอีก หากเราสามารถลงทุนไปพร้อมๆ กับการทำสิ่งดีๆ เพื่อสังคมไปด้วย
สำหรับ กองทุนบัวหลวง ก็เล็งเห็นถึงความความน่าสนใจของแนวคิด “การลงทุนเพื่อสังคม” ที่นอกเหนือจากการสร้างผลตอบแทนทางการเงินแล้ว ยังหวังให้ธุรกิจที่เลือกลงทุน คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับการดำเนินธุรกิจด้วยคุณทนง ขันทอง รองกรรมการผู้จัดการ Head of Strategic Communications กองทุนบัวหลวง กล่าวว่าการลงทุนเพื่อสร้างผลกระทบ หรือ Impact Investment เป็นเรื่องที่มีมาสักระยะหนึ่งแล้ว โดยการลงทุนรูปแบบนี้ เป็นการสนับสนุนเงินทุน เพื่อหวังผลต่อสังคมอย่างจริงจัง หวังให้สังคมดีขึ้นอย่างยั่งยืน ต่อยอดความคิดของผู้ประกอบการ หรือองค์กรให้หันมาทำประโยชน์เพื่อสังคม และให้เกิดผลกระทบในวงกว้างมากขึ้น โดยที่สหรัฐอเมริกา และในตลาดทุนของประเทศที่พัฒนาแล้วอีกหลายแห่ง เป็นกลุ่มแรกๆ ที่เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับ Impact Investment
กองทุนรวม คนไทยใจดี หรือ กองทุน BKIND ขึ้น จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนต.ค. 2557 ภายใต้แนวคิดที่ว่า “กิจการที่มีกำไรและยั่งยืนต้องอยู่บนพื้นฐานของการประกอบธุรกิจ เพื่อยกระดับสังคมไทยอย่างแท้จริง”
กองทุนนี้เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นไทย แต่มีความแตกต่างจากกองทุนหุ้นอื่นๆ ในประเทศอย่างชัดเจน เพราะมีวัตถุประสงค์ในการระดมเงินจากผู้ลงทุนไปลงทุนในกิจการที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม 4 ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) บรรษัทภิบาล (Good Governance) และต่อต้านคอร์รัปชั่น (Anti-Corruption) เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกหุ้นที่จะลงทุน
ขณะที่ กองทุน BKIND เป็นกองทุนรวมกองแรกของไทยที่มอบรายได้ในการจัดการกองทุน 40% หรือเทียบเท่า 0.8% ของมูลค่าเงินกองทุน เพื่อสนับสนุนโครงการสาธารณประโยชน์ต่างๆ ซึ่งทำให้เงินลงทุนของผู้ลงทุนได้มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมไทยให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนอีกด้วย
โดยการพิจารณาคัดเลือกโครงการต่างๆ จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ
1.) กลุ่มแรก คือ กลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือแบบเร่งด่วน หรือที่เรียกว่า “Quick Win” เช่น โครงการที่เราเข้าไปช่วยเหลือการผ่าตัดเด็กปากโหว่ เพดานแหว่ง เมื่อให้เงินสนับสนุนไปแล้ว เขาสามารถนำไปช่วยเหลือเด็กได้ทันที ทำให้เด็กเหล่านั้นๆ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2.) กลุ่มที่สอง คือ โครงการที่สามารถขยายผล และต่อยอดให้เกิดประโยชน์ในอนาคตได้ “Leverage” เช่น โครงการที่เราร่วมสนับสนุนการอบรมพัฒนาทักษะให้คุณครู เพื่อให้คุณครูนำไปสอนนักเรียนต่อไปได้
3.) กลุ่มสุดท้าย คือ สนับสนุนให้โครงการนั้นๆ สามารถพัฒนาก้าวขึ้นมาเป็นต้นแบบให้กับโครงการอื่นๆ ได้ หรือที่เรียกว่า “ Platform” เช่นโครงการต้นแบบที่ช่วยเหลือเด็กกำพร้า สร้างโมเดลผลักดันให้ชุมชนสามารถช่วยเหลือกันเองได้อย่างยั่งยืน และเป็นต้นแบบให้จังหวัดอื่นๆ สามารถนำรูปแบบโครงการไปใช้พัฒนาในพื้นที่ของตนได้
การพิจารณาคัดเลือกโครงการ จะมีคณะกรรมการพิจารณาโครงการเพื่อสังคม ที่เหมาะสม โดยมีสถาบันเช้นจ์ ฟิวชันฯ อโชก้า (ประเทศไทย) และมูลนิธิเพื่อคนไทย เป็นหน่วยงานคัดกรอง และเตรียมข้อมูลโครงการเบื้องต้น เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาโครงการ
ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมานั้น กองทุน BKIND ได้ให้ความช่วยเหลือไปแล้ว 42 โครงการ จำนวนเงินสนับสนุนเกือบ 35 ล้านบาท โดยความช่วยเหลือครอบคลุมปัญหาด้านสังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษา และต่อต้านคอร์รัปชั่น
ขณะที่ การคัดสรรหุ้นเพื่อลงทุนของกองทุน BKIND จะเน้นลงทุนหุ้นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมไปถึงตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ หรือตลาดรองอื่นๆ ของตลาดหลักทรัพย์ฯ นอกจากจะเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญกับการรับผิดชอบต่อสังคมทั้ง 4 ด้านที่กล่าวมาแล้ว ยังต้องมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี โดยเราจะคัดเลือกบริษัทลงทุนที่มีโอกาสเติบโตในระยะยาว เหมือนกับการคัดเลือกหุ้นในกองทุนหุ้นทั่วไปของบัวหลวง คือเริ่มมองจากเมกกะเทรนด์ก่อน และจากนั้นก็พิจารณาว่าเข้ากับ Investment Theme ของเราหรือไม่
นอกจากนี้ ยังพิจารณาจากปัจจัยในเชิงคุณภาพและปริมาณของตัวบริษัทเอง โดย ปัจจัยเชิงคุณภาพ คือ สินค้าและบริการของบริษัทเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค มีรูปแบบการทำธุรกิจที่เข้มแข็ง เป็นบริษัทที่มีคุณสมบัติ ด้านความสามารถในการทำกำไร มีศักยภาพในการเติบโตทางธุรกิจ ควบคู่กับธรรมาภิบาลเบื้องต้นของบริษัทที่ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ที่สำคัญผู้บริหารมีคุณภาพและโปร่งใส มีธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการ ปัจจัยเชิงปริมาณ ต้องเป็นบริษัทที่มียอดขายและกำไรเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีความสามารถในการทำกำไร เช่น Net Profit Margin สูง ระดับหนี้สินไม่สูงเกินไป และเป็นหุ้นที่มีการจ่ายเงินปันผลที่เหมาะอย่างสม่ำเสมอ
การลงทุนในกองทุน BKIND นอกจากจะเป็นการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนกลับคืนมาและ ยังสามารถสร้างสรรค์สิ่งดีๆ คืนกลับแก่สังคมไปพร้อมๆ กันได้ หรือเรียกว่า “เป็นทั้งผู้รับและผู้ให้” ในเวลาเดียวกัน ซึ่งใครๆ ก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของผู้รับและผู้ให้ได้ ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 500 บาทเท่านั้นเอง