BF Economic Research
ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนก.ย. อยู่ที่ 102.57 หรือขยายตัวที่ 1.3% YoY (prev 1.62% YoY) ผลจากฐานสูงปีก่อน
เมื่อเทียบรายเดือนขยายตัว 0.29% MoM (prev. 0.26% MoM) โดยหมวดพลังงานสูงขึ้น 8.10% YoYและยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ส่วนอาหารสดลดลง-1.16% YoY จากการลดลงของผักและผลไม้เป็นหลัก (-6.69% YoY) เนื่องจากเป็นช่วงฤดูของผักและผลไม้หลายชนิดออกสู่ตลาดในปริมาณมาก
เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัว 0.80% YoY (prev. 0.75% YoY) เมื่อเทียบรายเดือนขยายตัว 0.14% MoM (prev. 0.01% MoM)
เฉลี่ยช่วง 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.) อัตราเงินเฟ้อทั่วไปขยายตัว 1.14% AoA ซึ่งอยู่ในกรอบคาดการณ์เงินเฟ้อของกระทรวงพาณิชย์ (0.8-1.6%) ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัว 0.72% AoA
ในรายองค์ประกอบ
- หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (36% ของตะกร้าสินค้า) ชะลอ 0.35% YoY (prev. 0.77% YoY) จากผักและผลไม้ หดตัว -6.69% YoY โดยผักสดหดตัว -8.52% YoY (ผักชี ผักคะน้า พริกสด) ผลไม้สด หดตัว-3.84% YoY (เงาะ มะม่วง กล้วยน้ำว้า ลองกอง) เป็นช่วงฤดูกาลผลไม้หลายชนิดเข้าตลาดปริมาณมาก ส่วนหมวดข้าวแป้งขยายตัว 4.48% YoY
- หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม (64% ของตะกร้าสินค้า) ชะลอ1.90% YoY (prev. 2.1% YoY) จากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร 3.86% YoY โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง สูงขึ้น 11.98% YoY หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 3.86%YoY (บุหรี่ เบียร์ สุรา ไวน์)
- ใน 4 เดือนข้างหน้าก่อนปิดปี 2018 เราคาดว่าเงินเฟ้อไทยยังเผชิญผลจากฐานสูงปีก่อนทำให้เรามองว่าเงินเฟ้อเดือนส.ค. น่าจะเป็นจุดพีคของเงินเฟ้อไทยปี 2018 แล้ว ณข้อมูล 9 เดือนอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.14% ทำให้เรามองว่าทั้งปี 2018 อัตราเงินเฟ้อไทยน่าจะอยู่ในกรอบ 1.2-1.3% เป็นผลให้ธปท.คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.5% ในปี 2018 นี้
อัตราเงินเฟ้อชะลอลงจากฐานสูงในปีก่อน โดยที่ผักและผลไม้เป็นแรงฉุดระดับราคา