BBLAM Knowledge Tips: รู้จัก Credit Rating ทำไมต้องจัดอันดับความน่าเชื่อถือ

BBLAM Knowledge Tips: รู้จัก Credit Rating ทำไมต้องจัดอันดับความน่าเชื่อถือ

โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPTTM BBLAM สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในตราสารหนี้ จำเป็นต้องมีความเข้าใจเรื่องการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) เพราะการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เป็นตัวช่วยสำคัญในการพิจารณาว่า เราควรที่จะเลือกลงทุนในตราสารหนี้นั้นหรือไม่? โดยการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนี้ จัดทำขึ้นโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (CRA: Credit Rating Agency) ซึ่งปัจจุบัน สำนักงาน ก.ล.ต. ของไทย ให้ความเห็นชอบอยู่ 2 สถาบัน ได้แก่ TRIS (TRIS Rating Co., Ltd) และ Fitch (Fitch Ratings (Thailand) Ltd.) ในขณะที่ ระดับสากลทั่วโลกจะยอมรับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจาก 3 สถาบัน ได้แก่ Fitch Rating, Moody’s Investor Service และ Standard and […]

ผลตอบแทนและความเสี่ยงของหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ (Perpetual Bond)

ผลตอบแทนและความเสี่ยงของหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ (Perpetual Bond)

โดย ศจิกา  ชวนะศักดิ์ BBLAM Perpetual Bond หรือหุ้นกู้หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน เป็นตราสารหนี้ที่ได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากนักลงทุนจากการที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าตราสารหนี้ทั่วไปค่อนข้างมาก แต่เรามักจะได้ยินประโยคในการลงทุนว่า High Risk High Return เสมอๆ ดังนั้น ผลตอบแทนที่สูงขึ้น จึงมาจากคุณสมบัติบางประการของ Perpetual Bond ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าหุ้นกู้ทั่วไปดังนี้ ประการแรก Perpetual Bond ไม่มีกำหนดไถ่ถอน หรือไถ่ถอนเมื่อเลิกกิจการ แตกต่างจากหุ้นกู้ทั่วไปที่กำหนดวันไถ่ถอนชัดเจน ซึ่งหมายความว่า หุ้นกู้อาจจะมีอายุยาวนานมากๆ ดังนั้น ผู้ถือหุ้นกู้จึงมีความเสี่ยงในการได้รับคืนเงินต้นช้า หรืออาจจะไม่ครบจำนวนในกรณีที่บริษัทต้องเลิกกิจการ  ถ้าหากผู้ถือหุ้นกู้ไม่ต้องการถือหุ้นกู้อีกต่อไป จะต้องขายในตลาดรอง ซึ่งมีความเสี่ยงจากการที่ราคาขายได้ต่ำกว่าที่คาดหวัง หรืออาจขายไม่ได้ตามเวลาที่ต้องการจากความเสี่ยงเรื่องสภาพคล่อง (Liquidity Risk) ประการที่สอง เนื่องจาก Perpetual Bond ไม่มีกำหนดวันไถ่ถอน จึงมักกำหนดให้ผู้ออกมีสิทธิในการไถ่ถอนคืนก่อนครบกำหนด  (Call Option) เช่น ครบกำหนด 5 ปีนับจากวันที่ออกหุ้นกู้ โดยบริษัทส่วนใหญ่มักไถ่ถอนเมื่อครบกำหนดอายุ […]

BBLAM Knowledge Tips: อินเดียกับศักยภาพการเป็นผู้นำร่วมในเอเชีย

BBLAM Knowledge Tips: อินเดียกับศักยภาพการเป็นผู้นำร่วมในเอเชีย

โดย เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BBLAM อินเดียเป็นประเทศใหญ่ในเอเชีย ที่เรารู้จักกันมานาน แต่ในแง่ของตลาดการลงทุน เรายังรู้จักอินเดียน้อยกว่าประเทศใหญ่อย่างจีน แต่ว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อินเดียก็ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่อง และมีทิศทางที่ดีในระยะกลางและระยะยาว ด้วยปัจจัยสนับสนุนหลายประการ ประการแรกคือ พื้นฐานด้านประชากรศาสตร์ของอินเดียสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมาก ตอนนี้ อินเดียอยู่ระหว่างการก้าวขึ้นเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกแซงจีน ตัวเลขประชากรอินเดียล่าสุดตามรายงานของสหประชาชาติ เดือนเมษายนปีนี้ คือ 1,425 ล้านคน ส่วนจีนกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและมีอัตราการเกิดลดลง ขณะที่ อินเดียประชากรส่วนใหญ่ยังเป็นวัยหนุ่มสาว เป็นวัยแรงงานถึง 60% และประชากรยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ประเด็นเรื่องจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และเป็นวัยแรงงานเกินครึ่ง เป็นวัยสร้างรายได้และมีฐานะเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ สิ่งเหล่านี้สนับสนุนการอุปโภคบริโภคภายในประเทศเป็นอย่างดี ประการที่ 2 คือ การเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดียที่ดีอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ชนชั้นกลางในอินเดียเพิ่มขึ้น มีเงินในมือมาจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น ถือว่าเป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจอินเดียมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีไปอีกนาน สำหรับอัตราการเติบโตของ GDP ประเทศอินเดียในช่วงที่ผ่านมา ถือว่าเติบโตได้ดี เป็นประเทศในกลุ่ม BRICS (บราซิล รัสเซีย […]

BBLAM Knowledge Tips: Sustainable Investing สำคัญอย่างไร?

BBLAM Knowledge Tips: Sustainable Investing สำคัญอย่างไร?

โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPTTM BBLAM                ปัจจุบันนักลงทุนทั่วโลก กำลังให้ความสนใจและให้ความสำคัญ ในแนวคิดเรื่องการลงทุนอย่างยั่งยืน (Sustainable Investing) สาเหตุหลักก็เป็นเพราะโลกของเรา  กำลังเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม อย่าง ภาวะโลกร้อน  ปัญหาน้ำท่วม หรือฝุ่น PM2.5 ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการใช้ชีวิตในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น ชีวิตประจำวัน  การทำงาน  การทำธุรกิจ  และได้ขยายวงกว้างออกไปยังระบบเศรษฐกิจและการลงทุนด้วย  จึงทำให้หลายๆ ประเทศทั่วโลกหันหน้ามาร่วมมือกัน  ทั้งการสร้างข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) หรือการนำแนวคิดนี้มาเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจและการลงทุน                สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้สนับสนุนแนวคิดเรื่องการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกันยกตัวอย่าง แผนบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2561 – 2464  ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  จำนวน 86  โครงการ ภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อม ด้วยงบประมาณกว่าหมื่นล้านบาท โดยเน้นเรื่องการบริหารจัดการขยะ น้ำเสีย และสภาพอากาศ […]

BBLAM China Corner: ไลฟ์สด จุดเปลี่ยนการช้อปปิ้งออนไลน์ในจีน

BBLAM China Corner: ไลฟ์สด จุดเปลี่ยนการช้อปปิ้งออนไลน์ในจีน

โดย ณัฐคม ธีรโรจนวงศ์ BBLAM ในช่วงที่ผ่านมา อุตสาหกรรม E-Commerce ในประเทศจีนขยายตัวอย่างรวดเร็ว จากการสนับสนุนทางนโยบายของทางภาครัฐ และการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ของภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็น แพลตฟอร์มการซื้อขาย การจ่ายเงิน ตลอดจนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่มีความสะดวกและรวดเร็ว ส่งผลให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงการบริการต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย จึงเป็นตัวผลักดันให้ตลาด E-Commerce ในประเทศจีนก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำอันดับ 1 ของโลก โดยมีมูลค่ายอดขายออนไลน์สูงถึง 13.8 ล้านล้านหยวนในปี 2022 และมียอดขายสินค้าออนไลน์คิดเป็น 31.3% ของยอดค้าปลีกในประเทศ โดยมีผู้นำตลาดอย่าง Alibaba และ JD.com ที่ครองส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 60% ปัจจุบัน ตลาดการขายสินค้าออนไลน์แข่งขันอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบการนำเสนอสินค้า การตลาด และโปรโมชั่น เพื่อตอบสนองกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบการนำเสนอสินค้า และการตลาดในรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งกระแสในปัจจุบัน คงหนีไม่พ้นกับคำว่า Livestream E-Commerce หรือที่เรารู้จักกันกับคำว่า การไลฟ์สดนั่นเอง […]

อินโดนิเซียกับความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางรถยนต์ไฟฟ้าแห่ง ASEAN

อินโดนิเซียกับความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางรถยนต์ไฟฟ้าแห่ง ASEAN

BBLAM Indonesia Corner: อินโดนิเซียกับความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางรถยนต์ไฟฟ้าแห่ง ASEAN โดย สรณกร  เตชะยัน BBLAM ถ้าพูดถึงประเทศใน ASEAN ที่เนื้อหอมและดึงดูดค่ายรถยนต์หลากหลายแบรนด์มาลงทุนตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า นาทีนี้ เราคงนึกถึงอินโดนิเซีย ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด และประชากรมากที่สุดใน ASEAN อินโดนิเซียจะเป็นศูนย์กลางรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Hub ของ ASEAN ในอนาคตได้หรือไม่ มีหลากหลายประเด็นที่ต้องวิเคราะห์กัน อย่างแรก อินโดนิเซียให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านในการใช้พลังงานจากน้ำมันและก๊าซ สู่พลังงานไฟฟ้า โดยอินโดนิเซียเป็นสมาชิกของ International Energy Agency (IEA) และมีแผนที่จะเป็นประเทศที่มี Net Zero Emissions หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ภายในปี 2060 ซึ่งการเพิ่มขึ้นของการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้อินโดนิเซียทำได้ตามแผน โดยนโยบายของประธานาธิบดี Joko Widodo ส่งเสริม คือ ภายในปี 2025 อินโดนิเซียมีแผนที่จะมีสัดส่วนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเป็น […]

BBLAM Knowledge Tips: ถ้าออกจากงานแล้วที่ทำงานใหม่ไม่มี PVD ต้องทำยังไง

BBLAM Knowledge Tips: ถ้าออกจากงานแล้วที่ทำงานใหม่ไม่มี PVD ต้องทำยังไง

โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® BBLAM               หลายคนที่ทำงานออฟฟิศ แล้วได้รับสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทำให้เราได้มีโอกาสสะสมเงินส่วนนึ้เข้ากองทุน และบริษัทก็สมทบเงินอีกส่วนนึงเข้ากองทุนให้ทุกๆ เดือน แต่แล้วจู่ๆ ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คิดฝัน ทำงานอดิเรกอยู่ดีๆ ก็รุ่งซะงั้น พลิกผันตัวเองเป็นเจ้าของกิจการไป หรือบางคนอยู่ๆ เพื่อนก็ชวนให้สมัครงานที่น่าสนใจ แล้วเขาก็รับเราเข้าร่วมงานด้วยทันที ไม่ว่าจะกรณีไหนก็ตาม หากที่ทำงานใหม่ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แล้วทีนี้จะทำยังไงกันล่ะ แนะนำแบบนี้ค่ะ               วิธีแรก คือ เราสามารถคงเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมได้ โดยจ่ายค่าธรรมเนียมคงเงินปีละ 500 บาท วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่มีปริมาณเงินสะสมค่อนข้างมาก และการเติบโตของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เราได้เลือกลงทุนแล้วที่ผ่านมา ผลตอบแทนค่อนข้างน่าพอใจ และมองว่า ในอนาคตสามารถเติบโตได้ตามที่เราคาดไว้ ก็สามารถคงเงินไว้ได้เลยค่ะ แต่สำหรับบางคนที่เพิ่งจะเริ่มสะสมเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ไม่เท่าไหร่ แต่ชีวิตผกผัน อาจจะเห็นว่า ค่าธรรมเนียมคงเงิน เป็นเงินจำนวนที่สูง ถ้าแบบนั้นก็เลือกวิธีที่ 2 ได้ค่ะ               วิธีที่ 2 คือ โอนย้ายหน่วยลงทุนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไปยัง […]

BBLAM Knowledge Tips: ขาดทุนอยู่ แต่ถูกชวนให้ลงทุนเพิ่ม

BBLAM Knowledge Tips: ขาดทุนอยู่ แต่ถูกชวนให้ลงทุนเพิ่ม

โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPTTM BBLAM                ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจโลกได้ตกอยู่ในภาวะผันผวน  ส่งผลให้พอร์ตการลงทุนของเราติดลบ  จนทำให้ต้องกลับมาคิดทบทวนกันว่า  “จะไปต่อหรือพอแค่นี้” แต่จนถึงปัจจุบันก็เชื่อว่า หลายคนน่าจะยังไม่ได้ข้อสรุป และอาจจะยังไม่ได้ตัดสินใจว่า จะจัดการกับพอร์ตการลงทุนของตัวเองยังไงดี? เพราะท่ามกลางสถานการณ์การลงทุนที่มีความผันผวนอย่างในตอนนี้  เราก็มักจะได้รับข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ว่า  “ยังมีโอกาสในการลงทุนที่ผ่านเข้ามาอยู่เสมอ”  จนทำให้เรารู้สึกลังเลใจว่า ควรที่จะลงทุนเพิ่มเพื่อถัวเฉลี่ยต้นทุนราคาให้ต่ำลงดีไหม? หรือควรจะขายคืน เพื่อหยุดการขาดทุน  (Cut Loss) หรือว่าควรจะอยู่เฉยๆ ปล่อยให้เวลาคลี่คลายสถานการณ์ไปเอง                       ความรู้สึกต่างๆ เหล่านี้  ได้ส่งผลกระทบต่อจิตใจของเราและนักลงทุนหลายๆ คน จนทำให้เกิดสภาวะทางจิตวิทยาที่รู้สึกถึง “ความไม่ปลอดภัย (Insecure)”  และได้สะท้อนออกมาเป็นทัศนคติและพฤติกรรมในการลงทุนในลักษณะต่างๆ โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ก็น่าจะเป็น  “การระแวงสงสัย” การให้คำแนะนำการลงทุนของผู้เชี่ยวชาญ  ไม่ว่าจะเป็น นักวิเคราะห์ หรือผู้ให้คำแนะนำการลงทุน  โดยเฉพาะกับคำแนะนำที่สื่อความว่า ในสภาวะผันผวนยังมีโอกาสในการลงทุนอยู่ หรือควรลงทุนเพิ่มในช่วงนี้เพื่อถัวเฉลี่ยต้นทุน […]

BBLAM Knowledge Tips: จะรู้ได้ไง จังหวะไหนควรปรับพอร์ต

BBLAM Knowledge Tips: จะรู้ได้ไง จังหวะไหนควรปรับพอร์ต

โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® BBLAM               เอ๊ะ … จะปรับพอร์ตตอนนี้ดีมั้ยนะ ติดลบกระจายเลย หรือ โห… พอร์ตบวกขนาดนี้ ต้องปรับพอร์ตมั้ยนะ ขึ้นแรงเกินไป!!! ไม่ว่าพอร์ตของเราจะขึ้น หรือจะลง ต่างก็มีข้อสงสัยกันว่า แล้วจังหวะไหนล่ะ ควรปรับพอร์ต ลองสังเกต 3 สัญญาณที่บอกให้รู้ว่า ถึงเวลาต้องปรับพอร์ตกันแล้วนะ               สัญญาณแรก สถานการณ์ไม่ปกติ ไม่ว่าจะเป็น ช่วงโรคระบาด สงคราม เงินเฟ้อสูง จากเดิม หากเราจัดพอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูง 50% สินทรัพย์เสี่ยงต่ำ 50% หรือ 50:50 แล้วพอร์ตการลงทุนของเรากลับกลายเป็น 40:60 เพราะเกิดการขาดทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงที่ลงทุนไป ทำให้มูลค่าเงินลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงปรับตัวลดลง  ก็อย่าเพิ่งตกใจกันไป เราสามารถเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูง เพื่อปรับพอร์ตของเราให้กลับมาเป็น 50:50 ตามที่เราต้องการได้ แม้ว่าเราจะรู้สึกว่า ไม่อยากลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงสูงเพิ่มขึ้นเลย เพราะที่ผ่านมา […]

BBLAM Vietnam Corner: มุมมองการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนาม

BBLAM Vietnam Corner: มุมมองการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนาม

มุมมองการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนาม ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลก โดย ธันยา  รัตนาวะดี BBLAM นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในปี 2020 ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง     แม้เศรษฐกิจในหลายประเทศชะลอตัวลง แต่เวียดนามกลับเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่เศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยหลักมาจากการบริโภคภายในประเทศที่แข็งแกร่ง รวมถึงภาคการส่งออกที่ยังเติบโตได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ประโยชน์จากมาตรการ Work-From-Home ในช่วงปิดเมืองของหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจเวียดนามเริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลงตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2022 จากความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ซึ่งสืบเนื่องมาจากการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารทั่วโลก เพื่อควบคุมแรงกดดันด้านเงินเฟ้อสูง รวมถึงค่าเงินดองที่ขาดเสถียรภาพ ประกอบกับปัญหาในประเทศที่รัฐบาลยังคงเข้มงวดการปราบปรามคอร์รัปชัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดหุ้นและภาคอสังหาริมทรัพย์ ผ่านการควบคุมสภาพคล่องจากการให้สินเชื่อของภาคธนาคาร และเพิ่มความเข้มงวดในการออกหุ้นกู้ ปัจจัยดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ สะท้อนผ่านตัวเลขนำเข้าที่หดตัวลงกว่า 8.1% ในไตรมาส 4 ปี 2022 โดยหลายบริษัทได้ตัดสินใจลดการซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์ภาคการผลิต เพื่อลดความเสี่ยงจากเศรษฐกิจในและนอกประเทศ ปัญหาดังกล่าวยังคงยืดเยื้อมาถึงปี 2023 ซึ่งถือว่าเป็นปีที่มีความท้าทายอย่างมากต่อภาคการส่งออกและการบริโภคของภาคเอกชน ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของเศรษฐกิจเวียดนาม อย่างไรก็ตาม รัฐบาลของเวียดนามได้ตั้งเป้าหมายในการรักษาอัตราการเติบโต GDP ที่ 6.5% และตั้งเป้าหมายเงินเฟ้อที่ […]