BBLAM Knowledge Tips: Sustainable Investing สำคัญอย่างไร?

BBLAM Knowledge Tips: Sustainable Investing สำคัญอย่างไร?

โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPTTM BBLAM                ปัจจุบันนักลงทุนทั่วโลก กำลังให้ความสนใจและให้ความสำคัญ ในแนวคิดเรื่องการลงทุนอย่างยั่งยืน (Sustainable Investing) สาเหตุหลักก็เป็นเพราะโลกของเรา  กำลังเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม อย่าง ภาวะโลกร้อน  ปัญหาน้ำท่วม หรือฝุ่น PM2.5 ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการใช้ชีวิตในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น ชีวิตประจำวัน  การทำงาน  การทำธุรกิจ  และได้ขยายวงกว้างออกไปยังระบบเศรษฐกิจและการลงทุนด้วย  จึงทำให้หลายๆ ประเทศทั่วโลกหันหน้ามาร่วมมือกัน  ทั้งการสร้างข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) หรือการนำแนวคิดนี้มาเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจและการลงทุน                สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้สนับสนุนแนวคิดเรื่องการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกันยกตัวอย่าง แผนบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2561 – 2464  ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  จำนวน 86  โครงการ ภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อม ด้วยงบประมาณกว่าหมื่นล้านบาท โดยเน้นเรื่องการบริหารจัดการขยะ น้ำเสีย และสภาพอากาศ […]

BBLAM ESG Corner: ถอดบทเรียนจากโควิด-19 เพื่อเร่งขีดความสามารถของ ESG

BBLAM ESG Corner: ถอดบทเรียนจากโควิด-19 เพื่อเร่งขีดความสามารถของ ESG

โดย ณัฐพล ปรีชาวุฒิ BBLAM เมื่อเรามองย้อนกลับไปในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แทบจะไม่มีใครเลยที่วิถีชีวิตไม่ได้ผ่านการปรับเปลี่ยนไป เพราะวิกฤตการณ์นั้นได้บังคับให้พวกเราต้องปรับตัวให้เข้ากับความท้าทายต่างๆ ซึ่งส่วนมากเหมือนจะปรับตัวกันได้ดีทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น การทำงานที่บ้าน (Work from Home) การประชุมงานกันผ่านวีดีโอคอล หรือแม้แต่การทำอาหารรับประทานกันเองที่บ้านแทนการออกไปร้านอาหารนอกบ้าน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือ Climate Change ถือเป็นวิกฤตระดับโลกที่ต้องการการแก้ไขที่เร่งด่วนเช่นเดียวกัน แต่ดูเหมือนว่า มนุษย์อย่างเราดูจะตอบสนองไม่เร็วเท่าที่ควร ดังนั้น เราจึงควรถอดบทเรียนการแก้ปัญหาโควิด-19 นำมาประยุกต์เพื่อเร่งกระบวนการการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศผ่านกระบวนการ ESG ให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในที่นี้ เราได้ถอดบทเรียน 3 ข้อที่องค์กรแต่ละแห่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้และกระตุ้นกระบวนการส่งเสริม ESG ได้ดียิ่งขึ้น บทเรียนข้อแรก เราพบว่า การแก้ปัญหาของสังคมมนุษย์ต่อสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นเร็วกว่าที่หลายคนคิด โดยหลายองค์กรสามารถปรับวิธีการทำงานจากการทำงานที่ออฟฟิศมาเป็นการทำงานที่บ้านได้ภายในไม่กี่วัน หรือแม้กระทั่งเราได้เห็นการคิดค้นวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส โดยใช้เวลาน้อยที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ที่ผ่านมา ถึงแม้เราจะเริ่มเห็นความตระหนักที่เพิ่มขึ้นต่อคุณค่าของความยั่งยืนผ่านองค์กรที่เข้าร่วมโครงการการลดการปล่อยคาร์บอนที่มากขึ้นมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อาทิ บริษัท Shell ที่ล่าสุดได้ประกาศการเร่งตัวเข้าสู่บริษัทที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net-Zero เช่นเดียวกับบริษัท […]

BBLAM ESG Corner: Zero Waste ลดขยะให้เหลือเป็นศูนย์ ไม่ยากอย่างที่คิด

BBLAM ESG Corner: Zero Waste ลดขยะให้เหลือเป็นศูนย์ ไม่ยากอย่างที่คิด

โดย รุ่งนภา เสถียรนุกูล BBLAM สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย พบว่า ในปี 2564 ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นอยู่ที่ 24.98 ล้านตัน หรือประมาณ 68,434 ตันต่อวัน หรือคิดเป็นอัตราการเกิดขยะมูลฝอย 1.03 กิโลกรัม/คน/วัน ซึ่งเมื่อเทียบกับปริมาณขยะมูลฝอยในปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณที่ลดลง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19) ที่เริ่มคลี่คลายลง  แต่ประชาชนยังคงพฤติกรรมในการใช้บริการสั่งซื้อสินค้าและอาหารผ่านระบบออนไลน์ จึงทำให้มีขยะมูลฝอยประเภทบรรจุภัณฑ์หรือพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Use plastic) ยังอยู่ในระดับที่สูง ไม่เพียงแต่ในประเทศไทย ที่มีปัญหาในเรื่องของการกำจัดขยะมูลฝอย ทั่วโลกเองก็มีปัญหาในเรื่องดังกล่าวด้วยเช่นกัน จากพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ปริมาณขยะที่ทิ้งออกมามีปริมาณที่สูง ส่วนหนึ่งของปัญหาขยะเกิดจากการบริโภคสินค้าแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่น ขวดพลาสติก หลอดพลาสติก โฟม ซึ่งในการกำจัดขยะเหล่านี้ส่งผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ดังนั้น แนวคิดเรื่อง Zero Waste  จึงเกิดขึ้นมา เพื่อเป็นแนวทางในการลดการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทาง ทำให้ปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดให้ลดเหลือน้อยที่สุดจนเป็นศูนย์ โดยอาศัยหลักการจัดการขยะในรูปแบบ 1A3R […]

BBLAM ESG Corner: Sustainability-Linked Bond ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน (SLBs)

BBLAM ESG Corner: Sustainability-Linked Bond ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน (SLBs)

โดย ณัฐกร พีรสุขประเสริฐ BBLAM ในตลาดตราสารหนี้ หลายๆ คน คงคุ้นเคยกับคำว่า พันธบัตรสีเขียว (Green Bonds) ซึ่งจำกัดวัตถุประสงค์ของการระดมทุนเพื่อการลงทุนในโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ในปัจจุบัน มีตราสารหนี้รูปแบบใหม่เรียกว่า ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน หรือ Sustainability-Linked Bonds (SLBs) ซึ่งไม่ได้จำกัดวัตถุประสงค์ของการระดมทุนเหมือนกับ Green Bonds แต่กลับเปิดโอกาสให้ผู้ระดมทุนสามารถนำเงินลงทุนไปลงทุนกับโครงการใดๆ   ก็ได้ เพียงแต่คุณลักษณะบางประการของตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน อาทิ Coupon Rate จะเชื่อมโยงกับศักยภาพในการดำเนินงานของบริษัทด้านความยั่งยืน ซึ่งจะถูกประเมินด้วยตัวชี้วัด (KPIs) เป้าหมายด้านความยั่งยืน (SPTs) และกรอบระยะเวลาในการดำเนินงาน โดยบริษัทที่ระดมทุนด้วยการออกขาย SLBs ครั้งแรกของโลกคือ บริษัท ENEL ซึ่งเป็นบริษัทด้านพลังงานสะอาดในภูมิภาคยุโรป ทำการออกขาย SLBs ในเดือนกันยายน ปี 2019 Sustainability-Linked Bond (SLBs) คือ เครื่องมือทางการเงินรูปแบบหนึ่งที่ใช้สำหรับการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ […]

นักลงทุนสนใจลงทุนกองทุนมุ่งเน้น ESG เพิ่ม 4 เท่าตัว ขณะที่ ก.ล.ต. สหรัฐฯ คุมเข้มป้องกันการลงทุนธุรกิจฟอกเขียวมากขึ้น

นักลงทุนสนใจลงทุนกองทุนมุ่งเน้น ESG เพิ่ม 4 เท่าตัว ขณะที่ ก.ล.ต. สหรัฐฯ คุมเข้มป้องกันการลงทุนธุรกิจฟอกเขียวมากขึ้น

กองทุนที่มุ่งเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ดีกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น ภายใต้ชื่อเรียกว่ากองทุน ESG ซึ่งหมายถึงการลงทุนในธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล โดยพบว่า ณ สิ้นปี 2021 มีนักลงทุนจัดสรรเงินมาลงทุนในภาคส่วนที่ให้ความสำคัญเรื่อง ESG 357,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าตัวเมื่อเทียบกับ 3 ปีก่อนหน้านี้ ตามข้อมูลของ Morningstar ทั้งนี้ นักลงทุนใส่เงินถึง 69,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เข้าไปในกองทุน ESG ที่รู้จักกันในชื่อ กองทุนยั่งยืนเมื่อปีที่ผ่านมา โดยกองทุนประเภทนี้ มีหลากหลายรูปแบบมาก มีทั้งที่พยายามส่งเสริมเรื่องความเท่าเทียมทางเพศหรือเชื้อชาติ การลงทุนในเทคโนโลยีพลังงานสะอาดหรือหลีกเลี่ยงเชื้อเพลิงฟอสซิล ยาสูบ หรือบริษัทปืน เป็นต้น ขณะที่ผู้หญิงและกลุ่มนักลงทุนรุ่นใหม่ ที่อายุต่ำกว่า 40 ปี เป็นกลุ่มที่สนใจการลงทุนที่มี ESG มากที่สุด ตามข้อมูลของ Cerulli Associates โดยพบว่าประมาณ 34% ของที่ปรึกษาทางการเงิน นำเสนอกองทุน […]

อุณหภูมิโลกมีโอกาสผ่านจุดชี้ชะตาสำคัญร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสได้ ในอีก 5 ปีข้างหน้า

อุณหภูมิโลกมีโอกาสผ่านจุดชี้ชะตาสำคัญร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสได้ ในอีก 5 ปีข้างหน้า

ผลการศึกษาใหม่ที่พยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ จัดทำโดย U.K. Met Office ชี้ว่า มีโอกาส 50% ที่ภายใน 5 ปีข้างหน้า โลกเราจะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับเกณฑ์ความร้อนสำคัญของโลก ที่ได้มีการตั้งเป้าหมายกันไว้ว่า จะพยายามทำให้โลกไม่ร้อนขึ้นเกินระดับนี้ เมื่อปี 2015 นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศ เคยกล่าวว่า มีโอกาส 0% ที่อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับระดับอุณหภูมิในยุคก่อนอุตสาหกรรมในอีก 5 ปีข้างหน้า แต่ว่าแนวโน้มที่อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นระดับนี้ กลับเพิ่มขึ้นเป็น 10% ระหว่างปี 2017-2021 และล่าสุดก็ไต่ระดับขึ้นมาเข้าใกล้ 50% สำหรับปี 2022-2026 ความเป็นไปได้นี้เกิดขึ้นเพียงไม่นาน หลังจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ (IPCC) ออกมาเตือนว่า เราต้องร่วมกันต่อสู้เพื่อไม่ให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส นักวิทยาศาสตร์ IPCC เรียกร้องให้มีการลดใช้พลังงานฟอสซิลเพื่อควบคุมความร้อนของโลก โดยปัจจุบันโลกเราร้อนขึ้นมา 1.1 […]

รู้จัก เทรนด์การลงทุน “เพื่อโลก” ที่ดีขึ้น

รู้จัก เทรนด์การลงทุน “เพื่อโลก” ที่ดีขึ้น

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่!!    

ทำไมเงินถึงไหลเข้ากองทุน ESG ถึง 1,000,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ?

ทำไมเงินถึงไหลเข้ากองทุน ESG ถึง 1,000,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ?

ทำไมเงินถึงไหลเข้ากองทุน ESG ถึง 1,000,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ? ESG จะไม่ใช่แค่กระแส แต่เป็นเทรนด์การลงทุนสำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม ? พลังงานสะอาด จะเป็นการลงทุนที่สำคัญในอนาคตอย่างไร ? ลงทุนแมน ชวนผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ คุณมทินา วัชรวราทร CFA® Head of Investment Strategy กองทุนบัวหลวง มาร่วมพูดคุย ในลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง รับชมย้อนหลังได้ที่นี่!!

กองทุนบัวหลวง มอบเงิน 1.2 แสนบาท สนับสนุนโครงการ Care the Wild ร่วมปลูกต้นไม้ในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านหนองทิศสอน จ.มหาสารคาม

กองทุนบัวหลวง มอบเงิน 1.2 แสนบาท สนับสนุนโครงการ Care the Wild ร่วมปลูกต้นไม้ในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านหนองทิศสอน จ.มหาสารคาม

ภารกิจลดโลกร้อน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้เหลือศูนย์ กลายเป็นวาระที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งของความยั่งยืน    กองทุนบัวหลวงเองก็เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ ล่าสุด กองทุนบัวหลวง มอบเงิน 1.2 แสนบาท สนับสนุนโครงการ Care the Wild “ปลูกป้อง Plant & Protect” โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ร่วมปลูกต้นไม้ในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านหนองทิศสอน จ.มหาสารคาม ทั้งมุ่งหวังเพิ่มรายได้ให้ชุมชนเพื่อให้พึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น อันเป็น Collaboration Platform ของภาคธุรกิจ ภาครัฐและภาคสังคม ด้วยการระดมทุนเพื่อสร้างพื้นที่ป่า สร้างสมดุลระบบนิเวศ ทำงานร่วมกับ “ธรรมชาติ” เพื่อให้การพัฒนาของมนุษย์ อยู่บนเส้นทางเดียวกับความสมดุลย์ของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แผนปฏิบัติงานของโครงการนี้ ได้รับความร่วมมือจากทั้งองค์กรภาครัฐ ธุรกิจเพื่อสังคม และองค์กรเพื่อสังคมในการกำหนดพื้นที่ปลูกต้นไม้ ล่าสุด คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ อันประกอบด้วย คณะผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพัฒนาสังคมและด้านวิชาการ ผู้แทนด้านความยั่งยืนและวิจัยพัฒนาจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้ส่วนกลางและภูมิภาค พร้อมด้วยผู้นำชุมชน ร่วมดำเนินการ เพื่อเตรียมการปลูกต้นไม้ในช่วงฤดูปลูก (เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2564)  รวม […]

ก้าวเริ่มต้นบนเส้นทางสู่ Net Zero Carbon Emission

ก้าวเริ่มต้นบนเส้นทางสู่ Net Zero Carbon Emission

โดย…เศรณี นาคธน กองทุนบัวหลวง โลกในปัจจุบันต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบไปยังทุกภาคส่วน ด้วยปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งมาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ โดย The Global Risk Report 2021 ที่จัดทำโดย World Economic Forum ระบุว่า ความเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจาก สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจากการทำลายของน้ำมือมนุษย์และการจัดการด้านสภาพอากาศที่ล้มเหลว นับเป็นความเสี่ยงที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นมากที่สุดภายใน 10 ปีข้างหน้านี้ ส่งผลให้ประชาคมโลกต้องตระหนักถึงการรักษาสภาพแวดล้อม พยายามหาแหล่งพลังงานแบบใหม่เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อทดแทนแหล่งพลังงานฟอสซิล ความพยายามและความร่วมมือของประชาคมโลกที่ดูเป็นรูปธรรมที่สุด ได้แก่ ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่กลุ่มประเทศที่เข้าร่วมมากกว่า 55 ประเทศจะร่วมมือกันยับยั้งไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงเกิน 2 องศาเซลเซียส หรือ 1.5 องศาเซลเซียส ถ้าเป็นไปได้ โดยครอบคลุมการดำเนินการในด้านต่างๆ เช่น การลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ การให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ ซึ่งรวมถึงด้านการเงิน และลงทุนทางด้านดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่า เส้นทางของการเข้าสู่ Net […]