การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) สหรัฐฯ เดือน มี.ค. ลดลง -7.01 แสนราย ขณะที่ ธนาคารกลางจีน (PBoC) ประกาศลดอัตราส่วนเงินกันสำรองขั้นต่ำ (RRR) สำหรับธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและเล็ก

การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) สหรัฐฯ เดือน มี.ค. ลดลง -7.01 แสนราย ขณะที่ ธนาคารกลางจีน (PBoC) ประกาศลดอัตราส่วนเงินกันสำรองขั้นต่ำ (RRR) สำหรับธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและเล็ก

BF Economic Research

  • การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) เดือน มี.ค. ลดลง -7.01 แสนราย โดยนับเป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2010 จากผลกระทบของ COVID-19 ที่กดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ โดยเฉพาะในภาคบริการ
  • ตัวเลขการจ้างงานในเดือน ม.ค.-ก.พ. ถูกปรับลดลงรวมกัน 5.7 หมื่นราย (ปรับเพิ่ม 2 พันรายในเดือน ก.พ. และปรับลด 5.9 หมื่นรายในเดือน ม.ค.)
  • การจ้างงานภาคเอกชนลดลง -7.13 แสนราย (vs. เพิ่มขึ้น 2.42 แสนรายในเดือนก่อน) โดยปรับลดลงแรงสุดในกลุ่มโรงแรมและการท่องเที่ยว (ลดลง -4.59 แสนราย) ขณะที่การจ้างงานภาครัฐเพิ่มขึ้น 1.2 หมื่นราย ส่วนหนึ่งเพื่อจัดทำผลสำรวจสำมะโนประชากร (Census survey)
  • ด้านรายอุตสาหกรรม การจ้างงานภาคบริการลดลง -6.59 แสนราย (vs. เพิ่มขึ้น 1.85 แสนรายเดือนก่อน) ส่วนใหญ่เป็นการเลิกจ้างในกลุ่มโรงแรมและธุรกิจบริการร้านอาหาร สำหรับภาคการผลิตลดลง -1.8 หมื่นราย (vs. เพิ่มขึ้น 1.3 หมื่นรายเดือนก่อน)
  • อัตราการว่างงาน (Unemployment rate) ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 4.4% จากระดับต่ำสุดในรอบ 50 ปีที่ 3.5% ในเดือนก่อน ซึ่งนับเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2017

  • 4 เม.ย. ธนาคารกลางจีน (PBoC) ประกาศลดอัตราส่วนเงินกันสำรองขั้นต่ำ (RRR) สำหรับธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและเล็กลง 100bps โดยจะปรับลดครั้งละ 50bps ในวันที่ 15 เม.ย. และ 15 พ.ค. ซึ่ง PBoC ประเมินการปรับลดดังกล่าวจะเพิ่มสภาพคล่องราว RMB400bn
  • นอกจากนี้ PBoC ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยบนเงินสำรองส่วนเกิน (Interest on Excess Reserves) ลงเป็น 0.35% จากเดิม 0.72% ซึ่งนับเป็นการปรับลดครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2008
  • ทั้งนี้เมื่อวันที่ 30 มี.ค. ที่ผ่านมา PBoC เพิ่งจะประกาศลด Reverse Repo Rate 7 วัน และเพิ่ม Quota สำหรับ PBoC’s Relending อีก 1 ล้านล้านหยวน Ontop จาก  8 แสนล้านหยวนในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ.
  • ติดตามการประชุม NPC ที่คาดจะมีในเดือนนี้ (เลื่อนจากกำหนดวันที่ 5 มี.ค. จาก COVID-19) โดยคาดรัฐบาลจะประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยเฉพาะด้านการคลังซึ่งคาดว่ารัฐบาลจะประกาศปรับเพิ่มเป้าขาดดุลการคลัง (vs. เป้าปี 2019 ที่ 2.8% ของ GDP) ปรับเพิ่มโควต้าการออกพันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่นฉบับพิเศษซึ่งใช้ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (vs. โควต้าปี 2019 ที่ 2.15 ล้านล้านหยวน) และออกมาตรการหนุนอุปสงค์ในประเทศ เช่น การให้ส่วนลดซื้อรถยนต์หรือคูปองเงินสดเพื่อใช้ซื้อสินค้า