- กองทุนเปิดบัวแก้วปันผล (BKD)
- กองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุน (BCAP)
- กองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาล (BSIRICG)
- กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 (BBASIC)
BBLAM’s 2020 INVESTMENT THEMES
“เครือข่ายครอบคลุมสร้างความแข็งแกร่ง บรรษัทแข็งแรงสร้างความยั่งยืน”
ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความผันผวนสูงในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยหลังจากการปรับตัวลงแรงในเดือนมีนาคม ตลาดก็สามารถปรับตัวฟื้นขึ้นมาได้จากระดับต่ำสุดมากกว่า 20% ในเดือนเมษายน จากการที่เหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น ได้รับการรับมือที่เข้มข้นมากขึ้นจากประเทศต่างๆ ผ่านมาตรการของภาครัฐในภาคสาธารณสุขและการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งการช่วยเหลือภาคธุรกิจ และการสร้างความเชื่อมั่นในตลาดการเงิน เพื่อรักษาสภาพคล่องและกลไกตลาดให้ยังทำงานเป็นปกติได้ บรรยากาศการลงทุนในเดือนเมษายนนี้จึงเป็นไปในทิศทางเชิงบวก โดยถึงแม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจที่มีประกาศออกมาจะเป็นไปในเชิงลบ แต่ก็เป็นสิ่งที่ตลาดคาดการณ์ไว้อยู่แล้ว นักลงทุนจึงหันมาให้น้ำหนักกับพัฒนาการที่ดีขึ้นเป็นลำดับของการแพร่ระบาดในประเทศต่างๆ ความหวังของการพัฒนายาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการกลับมาคลายล็อคดาวน์หลังจากที่สถานการณ์นั้นดีขึ้น ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็วมากขึ้น
ด้านตลาดน้ำมันนั้น นอกจากจะถูกกดดันจากความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานอันทำให้ราคาน้ำมันตกต่ำแล้ว ยังลามไปจนเกิดภาวะติดลบครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยเป็นสาเหตุเพิ่มเติมจากภาวะขาดแคลนพื้นที่จัดเก็บ และสภาพคล่องที่น้อยในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ในช่วงที่สัญญาใกล้หมดอายุ อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันก็ค่อยๆกลับมาสู่ภาวะปกติมากขึ้น
ด้านตลาดหุ้นไทยในเดือนเมษายน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 175.8 จุด สู่ระดับ 1,301.66 จุด เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นทั่วโลก โดยผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีติดลบลดลงเหลือ 17.6% นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิราว 4.7 หมี่นล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 7.8 หมื่นล้านบาท แนวโน้มเศรษฐกิจและการลงทุนในช่วงต่อจากนี้ยังคงมีความไม่แน่นอน โดยเศรษฐกิจที่ถูกล็อคดาวน์มาในเดือนเมษายนนั้น กำลังทยอยกลับมาดำเนินการ ตามมาตรการที่รัฐบาลวางเอาไว้ หลังตัวเลขผู้ติดเชื้อของไทยนั้นปรับตัวดีขึ้นมาก โดยถ้าหากสถานการณ์การแพร่ระบาดยังถูกควบคุมได้ดี ก็จะนำไปสู่การทยอยเปิดธุรกิจในวงกว้างมากขึ้นตามมา ซึ่งถือเป็นกรณีฐาน (Base Case) ที่การแพร่ระบาดอยู่ในวงจำกัดและสามารถตามควบคุมได้ โดยังต้องระวังไม่ให้เกิดกรณีการระบาดซ้ำ อันจะนำไปสู่ความเสี่ยงของการควบคุมที่เข้มขึ้นอีกครั้ง
มุมมองตลาดหุ้นไทย
กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับเข้าสู่ปกติ แต่ประชาชนยังคงต้องใช้ชีวิตอย่างมี Social Distancing ในอีกระยะหนึ่งหลังจากนี้ จะทำให้ธุรกิจบางประเภทยังไม่สามารถดำเนินได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะเห็นผลกระทบต่อผลประกอบการในไตรมาส 2 ลากไปถึงไตรมาส 3 ได้ แต่เนื่องจากการปรับตัวขึ้นของตลาดโดยรวมในช่วงที่ผ่านมา ทำให้หุ้นขึ้นในแทบทุกอุตสาหกรรม อาจจะทำให้นักลงทุนผิดหวังกับความคาดหวังการฟื้นตัวของบางบริษัทที่ยังได้รับผลกระทบต่อเนื่องได้ จึงคาดว่า ตลาดหุ้นในช่วงหลังจากนี้ ผลตอบแทนของหุ้นรายตัวจะมีความ Selective มากขึ้น เราจึงเน้นเลือกลงทุนหุ้นที่มีความแข็งแกร่งทางการเงินและมีความสามารถในการแข่งขัน ที่จะสามารถผ่านความผันผวนทางเศรษฐกิจนี้ไปได้ รวมทั้งให้น้ำหนักมากขึ้นกับกลุ่มธุรกิจที่สามารถกลับมาดำเนินการได้ใกล้เคียงภาวะปกติในเวลาไม่นาน
ทั้งนี้ เรายังคงยึดมั่นต่อความพิถีพิถันในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นรายตัว เพื่อหาหุ้นที่แข็งแรงพอที่จะผ่านปัจจัยความไม่แน่นอนต่างๆ และสามารถแสดงศักยภาพของการเติบโตต่อไปในระยะยาวได้ ภายใต้ราคาที่เหมาะสม
ปัจจัยทั้งบวก/ลบต่อกองทุน
(+) ปริมาณเงินมหาศาลถูกอัดฉีดเข้ามาในระบบเศรษฐกิจทั้งสู่ประชาชนโดยตรงและผ่านการซื้อตราสารในตลาดทุน FED มีการประกาศอัดฉีด QE เข้าซื้อตราสารหนี้แบบไม่จำกัดวงเงินและไม่จำกัดเรตติ้ง เมื่อรวมกับมาตรการการคลังที่แจกเงินเข้าสู่มือประชาชนที่ตกงานและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกว่าอีก 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ สิงคโปร์อัดฉีดเงิน 3.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 11% ของ GDP ญี่ปุ่นวางแผนกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 9.9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเกือบ 20% ของ GDP เป็นต้น
(+) ทางด้านประเทศไทยนั้น BOT มีการประกาศให้ความช่วยเหลือด้านเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) แก่ผู้ประกอบการธุรกิจวงเงิน 5 แสนล้านบาท อีกทั้งยังประกาศเข้าซื้อตราสารทางการเงินของบริษัทเอกชนโดยตรง เป็นวงเงินกว่า 4 แสนล้านบาท ส่วนในฝั่งนโยบายการคลัง รัฐบาลได้มีการแจกเงินเยียวยารายละ 5,000 บาทเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน รวมถึงภาคเกษตร ในวงเงินกว่า 1 ล้านล้านบาท การกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างพร้อมเพรียงกันทั่วโลกนี้ จึงส่งผลดีต่อบรรยากาศการลงทุน และทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกฟื้นตัวในลักษณะ V-shape
(+/-) การผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ ซึ่งเป็นแนวโน้มที่หลายประเทศรวมถึงประเทศไทยดำเนินการอยู่ ประกอบกับความคาดหวังเชิงบวกเป็นเรื่องของผลทางเศรษฐกิจที่จะกลับมาเคลื่อนไหวเกิดกิจกรรมมากขึ้น จึงส่งผลทำให้ช่วงที่ผ่านมาราคาหุ้นได้มีการตอบสนองเชิงบวกขึ้นไป แต่อีกทางหนึ่งก็เป็นการสร้างความกังวลว่าโควิด-19 จะกลับมาระบาดอีกรอบหรือไม่ ดังนั้นจึงต้องลงทุนอย่างระมัดระวังและต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป
(+/-) ราคาน้ำมันดิบยังคงผันผวน แม้ Sentiment ซาอุดีอาระเบียได้ออกมาระบุว่าจะลดกำลังการผลิตน้ำมันอีก 1 ล้านบาร์เรล/วัน ในเดือนมิ.ย.นี้ นอกเหนือจากที่ได้ปรับลดกำลังการผลิตตามข้อตกลงของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส เป็นแรงดันให้ราคาน้ำมันขยับขึ้นมาหนุนหุ้นในกลุ่มพลังงาน แต่ก็ยังต้องติดตามประเทศอื่นอย่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คูเวต ว่าจะช่วยลดกำลังการผลิตน้ำมันด้วยหรือไม่
(-) ความกังวลต่อจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 จะกลับมาเพิ่มขึ้นอีกหลังจากที่มีการปลดล็อคดาวน์ อย่างเกาหลีใต้ และเยอรมนี เป็นต้น
(-) กำไรบริษัทจดทะเบียนงวด 1Q63 ที่มีโอกาสหดตัวแรง โดยมีการรายงานงบออกมาแล้วทั้งสิ้น 111 บริษัท (คิดเป็น 44% ของมูลค่าตลาด) มีกำไรสุทธิรวมกันทั้งสิ้น 6.3 หมื่นล้านบาท ลดลงถึง 46.5%QoQ และ 58.9%YoY เพราะฉะนั้นการที่กำไรงวด 1Q63 ลดลงแรง บวกกับความไม่แน่นอนของ 2Q63 จึงยังคงเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงของตลาด
(-) Fund Flow ในปี 2563 นี้ พบว่า ต่างชาติยังคงขายหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง โดยขายสุทธิไปแล้วกว่า 1.7 แสนล้านบาท (YTD)
กลยุทธ์การลงทุนของกองทุน
- กองทุนเปิดบัวแก้วปันผล (BKD)
ตั้งแต่ต้นปี 2563 (ม.ค.-เม.ย.) กองทุนให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) โดยผลตอบแทนของกองทุนเปิดบัวแก้วปันผลอยู่ที่ -13.88% ในขณะที่เกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ -15.81% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรกพบว่า
ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม ขนส่งและโลจิสติกส์ ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การแพทย์ วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น
- กองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุน (BCAP)
ตั้งแต่ต้นปี 2563 (ม.ค.-เม.ย.) กองทุนให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) โดยผลตอบแทนของกองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุนอยู่ที่ -12.88% ในขณะที่เกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ -15.81% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรกพบว่า
ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม ขนส่งและโลจิสติกส์ ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การแพทย์ วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น
- กองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาล (BSIRICG)
ตั้งแต่ต้นปี 2563 (ม.ค.-เม.ย.) กองทุนให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (SET High Dividend 30 Index) โดยผลตอบแทนของกองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาลอยู่ที่ -14.67% ในขณะที่เกณฑ์มาตรฐาน (SET High Dividend 30 Index) อยู่ที่ -22.62% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรกพบว่า
ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงานและสาธารณูปโภค พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เงินทุนและหลักทรัพย์ ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ธนาคาร อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น
- กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 (BBASIC)
ตั้งแต่ต้นปี 2563 (ม.ค.-เม.ย.) กองทุนให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) โดยผลตอบแทนของกองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 อยู่ที่ -11.81% ในขณะที่เกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) อยู่ที่ -15.81% และหากอ้างอิงสัดส่วนลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรกพบว่า
ทั้งนี้ ผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มความระมัดระวังในการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของการลงทุนมากเป็นพิเศษ ในช่วงผันผวนระยะสั้น และยังคงกลยุทธ์ในการเลือกลงทุนหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีแนวโน้มของกิจการที่ดี มีระดับราคาเหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียน ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณรวมถึงการติดตามการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ส่วนกลยุทธ์การลงทุนของกองทุน ได้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การแพทย์ ขณะที่ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในอุตสาหกรรม อาหารและเครื่องดื่ม พาณิชย์ วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น
ผลการดำเนินงานและความผันผวนของผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 30 เม.ย. 2563
ประวัติการจ่ายเงินปันผล ภายในปี 2560 จนถึงปัจจุบัน
- กองทุนเปิดบัวแก้วปันผล (BKD)
- กองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุน (BCAP)
- กองทุนเปิดบัวหลวงสิริผลบรรษัทภิบาล (BSIRICG)
- กองทุนเปิดบัวหลวงปัจจัย 4 (BBASIC)
เผยแพร่ ณ วันที่ 22 พ.ค. 2563 ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลัง