ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความผันผวนสูงในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยหลังจากการปรับตัวลงแรงในเดือนมีนาคม ตลาดก็สามารถปรับตัวฟื้นขึ้นมาได้จากจากระดับต่ำสุดมากกว่า 20% ในเดือน เม.ย. จากการที่เหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น ได้รับการรับมือที่เข้มข้นมากขึ้นจากประเทศต่างๆ ผ่านมาตรการของภาครัฐในภาคสาธารณสุขและการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการช่วยเหลือภาคธุรกิจ และการสร้างความเชื่อมั่นในตลาดการเงิน เพื่อรักษาสภาพคล่องและกลไกตลาดให้ยังทำงานเป็นปกติได้ บรรยากาศการลงทุนในเดือนเมษายนนี้จึงเป็นไปในทิศทางเชิงบวก โดยถึงแม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจที่มีประกาศออกมาจะเป็นไปในเชิงลบ แต่ก็เป็นสิ่งที่ตลาดคาดการณ์ไว้อยู่แล้ว นักลงทุนจึงหันมาให้น้ำหนักกับพัฒนาการที่ดีขึ้นเป็นลำดับของการแพร่ระบาดในประเทศต่างๆ ความหวังของการพัฒนายาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการกลับมาคลายล็อกดาวน์หลังจากที่สถานการณ์นั้นดีขึ้น ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็วมากขึ้น
ด้านตลาดน้ำมันนั้น นอกจากจะถูกกดดันจากความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานอันทำให้ราคาน้ำมันตกต่ำแล้ว ยังลามไปจนเกิดภาวะติดลบครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยเป็นสาเหตุเพิ่มเติมจากภาวะขาดแคลนพื้นที่จัดเก็บ และสภาพคล่องที่น้อยในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ในช่วงที่สัญญาใกล้หมดอายุ อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันก็ค่อยๆกลับมาสู่ภาวะปกติมากขึ้น
สำหรับ ตลาดหุ้นไทยในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้น 175.8 จุด สู่ระดับ 1,301.66 จุด เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นทั่วโลก โดยผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีติดลบลดลงเหลือ 17.6% นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิราว 4.7 หมี่นล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 7.8 หมื่นล้านบาท
แนวโน้มเศรษฐกิจและการลงทุนในช่วงต่อจากนี้ยังคงมีความไม่แน่นอน โดยเศรษฐกิจที่ถูกล็อคดาวน์มาในเดือน เม.ย. นั้น กำลังทยอยกลับมาดำเนินการ ตามมาตรการที่รัฐบาลวางเอาไว้ หลังตัวเลขผู้ติดเชื้อของไทยนั้นปรับตัวดีขึ้นมาก หากสถานการณ์การแพร่ระบาดยังถูกควบคุมได้ดี ก็จะนำไปสู่การทยอยเปิดธุรกิจในวงกว้างมากขึ้นตามมา ซึ่งถือเป็นกรณีฐาน (Base Case) ที่การแพร่ระบาดอยู่ในวงจำกัดและสามารถตามควบคุมได้ อย่างไรก็ดียังต้องระวังไม่ให้เกิดกรณีการระบาดซ้ำ อันจะนำไปสู่ความเสี่ยงของการควบคุมที่เข้มขึ้นอีกครั้ง
ทั้งนี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับเข้าสู่ปกติ แต่ประชาชนยังคงต้องใช้ชีวิตอย่างมีระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing ในอีกระยะหนึ่งหลังจากนี้ จะทำให้ธุรกิจบางประเภทยังไม่สามารถดำเนินได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะเห็นผลกระทบต่อผลประกอบการในไตรมาส 2 ลากไปถึงไตรมาส 3 ได้ แต่เนื่องจากการปรับตัวขึ้นของตลาดโดยรวมในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งทำให้หุ้นขึ้นในแทบทุกอุตสาหกรรม อาจจะทำให้นักลงทุนผิดหวังกับความคาดหวังการฟื้นตัวของบางบริษัทที่ยังได้รับผลกระทบต่อเนื่องได้ จึงคาดว่า ตลาดหุ้นในช่วงหลังจากนี้ ผลตอบแทนของหุ้นรายตัวจะมีความ Selective มากขึ้น เราจึงเน้นเลือกลงทุนหุ้นที่มีความแข็งแกร่งทางการเงินและมีความสามารถในการแข่งขัน ที่จะสามารถผ่านความผันผวนทางเศรษฐกิจนี้ไปได้ รวมทั้งให้น้ำหนักมากขึ้นกับกลุ่มธุรกิจที่สามารถกลับมาดำเนินการได้ใกล้เคียงภาวะปกติในเวลาไม่นาน
Fund Comment
Fund Comment เมษายน 2563 : ภาพรวมตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความผันผวนสูงในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยหลังจากการปรับตัวลงแรงในเดือนมีนาคม ตลาดก็สามารถปรับตัวฟื้นขึ้นมาได้จากจากระดับต่ำสุดมากกว่า 20% ในเดือน เม.ย. จากการที่เหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น ได้รับการรับมือที่เข้มข้นมากขึ้นจากประเทศต่างๆ ผ่านมาตรการของภาครัฐในภาคสาธารณสุขและการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการช่วยเหลือภาคธุรกิจ และการสร้างความเชื่อมั่นในตลาดการเงิน เพื่อรักษาสภาพคล่องและกลไกตลาดให้ยังทำงานเป็นปกติได้ บรรยากาศการลงทุนในเดือนเมษายนนี้จึงเป็นไปในทิศทางเชิงบวก โดยถึงแม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจที่มีประกาศออกมาจะเป็นไปในเชิงลบ แต่ก็เป็นสิ่งที่ตลาดคาดการณ์ไว้อยู่แล้ว นักลงทุนจึงหันมาให้น้ำหนักกับพัฒนาการที่ดีขึ้นเป็นลำดับของการแพร่ระบาดในประเทศต่างๆ ความหวังของการพัฒนายาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการกลับมาคลายล็อกดาวน์หลังจากที่สถานการณ์นั้นดีขึ้น ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็วมากขึ้น
ด้านตลาดน้ำมันนั้น นอกจากจะถูกกดดันจากความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานอันทำให้ราคาน้ำมันตกต่ำแล้ว ยังลามไปจนเกิดภาวะติดลบครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยเป็นสาเหตุเพิ่มเติมจากภาวะขาดแคลนพื้นที่จัดเก็บ และสภาพคล่องที่น้อยในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ในช่วงที่สัญญาใกล้หมดอายุ อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันก็ค่อยๆกลับมาสู่ภาวะปกติมากขึ้น
สำหรับ ตลาดหุ้นไทยในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้น 175.8 จุด สู่ระดับ 1,301.66 จุด เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นทั่วโลก โดยผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีติดลบลดลงเหลือ 17.6% นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิราว 4.7 หมี่นล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 7.8 หมื่นล้านบาท
แนวโน้มเศรษฐกิจและการลงทุนในช่วงต่อจากนี้ยังคงมีความไม่แน่นอน โดยเศรษฐกิจที่ถูกล็อคดาวน์มาในเดือน เม.ย. นั้น กำลังทยอยกลับมาดำเนินการ ตามมาตรการที่รัฐบาลวางเอาไว้ หลังตัวเลขผู้ติดเชื้อของไทยนั้นปรับตัวดีขึ้นมาก หากสถานการณ์การแพร่ระบาดยังถูกควบคุมได้ดี ก็จะนำไปสู่การทยอยเปิดธุรกิจในวงกว้างมากขึ้นตามมา ซึ่งถือเป็นกรณีฐาน (Base Case) ที่การแพร่ระบาดอยู่ในวงจำกัดและสามารถตามควบคุมได้ อย่างไรก็ดียังต้องระวังไม่ให้เกิดกรณีการระบาดซ้ำ อันจะนำไปสู่ความเสี่ยงของการควบคุมที่เข้มขึ้นอีกครั้ง
ทั้งนี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับเข้าสู่ปกติ แต่ประชาชนยังคงต้องใช้ชีวิตอย่างมีระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing ในอีกระยะหนึ่งหลังจากนี้ จะทำให้ธุรกิจบางประเภทยังไม่สามารถดำเนินได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะเห็นผลกระทบต่อผลประกอบการในไตรมาส 2 ลากไปถึงไตรมาส 3 ได้ แต่เนื่องจากการปรับตัวขึ้นของตลาดโดยรวมในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งทำให้หุ้นขึ้นในแทบทุกอุตสาหกรรม อาจจะทำให้นักลงทุนผิดหวังกับความคาดหวังการฟื้นตัวของบางบริษัทที่ยังได้รับผลกระทบต่อเนื่องได้ จึงคาดว่า ตลาดหุ้นในช่วงหลังจากนี้ ผลตอบแทนของหุ้นรายตัวจะมีความ Selective มากขึ้น เราจึงเน้นเลือกลงทุนหุ้นที่มีความแข็งแกร่งทางการเงินและมีความสามารถในการแข่งขัน ที่จะสามารถผ่านความผันผวนทางเศรษฐกิจนี้ไปได้ รวมทั้งให้น้ำหนักมากขึ้นกับกลุ่มธุรกิจที่สามารถกลับมาดำเนินการได้ใกล้เคียงภาวะปกติในเวลาไม่นาน