อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน เม.ย. ปรับตัวลดลงตลอดช่วงอายุ จากภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ อันเป็นผลต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ซึ่งภาครัฐยังคงประกาศใช้ พรก. ฉุกเฉินต่อถึงสิ้นเดือน พ.ค. ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า กนง. จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอีก 0.25% มาอยู่ที่ 0.50% ในการประชุมเดือน พ.ค. นี้
ทั้งนี้ หลังจากเกิดเหตุการณ์เงินทุนไหลออกจากสินทรัพย์ทุกประเภทเพื่อถือเงินสดในเดือน มี.ค. ทางภาครัฐได้มีการประกาศมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจเป็นจำนวนรวมกว่า 2 ล้านล้านบาท รวมถึงมาตรการรักษาเสถียรภาพทางการเงินจากธปท. ตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย. และแนวโน้มตลาดเงินโลกที่ได้รับแรงสนับสนุนจาก Fed ที่มีมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงินถึง 2.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้นักลงทุนกลับเข้าซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยอีกครั้ง ส่งผลให้ Yield curve โดยรวมในเดือน เม.ย. ปรับลดลงในทิศทางขนานตัวจากเดือน มี.ค. โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในระยะ 10 ปี ณ สิ้นเดือน เม.ย. ปรับตัวตามการคาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ยดังกล่าวมาอยู่ที่ระดับ 1.21% (-26bps MTD) ขณะที่อัตราผลตอบแทน US Treasury 10Y อยู่ที่ระดับ 0.63% (-7bps MTD)
สำหรับ มาตรการรักษาเสถียรภาพตลาดการเงินที่มอบอำนาจให้ ธปท. ทำหน้าที่ มีส่วนช่วยคลายความกังวลในตลาดตราสารหนี้ โดยมาตรการมีดังนี้
- การเพิ่มสภาพคล่องให้กองทุนตราสารหนี้ โดยให้ธนาคารพาณิชย์ที่เข้าซื้อหน่วยลงทุนจากกองทุนรวมตลาดเงิน (Money market fund) และกองทุนรวมตราสารหนี้ที่เป็นกองทุนเปิด (Daily fixed income fund) ที่ถือสินทรัพย์คุณภาพดี สามารถนำหน่วยลงทุนดังกล่าวมาวางเป็นหลักประกันเพื่อขอสภาพคล่องจาก ธปท. ได้ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการทำธุรกรรมดังกล่าวระหว่างธนาคารกับบริษัทจัดการกองทุนในกลุ่ม ส่งผลให้เดือน เม.ย. ไม่มีกองทุนตราสารหนี้ถูกเทขายดังเช่น 4 กองทุนที่ถูกเทขายในเดือน มี.ค.
- จัดตั้งกองทุนเสริมสภาพคล่องตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน (Corporate Bond Stability Fund, BSF) วงเงินไม่เกิน 400,000 ล้านบาท เพื่อลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนออกใหม่ของบริษัทที่มีคุณภาพดี แต่ประสบปัญหาตลาดขาดสภาพคล่องจนส่งผลให้ไม่สามารถต่ออายุ (Rollover) ตราสารหนี้ที่ครบกำหนดได้ครบทั้งจำนวน โดยกองทุนดังกล่าวเริ่มจัดตั้งในวันที่ 29 เม.ย. และคาดว่าจะช่วยคลายความกังวลในตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนที่จะมีกำหนดชำระคืนภายในปี 2563 กว่า 6 แสนล้านบาท
- การเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอย่างต่อเนื่องของ ธปท. ช่วยเพิ่มสภาพคล่อง และลดความกังวลจากราคาที่ลดลงต่อเนื่องในตลาดตราสารหนี้ โดย ธปท. ได้เข้าซื้อตราสารหนี้เป็นจำนวนกว่า 1.5 แสนล้านบาทในเดือน มี.ค. ขณะที่ปริมาณการซื้อพันธบัตรในเดือน เม.ย. ลดลงเหลือเพียง 6 พันล้านบาท
ตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนมีความต้องการซื้อน้อยลงตั้งแต่เดือน มี.ค. สะท้อนถึงความกังวลในภาคธุรกิจที่อาจได้รับผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ จากการระบาดของ COVID-19 โดยในเดือน เม.ย. มีผู้ออกหุ้นกู้บางรายที่ไม่สามารถขายหุ้นกู้ตามเป้าที่กำหนดไว้ได้
ทั้งนี้ นับตั้งแต่เดือน มี.ค. เป็นต้นมา ส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนระหว่างหุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาล (Credit spread) สำหรับหุ้นกู้ในกลุ่ม AAA และ BBB อายุ 5 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 59 และ 58 bps ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าถึงแม้ กนง. จะมีการประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว 0.5% ในปีนี้ แต่นักลงทุนยังมีความต้องการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนเงินกู้ของบริษัทเอกชนมีแนวโน้มปรับขึ้น เพื่อสะท้อนความเสี่ยงของธุรกิจที่เพิ่มขึ้น
สำหรับปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ในปี 2563 นี้ มีปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่
- ความกังวลต่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 และผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะเป็นปัจจัยให้เงินลงทุนไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดอย่างพันธบัตร อย่างไรก็ตาม การควบคุมโรคหากไม่มีประสิทธิภาพพอ อาจกลับเป็นปัจจัยลบต่อตลาดตราสารหนี้อีกรอบได้เช่นกัน จากความตื่นตระหนกของนักลงทุนและขายสินทรัพย์ทุกประเภทเพื่อถือเงินสดเหมือนที่เกิดขึ้นในช่วงเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา
- การเติบโตของเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มหดตัวแรง และอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มอ่อนตัว ซึ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก รวมถึงมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (Quantitative easing) มาตรการ Yield Curve Control รวมทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ส่งผลให้ให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงจากระดับปัจจุบันได้
- แผนการกู้เงินของภาครัฐจำนวนสูงถึง 1 ล้านล้านบาท ส่งผลให้มีปริมาณพันธบัตร รวมถึงเครื่องมือการระดมทุนอื่นๆ ที่จะดูดซับสภาพคล่องจากปริมาณเงินในระบบอย่างมีนัยสำคัญ และมีผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเพิ่มขึ้น
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวง คาดว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 25 bps ภายในไตรมาส 2 นี้ เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มหดตัวแรง อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลได้มีการปรับตัวสะท้อนการคาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ยดังกล่าวไปค่อนข้างมากแล้ว จึงคาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะมีความผันผวนตามปัจจัยอื่นทั้งภายในและต่างประเทศมากขึ้น จึงต้องติดตามมาตรการทางการเงินและการคลังของทางภาครัฐอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะแผนการกู้เงินจำนวนถึง 1 ล้านล้านบาทของภาครัฐที่อาจมีการเพิ่มปริมาณการออกพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นปัจจัยแต่อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ได้
สำหรับตราสารหนี้ภาคเอกชน ซึ่งจะมีความเสี่ยงด้านสภาพคล่องเพิ่มขึ้น กองทุนจะมีการลงทุนในหุ้นกู้โดยคัดเลือกผู้ออกหุ้นกู้ที่ได้รับผลกระทบด้านกระแสเงินสดในระดับต่ำ และมีสภาพคล่องเพียงพอสำหรับภาระหนี้ที่จะครบกำหนดในระยะสั้น เพื่อลดความเสี่ยงด้านการระดมทุนเพื่อต่ออายุหุ้นกู้
Fund Comment
Fund Comment เมษายน 2563 : มุมมองตลาดตราสารหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน เม.ย. ปรับตัวลดลงตลอดช่วงอายุ จากภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ อันเป็นผลต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ซึ่งภาครัฐยังคงประกาศใช้ พรก. ฉุกเฉินต่อถึงสิ้นเดือน พ.ค. ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า กนง. จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอีก 0.25% มาอยู่ที่ 0.50% ในการประชุมเดือน พ.ค. นี้
ทั้งนี้ หลังจากเกิดเหตุการณ์เงินทุนไหลออกจากสินทรัพย์ทุกประเภทเพื่อถือเงินสดในเดือน มี.ค. ทางภาครัฐได้มีการประกาศมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจเป็นจำนวนรวมกว่า 2 ล้านล้านบาท รวมถึงมาตรการรักษาเสถียรภาพทางการเงินจากธปท. ตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย. และแนวโน้มตลาดเงินโลกที่ได้รับแรงสนับสนุนจาก Fed ที่มีมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงินถึง 2.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้นักลงทุนกลับเข้าซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยอีกครั้ง ส่งผลให้ Yield curve โดยรวมในเดือน เม.ย. ปรับลดลงในทิศทางขนานตัวจากเดือน มี.ค. โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในระยะ 10 ปี ณ สิ้นเดือน เม.ย. ปรับตัวตามการคาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ยดังกล่าวมาอยู่ที่ระดับ 1.21% (-26bps MTD) ขณะที่อัตราผลตอบแทน US Treasury 10Y อยู่ที่ระดับ 0.63% (-7bps MTD)
สำหรับ มาตรการรักษาเสถียรภาพตลาดการเงินที่มอบอำนาจให้ ธปท. ทำหน้าที่ มีส่วนช่วยคลายความกังวลในตลาดตราสารหนี้ โดยมาตรการมีดังนี้
ตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนมีความต้องการซื้อน้อยลงตั้งแต่เดือน มี.ค. สะท้อนถึงความกังวลในภาคธุรกิจที่อาจได้รับผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ จากการระบาดของ COVID-19 โดยในเดือน เม.ย. มีผู้ออกหุ้นกู้บางรายที่ไม่สามารถขายหุ้นกู้ตามเป้าที่กำหนดไว้ได้
ทั้งนี้ นับตั้งแต่เดือน มี.ค. เป็นต้นมา ส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนระหว่างหุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาล (Credit spread) สำหรับหุ้นกู้ในกลุ่ม AAA และ BBB อายุ 5 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 59 และ 58 bps ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าถึงแม้ กนง. จะมีการประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว 0.5% ในปีนี้ แต่นักลงทุนยังมีความต้องการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนเงินกู้ของบริษัทเอกชนมีแนวโน้มปรับขึ้น เพื่อสะท้อนความเสี่ยงของธุรกิจที่เพิ่มขึ้น
สำหรับปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดตราสารหนี้ในปี 2563 นี้ มีปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวง คาดว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 25 bps ภายในไตรมาส 2 นี้ เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มหดตัวแรง อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลได้มีการปรับตัวสะท้อนการคาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ยดังกล่าวไปค่อนข้างมากแล้ว จึงคาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะมีความผันผวนตามปัจจัยอื่นทั้งภายในและต่างประเทศมากขึ้น จึงต้องติดตามมาตรการทางการเงินและการคลังของทางภาครัฐอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะแผนการกู้เงินจำนวนถึง 1 ล้านล้านบาทของภาครัฐที่อาจมีการเพิ่มปริมาณการออกพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นปัจจัยแต่อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ได้
สำหรับตราสารหนี้ภาคเอกชน ซึ่งจะมีความเสี่ยงด้านสภาพคล่องเพิ่มขึ้น กองทุนจะมีการลงทุนในหุ้นกู้โดยคัดเลือกผู้ออกหุ้นกู้ที่ได้รับผลกระทบด้านกระแสเงินสดในระดับต่ำ และมีสภาพคล่องเพียงพอสำหรับภาระหนี้ที่จะครบกำหนดในระยะสั้น เพื่อลดความเสี่ยงด้านการระดมทุนเพื่อต่ออายุหุ้นกู้