BF Economic Research
ส่งออกไทย ในเดือน เม.ย.-20 อยู่ที่ 18,948.0 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 22,404.6 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ 2.12%YoY (vs. prev.4.17%YoY)
ถ้าไม่รวมทองจะอยู่ที่ -10.31%YoY (vs. prev.0.17%YoY) หากไม่รวมทองคำ น้ำมันและอาวุธ จะหดตัวที่ -7.53% YoY
มูลค่านำเข้าไทย ในเดือน เม.ย.-20 อยู่ที่ 16,486.0 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 20,812.5 ล้านดอลลาร์ฯ or -17.10%YoY (vs. prev.7.30%YoY)
ดุลการค้า ในเดือน เม.ย.-20 อยู่ที่ 2,462.3 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 1,592.1 ล้านดอลลาร์ฯ
ดุลการค้า YTD ในเดือน เม.ย.-20 อยู่ที่ 6,396.0 ล้านดอลลาร์ฯ vs. prev 3,933.7 ล้านดอลลาร์ฯ
ทุนสำรองระหว่างประเทศ ในเดือน เม.ย.-20 อยู่ที่ 225,075.0 ล้านดอลลาร์ฯ vs prev 216,474.5ล้านดอลลาร์ฯ
ดุลบัญชีเดินสะพัด เดือน มี.ค.-20 อยู่ที่ 697.0 ล้านดอลลาร์ฯ vs prev 5,382.0ล้านดอลลาร์ฯ
ในรายสินค้า
การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวที่ 4.0% (YoY)
สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่
- ข้าว ขยายตัวที่ 23.1% (ขยายตัวเกือบทุกตลาด อาทิ สหรัฐฯ สิงคโปร์ ฮ่องกง แอฟริกาใต้ และจีน)
- ผัก ผลไม้สด แช่ เย็น แช่แข็งและแปรรูป ขยายตัวที่ 5.7% (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และออสเตรเลีย)
- ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ขยายตัว 9.6% (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ และฮ่องกง)
- อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัว 34.3% (ขยายตัวเกือบทุกตลาด อาทิ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อิตาลี และออสเตรเลีย)
- สิ่งปรุงรสอาหาร ขยายตัวที่ 18.9% (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์)
สินค้าที่หดตัว ได้แก่ ยางพารา หดตัวที่ -20.7% น้ำตาลทราย หดตัว -8.3% ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัว -6.7% เครื่องดื่ม หด ตัว -14.4% รวม 4 เดือนแรกของปี
มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและ อุตสาหกรรมเกษตรหดตัว -1.4% (YoY)
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวที่ 4.0% (YoY)
สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่
- ทองคำ ขยายตัวเกือบ ทุกตลาดที่ 1,102.8% (ขยายตัวในตลาดสวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ ฮ่องกง ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น)
- ยานพาหนะอื่นๆ และ ส่วนประกอบ ขยายตัว 1,423.1 %(ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม เมียนมา ญี่ปุ่น และเนปาล)
- อากาศยาน ยาน อวกาศ และส่วนประกอบ ขยายตัวที่ 584.7% (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ไต้หวัน และญี่ปุ่น)
- อุปกรณ์ กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัวที่ 56.1 %(ขยายตัวในตลาดสหรัฐ ฮ่องกง เวียดนาม ญี่ปุ่น และสิงคโปร์)
- แผงวงจรไฟฟ้า ขยายตัว 1.8% (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน และไต้หวัน)
สินค้าที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัว -53.8% สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน หดตัว -31.3% อัญมณีและเครื่องประดับไม่รวมทองคำหดตัว -49.3% เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัว -2.1% เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ -30.2%
รวม 4 เดือนแรกของปีมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวที่ 2.4% (YoY)
ในรายประเทศ
การส่งออกรายประเทศขยายตัวได้ดีในประเทศสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อาเซียน และจีน สี่ประเทศรวมกันเกิน 60% ของการส่งออกทั้งหมด
การส่งออกไปสหรัฐฯ ขยายตัวดีส่วนหนึ่งคาดว่าเป็นเพราะการเร่งส่งออก ก่อนที่ GSP จะมีผลบังคับใช้วันที่ 25 เม.ย.
(หมายเหตุ รายการสินค้าไทยที่ถูกระงับสิทธิทางภาษี ได้แก่ อาหารทะเล, ผักผลไม้, เมล็ดพันธุ์, น้ำเชื่อมและน้ำตาล, ซอสถั่วเหลือง, น้ำผักและน้ำผลไม้, รวมถึงอุปกรณ์เครื่องครัว, ประตูหน้าต่าง, ไม้อัด ไม้แปรรูป, ตะกร้าดอกไม้ประดิษฐ์, จานชาม, เครื่องประดับ, เหล็กแผ่น และ สเตนเลส คิดเป็นมูลค่า 1.3 พันล้านดอลลาร์ฯ หรือประมาณ 4 หมื่นล้านบาท และจะเป็นผลให้ไทย ทำให้ไทยได้รับผลกระทบจริงประมาณ 1.5 พันล้านบาท ถึง 1.8 พันล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ต้องชำระภาษีเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราว 4.5% โดยสินค้าที่เสียภาษีมากที่สุดคือ กลุ่มภาชนะเซรามิก ที่อัตรา 26% ขณะที่สินค้าที่เสียภาษีน้อยที่สุดคือ เคมีภัณฑ์ ที่อัตรา 0.1%)
Note: ตัวเลขส่งออกดูดี จากทองและการส่งออกยานพาหนะกลับสหรัฐฯ ถ้าไม่รวมสินค้ากลุ่มเหล่านี้ ส่งออกไทยหดตัวแรงในกรอบ -8 ถึง -10% และ การส่งออกสหรัฐฯก็เร่งตัวก่อนที่การตัดสิทธิ GSP จะเริ่มใน วันที่ 25 เม.ย. หลังจากนี้ตัวเลขส่งออกไปสหรัฐฯอาจจะแย่ลง
แนวโน้มการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังเผชิญอุปสรรคด้านการขนส่งบริเวณท่าเรือที่ยังแออัด และการขนส่งทางอากาศที่หยุดชะงัก ส่งผลให้สินค้ามูลค่าสูงที่ขนส่งทางอากาศ โดยเฉพาะอัญมณีและเครื่องประดับได้รับผลกระทบด้วย
ส่วนสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น รถยนต์และส่วนประกอบที่หดตัวอย่างต่อเนื่องน่าจะยังมี downside ต่อตราบใดที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้น